CLS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก(2564-05-27) กวิน พินสำราญ; อุทุมพร อยู่สุข; วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์; คงฤทธิ์ จันทริก; วรางค์ศิริ เนียมตุ๊งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเวลาการท างานและจัดท าเป็นเวลามาตรฐาน (2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดสมดุลสายการผลิตด้วย หลักการ ECRS ในการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต ซี่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นความส าคัญด้าน เวลาในกระบวนการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการผลิตมีความสมดุลมากขึ้น รอบเวลา การผลิตต่ ากว่าความต้องการลูกค้าจาก 6.18 เหลือ 3.88 วินาที และสถานีงานลดลงจาก 7 เหลือ 6 สถานีงาน ส่งผลให้ความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตลดลงและประสิทธิภาพสายการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 46.32% เป็น 86.08%รายการ การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการขนส่งสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) ธรินี มณีศรี; วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์; วัชรพล สิงหะเนติงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการวางแผนการขนส่งสินค้า และพัฒนาระบบบริหารการจัดการขนส่ง (TMS) เพื่อลดระยะเวลาในการวางแผนการขนส่ง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และลดข้อผิดพลาดในการทำงานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น งานวิจัยได้ทำการศึกษาในภาพรวมของการบริหารจัดการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของบริษัทกรณีศึกษา นำไปทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ TMS จากนั้นจึงนำผลประสิทธิภาพโลจิสติกส์ที่ได้มาทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการนำระบบ TMS มาใช้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าจากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการนำระบบ TMS มาใช้สามารถลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกได้ และทำการเพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นเข้าไปแทน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งขั้นตอนในการทำงานแบบเดิมมีทั้งหมด 13 ขั้นตอน ส่วนขั้นตอนในการทำงานแบบปรับปรุงมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ลดลงมา 1 ขั้นตอน ในส่วนของระยะเวลาในการทำงาน การทำงานแบบเดิมใช้เวลาทั้งหมด 1,025 นาที และการทำงานแบบปรับปรุงใช้เวลาทั้งหมด 965 นาที ลดระยะเวลาลงมา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 5.85รายการ การเปรียบเทียบพลังงานทางเลือกเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา : บริษัท โปรทรานสปอร์ต จำกัด(2564-05-27) วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์; พิมพ์ชนก ทองสถิตย์บริษัท ไนซ์แอพพาเรล จำกัด เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า ชุดกีฬาสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ในส่วนงานขนส่ง (บริษัท โปรทรานสปอร์ต จำกัด) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความสำคัญกับ บริษัท ไนซ์แอพพาเรล จำกัด เป็นองค์กรที่ขนส่งสินค้าภายในประเทศ จะขนส่งผลิตภัณฑ์จากโรงงานไปให้ลูกค้าหรือไปรับผลิตภัณฑ์จากบริษัทอื่นหรือบริษัทในเครือ เช่น อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น จากการขนส่งดังกล่าว ทำให้พบว่ามีบิลน้ำมันจากรถบรรทุกภายในบริษัท โปรทรานสปอร์ต เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การเลือกเติมน้ำมันนั้นอยู่ที่ทางบริษัท ว่าจะเลือกเติมน้ำมันประเภทไหน แต่ให้ประสิทธิภาพเหมือนเดิม จึงทำการศึกษาการเปรียบเทียบพลังงานทางเลือก เพื่อลดต้นทุนให้ทางบริษัท จากการสัมภาษณ์พนักงานขับรถเชิงลึก และได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันดีเซล B7 และ น้ำมันดีเซล B10 หรือ น้ำมันดีเซล ทำให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนพลังงานทางเลือกเป็น น้ำมันดีเซล B10 หรือ น้ำมันดีเซล และจากข้อมูลการเปรียบเทียบการเปลี่ยนน้ำมันดีเซลจาก B7 เป็น B10 ในระยะเวลา 1 ปี ของรถบรรทุกขนส่งทั้งหมดในบริษัท ทั้ง 38 คัน ทั้งรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบรรทุกขนาดกลาง และรถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) รวมค่าบำรุงรักษา (ค่าเปลี่ยนกรองโซล่า) สามารถลดต้นทุนในการเติมน้ำมันให้บริษัทได้ถึง 1,115,571 บาท หรือ ร้อยละ 27