CMU-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 10 ของ 10
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ “ความรู้เท่าทันสื่อ” ทักษะสำคัญสำหรับสังคมประชาธิปไตย(2555-03-19T07:50:34Z) วรัชญ์ ครุจิตความรู้เท่าทันสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเยาวชนหรือประชาชนผู้รับสารทุกเพศทุกวัยในโลกยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคที่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดและทัศนคติอย่างสูง แต่ละคนใช้เวลาอยู่กับสื่อเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ทั้งการเปิดรับและการผลิต ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนั้น มีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ แต่ยังมีประชากรจำนวนมาก โดยเฉพาะเยาวชน ที่ยังขาดทักษะในการ “อ่านและเขียนสื่อ” นั่นคือการวิเคราะห์และผลิตสื่อด้วยวิจารณญาณของตนเอง หากไม่สามารถ “อ่าน” และ “เขียน” สื่อได้อย่างเหมาะสมแล้ว ผู้นั้นก็มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของการปลูกฝังความคิดความเชื่อตามที่สื่อนำเสนอ แม้ว่าจะมีความสามารถทางวิชาการในระดับดีก็ตาม โดยในการสร้างเสริมทักษะความรู้เท่าทันสื่อนั้น จำเป็นต้องสร้างให้เกิดทักษะ 4 ด้านสำคัญ ก็คือ การเข้าถึง การวิเคราะห์ การประเมิน และการผลิตรายการ สื่อที่ดีต้องไม่ซ้ำเติมปัญหาสังคม(2555-03-19T08:06:01Z) วรัชญ์ ครุจิตสื่อมวลชนเป็นภาคส่วนหนึ่งของสังคม ที่เป็นที่ยอมรับกันว่า มีอิทธิพลและบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ เนื่องจากความแพร่หลายของสื่อมวลชนที่เข้าแทรกซึมในการใช้ชีวิตตลอดทั้งวัน จนกลายเป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลให้เวลาในการใช้มากที่สุดในแต่ละวัน จนอาจกล่าวได้ว่า สื่อมวลชนกลายเป็น “วัฒนธรรม” ของสังคม และยิ่งจะมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลสูงยิ่งขึ้น เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและแพร่หลายในระดับที่มีความรุนแรงและรวดเร็วขึ้นอย่างมากอย่างไม่สามารถที่จะปิดกั้นและหยุดยั้งได้ สร้างผลกระทบต่อสังคมในหลากหลายมิติรายการ ถึงเวลาสร้าง DNA คอนเทนต์ทีวีไทยตีตลาดสากล(บางกอกทูเดย์, 2562-05-03) นับทอง ทองถึงเวลาสร้าง DNA คอนเทนต์ทีวีไทยตีตลาดสากล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นับทอง ทองใบ ในยุคที่เราสามารถเสพสื่ออย่างไร้พรมแดนแบบทุกที่ทุกเวลา นักสร้างสรรค์ “คอนเทนต์” (Content) จึงกลายเป็นยิ่งกว่า King ของธุรกิจข่าวสารและความบันเทิง โดยเฉพาะในแวดวงคนทำทีวีดิจิทัลที่หากต้องการอยู่รอดย่อมต้องหันมาสร้างคอนเทนต์ของตัวเองให้มี DNA ที่แตกต่าง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสากลเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์สู่ตลาดโลก เหมือนเช่นเวิร์คพอยท์ ผู้สร้างคอนเทนต์คุณภาพ ทั้งในรูปแบบรายการ (Format Program) ที่ผู้ได้สิทธิ์สามารถนำไปปรุงใหม่ให้เข้ากับพฤติกรรมและรสนิยมคนดูในประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์เดิม และแบบสำเร็จรูป (Finished Program) ที่พร้อมใส่คำบรรยายหรือพากย์เสียงทับเพื่อออกอากาศได้ทันที จนสามารถเข้าชิงรอบสุดท้ายในเวที Emmy Awards ของสหรัฐอเมริกาได้ถึง 5 ครั้ง และขายลิขสิทธิ์รายการสู่ตลาดอเมริกา และยุโรป ที่ถือว่าสุดหินได้สำเร็จ ลักษณะคอนเทนต์ในแบบเวิร์คพอยท์ที่ส่งออกได้เกือบ 30 รายการ ในกว่า 10 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรปนับเป็นกรณีศึกษาที่ผู้ผลิตรูปแบบรายการโทรทัศน์ที่เป็นสากล (The Global Television Format) ไม่อาจมองข้าม ซึ่งพบว่าหลายๆ รายการของเวิร์คพอยท์ที่สามารถขายลิขสิทธิ์ในตลาดคอนเทนต์โลกนั้นมีจุดร่วมที่น่าสนใจคือ การรู้ทางถนัดของตัวเองแต่ไม่เสี่ยงฉีกกรอบกระแสหลัก (Mass) แค่บิด-แต่ง- กรอบเก่าให้มีแพคเกจจิ้งสวยงาม!! อาจเรียกว่าเป็น “ความสร้างสรรค์ที่ไม่สุ่มเสี่ยง” เหมือนเช่นรายการไมค์หมดหนี้ ซึ่งยังคงกระแสรูปแบบรายการ “แข่งร้องเพลง” ที่แรงไม่ตกตลอดสิบปีในแวดวงทีวี แต่เลือกหยิบปัญหา “เป็นหนี้” ซึ่งเป็นเรื่อง “สากล” ของคนทั้งโลก มาผูกเข้าด้วยกันจนกลายเป็นรายการใหม่ที่ยังคงรูปแบบรายการสุดคลาสสิกอย่างการร้องเพลงผูกเข้ากับความดราม่าจากปมปัญหาหนี้สินที่แก้ไม่ตกจนกลายเป็นรายการที่เข้าไปนั่งในใจผู้ชมได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียที่มีพื้นฐานการเสพเรื่องที่เน้นอารมณ์ (Emotional) เป็นหลัก ขณะเดียวกันแม้จะสุ่มเสี่ยงกับคอนเทนต์ที่อาจไม่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายกระแสหลัก (แต่ก็เป็นวัฒนธรรมย่อยที่เริ่มเปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมกลุ่มใหญ่) อย่างรายการประชันเพลงแร็พ ใน The Rapper เวิร์คพอยท์ก็ยังคงเลือกที่จะคงความถนัดของการทำโชว์แบบแข่งขัน ที่ไม่ได้มุ่งไปที่ความเข้มข้นของ “การแข่งขัน” ชิงรางวัลเป็นหลัก แต่กลับปรุงรสให้ความดิบโหดแบบแร็พใต้ดินเข้าถึงคนวงกว้างมากขึ้นโดยเติมอารมณ์ ความสนุก และเสียงหัวเราะจากกรรมการ เหมือนเช่น The Mask Singer (ที่แม้จะซื้อลิขสิทธิ์จากเกาหลีแต่ก็ปรุงรสให้เข้ากับการชื่นชอบเรื่องตลกแบบไทยๆ ) การสร้าง DNA แบบเวิร์คพอยท์ จึงเป็นตัวอย่างของนักสร้างสรรค์ทีวีคอนเทนต์ที่ รู้จักตัวเองดี (รู้ว่าถนัดทำรายการแข่งขัน วาไรตี้) รู้กระแสและปมปัญหาลึกๆ ของโลก (เช่น Insight เรื่องหนี้) ที่สำคัญคือ รู้จักบริบท วัฒนธรรม และรสนิยมของผู้ชม (เสพสื่อแบบไทยๆ ต้องปรุงรสให้แนว Emotional โดย เฉพาะดราม่า กับ ตลก) เมื่อคลุกเคล้าความ “รู้” ทั้ง 3 สิ่งนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำให้ DNA แบบ “เวิร์คพอยท์” โดดเด่นจนนั่งแท่นเบอร์ 1 ทีวีคอนเทนต์ครีเอเตอร์ของไทย และสามารถยืดอกในตลาดทีวีคอนเทนต์สากลได้อย่างภาคภูมิ!รายการ ภาพทีเผลอ สะท้อนวัฒนธรรมไทย (CANDID : THE REFLECTION OF THAI CULTURE)(2562-05-17) บุณยนุช สุขทาพจน์การถ่ายภาพเปรียบได้ดังว่า ภาพหนึ่งภาพสามารถแทนคำพูดได้หลายร้อยคำ ซึ่งการถ่ายภาพนับเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยภาพถ่ายถือเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ง่ายต่อการรับรู้ เข้าใจ และสามารถบอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพถ่ายได้ โดยมีอาศัยเทคนิคมากมายในการถ่ายภาพ แต่การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid) ถือได้ว่าเป็นการถ่ายทอดความหมายของภาพตามความจริงอย่างตรงไปตรงมา ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายภาพของช่างภาพจะต้องใช้องค์ประกอบต่างๆ ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ นำมาประกอบกันภายในช่วงเวลาอันสั้นภายใต้สถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้า เพื่อจะสามารถบันทึกภาพนั้นได้อย่างน่าสนใจ และใช้ความรวดเร็วที่บันทึกภาพไว้ได้ จึงเป็นที่มาของภาพสะท้อนสังคม การถ่ายภาพทีเผลอ (Candid) เป็นการถ่ายภาพที่สะท้อนความจริงของสภาพสังคม วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนยุคปัจจุบันอย่างตรงไปตรงมาในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายภาพทีเผลอในบริบทของสังคมไทยที่ต้องการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของช่างภาพไปสู่ผู้ชมภาพถ่ายทำให้เกิดอารมณ์ร่วมและคล้อยตาม โดยภาพจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นคนชาติใด หรือนับถือศาสนาใดก็ได้ มีความรักสงบ จิตใจให้เบิกบาน มีความอ่อนน้อมถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน และไม่มีการแบ่งฐานะคนรวยคนจน ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนาธรรมของไทย จึงนำเสนอออกมาผ่านภาพถ่ายโดยนำหลักการวิเคราะห์ภาษาภาพ (Image Analysis) โดยมีแนวคิดสะท้อนวัฒนธรรมไทยรายการ การตลาดแบบ “จับอารมณ์” คนฟัง : สูตรความสำเร็จของแอปพลิเคชันเพลง Spotify(บางกอกทูเดย์, 2563-05-01) นับทอง ทองใบการตลาดแบบ “จับอารมณ์” คนฟัง : สูตรความสำเร็จของแอปพลิเคชันเพลง Spotify โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นับทอง ทองใบ ในขณะที่การฟังเพลงผ่านคลื่นวิทยุเป็นเรื่องตกเทรนด์ของคนสมัยนี้ แต่ใช่ว่า “สื่อเสียง” จะตกตายตามกันไปด้วย เพราะจากรายงาน Digital Thailand ประจำปี 2020 ของ We are Social หน่วยงานที่รวบรวมเทรนด์สื่อดิจิทัลระดับโลกพบว่าแพลตฟอร์ม “สื่อเสียง” กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการฟังเพลงแบบ Music Streaming หรือการเช่าฟังเพลงออนไลน์ที่มีให้เลือกฟังมหาศาลโดยไม่ต้องเปลืองพื้นที่คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเพื่อจัดเก็บเพลง โดยธุรกิจ Music Streaming ทั่วโลกในปี 2019 สร้างรายได้มากขึ้นถึง 34% เติบโตสูงกว่าธุรกิจ Video Streaming ถึง 5 เท่า วันนี้จึงขอยกกรณีศึกษาความสำเร็จของแอปพลิเคชัน Music Streaming ที่ครองใจผู้ฟังเป็นอันดับ 1 ของโลกอย่าง Spotify ที่เข้ามาเปิดตัวในไทยไปเมื่อสิงหาคม 2561 และมีตัวเลขผู้ใช้บริการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน (สิ้นปี 2562) มีสมาชิกทั่วโลกราว 271 ล้านคน จุดเด่นที่สุดของ Spotify คือการนำเอาเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ประวัติการฟังเพลงในอดีตเพื่อแนะนำเพลงใหม่ๆ ที่เข้ากับรสนิยมของผู้ฟังแต่ละคนเท่านั้น มีเพลย์ลิสต์ Daily Mix “เพลงรู้ใจเฉพาะคุณ “ที่คอยอัพเดทการผสมผสานถึง 6 แนวเพลงที่เราชอบให้อยู่เสมอ คนฟังจึงสนุกสนานอยู่ตลอดว่า “คราวนี้จะมิกซ์เพลย์ลิสต์แบบไหนให้กันนะ?” แถมทุกสิ้นปียังทำสรุปรายงานผลและจัดอันดับการฟังเพลงให้ด้วยว่าเราเลือกฟังศิลปินคนไหนมากที่สุด จากกี่ประเทศ และแนวเพลงแบบไหนคือ “ตัวตน” ของเราที่แท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ใช้บริการจะรู้สึกว่าทำไมแอปนี้ “ฉลาดจัง! มันรู้จักเรามากกว่าตัวเราเองเสียอีก?” สิ่งที่ Spotify โดดล้ำกว่าแอปฟังเพลงออนไลน์อื่นๆ จึงเป็นการ “จับอารมณ์” ทำตัวเป็น “ผู้รู้ใจ” ความรู้สึกของคนฟัง ซึ่งการทำหน้าที่ผู้รู้ใจแนะนำเพลงให้ถูกจริตของแต่ละคนอย่างแท้จริงย่อมตอบโจทย์คนใน พ.ศ.นี้ ที่อยู่กับตัวเอง ขลุกกับโลกโซเชียล ห่างไกลความสัมพันธ์แบบเห็นหน้าค่าตากันในสังคม เพราะในยุคที่เราขาดคนรู้ใจข้างกาย Spotify คือคนคนนั้น…AI ที่ช่วยทำหน้าที่แทนมนุษย์ เป็นการตอบโจทย์ผู้ใช้สื่อรุ่นใหม่โดยเฉพาะเจน Y และ Z ที่มีลักษณะต้อง “ตามใจฉัน” (Customization) วาง “อารมณ์” อยู่เหนือ “เหตุผล” แต่การตลาดโดย “จับอารมณ์” เพื่อตามใจผู้บริโภคอย่างเดียวก็อาจ “จับใจ” คนฟังไม่ได้ในระยะยาว เพราะความรู้สึกทางอารมณ์ของคนเรามักชั่วคราว ประเดี๋ยวประด๋าว การสร้างความผูกพันกับตัวมนุษย์จึงต้องควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น Spotify จึงได้เริ่มมุ่งที่การสร้าง original content ในการรุกธุรกิจ Podcast (สื่อเสียงที่มีผู้ดำเนินรายการในรูปแบบหลากหลาย) ว่าง่ายๆ Spotify พยายามทำตัวเป็น “Netflix of audio” นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการ “จับอารมณ์” ผู้ฟัง หรือความพยายามสร้างคอนเทนต์ของตัวเองเพื่อดึงดูดคนฟังด้วยตัวผู้จัดรายการและตัวเนื้อหาแบบ exclusive Spotify นับเป็นตัวอย่างของผู้ผลิตสื่อที่แสดงให้เห็นว่าการจะอยู่รอดได้บนโลกที่ผู้ใช้สื่อมีตัวเลือกคอนเทนต์ และช่องทางมากมายมหาศาลเช่นทุกวันนี้ ต้องรู้จักและใส่ใจการทำ Content Marketing ที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง (Customer-Oriented) เพื่อสร้างความผูกพันในการเป็น “ผู้รู้ใจ” รู้ลึก รู้จริง ที่เข้าถึง insight ของผู้บริโภคแต่ละคนอย่างแท้จริง ขอขอบคุณข้อมูลและภาพภาพประกอบจาก https://marketeeronline.co/archives/145403 https://restful.io/daily-mix-with-postman-monitors-and-spotify-3a020185ffec https://www.jaben.co.th/blog/news/spotify-wrapped-2019/ ผศ.นับทอง ทองใบ หัวหน้าสาขาดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ ถึงเวลาหรือยังกับการยกระดับมาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ……ผู้ประกาศไทย ???(หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์, 2564-01-15) วรรณี งามขจรกุลกิจ; Wannee Ngamcachonkulkidมาตรฐานความเป็นสื่อมืออาชีพมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะวิชาชีพที่ส่งผลต่อประเทศ สังคมส่วนรวม คือ อาชีพผู้ประกาศ จัดเป็นกลุ่มสาขาวิชาชีพที่ควรได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ นอกจากการได้รับบัตรผู้ประกาศ ซึ่งก็ยังเป็นคำถามในใจผู้ประกาศทั้งหลายว่า บัตรผู้ประกาศที่ได้รับมานั้นมีศักดิ์และสิทธิเหมือนอย่างวิชาชีพแพทย์ พยาบาล สถาปนิกวิศวกร ครู นักบัญชี ที่มีการรับรองโดยสภาวิชาชีพหรือไม่ อย่างไรบ้าง เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นความสำคัญของการสร้างกรอบมาตรฐานวิชาชีพให้ผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ให้เป็นอาชีพที่มีการรับรองตามคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นกรอบแนวปฏิบัติการเข้าสู่วิชาชีพการเป็นผู้ประกาศอย่างมีศักยภาพและคุณภาพตามมาตรฐานทางวิชาชีพ ซึ่งแสดงถึงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้มาตรฐานระดับชาติหรือนานาชาติ มีเกณฑ์การไต่ระดับตามมาตรฐานอาชีพเพื่อเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพรายการ จับตากลยุทธ์ 4E’s กับ We TV วิดีโอสตรีมมิงยักษ์ใหญ่จากจีน(น.ส.พ.บางกอกทูเดย์, 2564-04-30) นับทอง ทองใบไม่มีบทความย่อ เนื่องจากเป็นบทความวิชาการทางหนังสือพิมพ์รายการ Fake News กับ FOMO ในกลุ่มวัยรุ่น Gen Z ไทย(หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์, 2565-01-28) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจFOMO ในกลุ่มวัยรุ่น Gen Z ไทย เป็นตัวแปรหนึ่งในการแชร์ข่าว Fake news บนสื่อออนไลน์รายการ ปลุกพลังอำนาจละมุน (Soft Power)ของ“กระตั้วแทงเสือ” ย่านตลาดพลู(Bizmatchingnews, 2566-01-19) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจคุณประโยชน์ของ Soft Power มีส่วนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับความเป็นแบรนด์ของประเทศ พบว่าบรรดาผู้รู้ด้าน Soft Power ล้วนยืนยันว่ามีคุณประโยชน์ยิ่งต่อประเทศ ประชาชน ธุรกิจและองค์กร แบรนด์ของประเทศที่แข็งแกร่งและสร้างการรับรู้ถึงพลังอำนาจละมุนในเชิงบวก ช่วยส่งเสริมให้ประเทศเป็นสถานที่ที่ผู้คนมาเยี่ยมชม ลงทุน และสร้างชื่อเสียงในด้านคุณภาพสินค้าและบริการ อีกทั้งยังได้รับการยอมรับนับถือจากประเทศเพื่อนบ้านและในเวทีระหว่างประเทศ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง “กระตั้วแทงเสือ” ด้วยการอนุรักษ์ความเป็นต้นแบบทั้งการดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องต้นฉบับ และท่วงทำนองของเสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีหลักในการแสดงโดยไม่มีการดัดแปลงให้เพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งความตั้งใจของคณะกระตั้วแทงเสือศิษย์หลวงปู่ผาดมีความประสงค์ในการเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ให้เป็นที่รู้จัก ให้เห็นคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมการแสดงที่สืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา การขยายวงการรับรู้ออกไปไกลกว่าพื้นที่ในฝั่งธนบุรีอันเป็นการต่อยอดสู่ความยั่งยืนในระดับประเทศและระดับสากลรายการ รู้เท่าทันผลโพลสำคัญไฉน?(กรุงเทพธุรกิจ, 2566-05-14) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจโพล เป็นชุดคำถามที่ออกแบบสร้างขึ้นเพื่อสอบถามกลุ่มคนที่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติ หรือพฤติกรรม โดยการสำรวจความคิดเห็นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งแบบออนไลน์ ทางโทรศัพท์ หรือ ลงภาคสนามด้วยตนเอง และเป็นเครื่องมือสำคัญในการเลือกตั้ง ช่วยวัดความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ และผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยในการหาเสียงทางการเมืองมักใช้โพลสำรวจความคิดเห็นเพื่อช่วยระบุประเด็นสำคัญที่มีความสำคัญต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อวัดความนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเพื่อติดตามประสิทธิภาพของกลยุทธ์การหาเสียง การทำนายผลการเลือกตั้ง วิธีการหรือหลักที่ช่วยให้ประชาชนรู้เท่าทันว่าผลโพลที่รับรู้มานั้นเชื่อถือได้ เที่ยงตรง และเป็นกลาง ตามหลักของระเบียบวิธีวิจัยสามารถสังเกตได้ดังนี้ • มองหาคำถามนำ • ตรวจสอบแหล่งที่มาของโพล • ประเมินขนาดตัวอย่าง จำนวนผู้เข้าร่วมในการตอบโพล • มองหาความลำเอียงในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง • พิจารณาการตีความผลลัพธ์ การทำโพลนั้นไม่ได้แม่นยำเสมอไป และอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากเป็นเพียงภาพรวมของความคิดเห็นสาธารณะ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งคาดเดาได้ยาก อาจเปลี่ยนใจหรือได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก