CLS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 13 ของ 13
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการขนส่งสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) ธรินี มณีศรี; วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์; วัชรพล สิงหะเนติงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการวางแผนการขนส่งสินค้า และพัฒนาระบบบริหารการจัดการขนส่ง (TMS) เพื่อลดระยะเวลาในการวางแผนการขนส่ง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และลดข้อผิดพลาดในการทำงานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น งานวิจัยได้ทำการศึกษาในภาพรวมของการบริหารจัดการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของบริษัทกรณีศึกษา นำไปทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ TMS จากนั้นจึงนำผลประสิทธิภาพโลจิสติกส์ที่ได้มาทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการนำระบบ TMS มาใช้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าจากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการนำระบบ TMS มาใช้สามารถลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกได้ และทำการเพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นเข้าไปแทน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งขั้นตอนในการทำงานแบบเดิมมีทั้งหมด 13 ขั้นตอน ส่วนขั้นตอนในการทำงานแบบปรับปรุงมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ลดลงมา 1 ขั้นตอน ในส่วนของระยะเวลาในการทำงาน การทำงานแบบเดิมใช้เวลาทั้งหมด 1,025 นาที และการทำงานแบบปรับปรุงใช้เวลาทั้งหมด 965 นาที ลดระยะเวลาลงมา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 5.85รายการ QMark new version(Logistic Max, 2562-04-01) อัศวิน วงศ์วิวัฒน์มาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกหรือ Qmark ได้เริ่มประกาศใช้ในปี พ.ศ.2552 โดยกรมการขนส่งทางบก เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจ สำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก (ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป) ถ้าเห็นตรา Qmark ติดตามรถกระบะ หรือ รถ 6 ล้อ เป็นการใช้ตราเครื่องหมาย Qmark ที่ผิดเงื่อนไขครับ ทางกรมฯ เขารับรองเฉพาะ รถตั้งแต่สิบล้อขึ้นไป ต่ำสิบใช้ติดตราไม่ได้ครับ โดยทั่วไปมาตรฐานต่างๆเมื่อเวลาผ่านไปก็จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานให้เข้ากับยุคสมัยมาตรฐาน Qmark ก็เช่นเดียวกันมีการปรับแบบที่เรียกว่า Big minor change โดยจะมีการเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2562 ทางกรมการขนส่งทางบกจะประกาศ ได้มีการตัดทอนในส่วนที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มเติมข้อกำหนดให้ทันสมัย มีหลายข้อกำหนดที่เพิ่มขึ้นรายการ Comparative study of participatory teaching using technology with traditional teaching(Sripatum university, 2562-07-31) Asawin WongwiwatParticipation in the classroom affects learner’s learning process since instructors can only evaluate students’ understanding by means of questions and answers. This helps fulfill the missing knowledge of students. However, students are not willing to ask questions and answer questions because of the social concept and culture rooted in their minds. The study uses various technological tools like Facebook Group, PollEV, Google Forms. Students enrolled in the same subjects are divided into 2 groups. Group 1 applies traditional teaching whereas Group 2 implements technology in teaching. Measurement results are from midterm exam results and final exam scores of both groups.รายการ แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ผ้าคราม: กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านสงเปลือย อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร(2563-03-25) ชฎาพร แนบชิด กาญจนาภรณ์ นิลจินดา วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์รายการ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยแนวคิดลีน กรณีศึกษา บริษัท โรงงานทออวนเดชาพานิช จำกัด(2563-05-22) นวรรณ สืบสายลา และ วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์รายการ การปรับปรุงพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสินค้าด้วยระบบระบุตำแหน่ง(2563-05-22) วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์ และ นวรรณ สืบสายลารายการ การประเมินคุณภาพการบริการที่มีต่อการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร: เปรียบเทียบระหว่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหญิงเดี่ยวและนักท่องเที่ยวชายเดี่ยว(2563-08-13) ทัศตะวัน ด่วนตระกูลศิลป์; วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์แม้ว่าความสนใจที่เพิ่มขึ้นของท่องเที่ยวคนเดียวจะได้รับความนิยมในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย หากแต่ยังเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับความสนใจเพียงพอจากนักวิจัยทั่วไป ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีผลต่อการศึกษาประสบการณ์โดยรวมของพิพิธภัณฑ์โดยการระบุลักษณะของการประเมินคุณภาพการบริการในเยี่ยมชม สำหรับการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบตามหลักทฤษฎีคุณภาพการบริการพิพิธภัณฑ์ด้วยการใช้ Factor Analysis แบบ Varimax ใช้สถิติ KMO (Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดความเหมาะสมของข้อมูลตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์โดยเทคนิค Factor Analysis และใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคในการประเมินความน่าเชื่อถือความสอดคล้องภายในแต่ละปัจจัย และใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารีของคุณภาพการบริการพิพิธภัณฑ์ระหว่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหญิงเดี่ยวและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชายเดี่ยว ทั้งนี้ได้ทำการประเมินความแตกต่างระหว่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหญิงเดี่ยวและนักท่องเที่ยวชายเดี่ยวที่มีต่อองค์ประกอบคุณภาพการให้บริการพิพิธภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหญิงเดี่ยวและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชายเดี่ยว มีความคำนึงถึงคุณภาพการบริการที่คล้ายคลึงกันในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ แต่หากพิจารณาด้านองค์ประกอบของคุณภาพการบริการพิพิธภัณฑ์ การให้บริการของพนักงานและประสบการณ์ต่อนิทรรศการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหญิงเดี่ยว ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติชายเดี่ยวรายการ การลดต้นทุนการขนส่งโดยการประยุกต์ใช้การขนส่งแบบมิลค์รัน(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา, 2564-05) ชวลิต มณีศรี; เนตรชนก มาประจวบ; วรพจน์ พันธุ์คง; ธรินี มณีศรีThis research aims to reduce raw materials transportation cost that effect to the materials purchasing raw price, and offers guidelines to manage freight that saving more than the existing method by the supplier (manufacturer). The transportation is changed to manage our own transportation by applying the milk-run transport. This research methodology starts with two pilot supplier companies from 66 companies, gathering purchasing data for the past 6 months. The pilot companies are considering by the frequency of shipments per week, transportation mode and packaging size that are similar. This research uses the ECRS principle, waste elimination, raw materials consolidation and the milk-run transport to reduce raw material transportation cost. The results show that the case study company is able to reduce the expense to 12,623.84 baht per week or 50,495.36 baht per month, a ratio of 1.04%รายการ การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก(2564-05-27) กวิน พินสำราญ; อุทุมพร อยู่สุข; วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์; คงฤทธิ์ จันทริก; วรางค์ศิริ เนียมตุ๊งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเวลาการท างานและจัดท าเป็นเวลามาตรฐาน (2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดสมดุลสายการผลิตด้วย หลักการ ECRS ในการปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต ซี่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นความส าคัญด้าน เวลาในกระบวนการผลิตแผ่นกระดาษลูกฟูก ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการผลิตมีความสมดุลมากขึ้น รอบเวลา การผลิตต่ ากว่าความต้องการลูกค้าจาก 6.18 เหลือ 3.88 วินาที และสถานีงานลดลงจาก 7 เหลือ 6 สถานีงาน ส่งผลให้ความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตลดลงและประสิทธิภาพสายการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 46.32% เป็น 86.08%รายการ การเปรียบเทียบพลังงานทางเลือกเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา : บริษัท โปรทรานสปอร์ต จำกัด(2564-05-27) วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์; พิมพ์ชนก ทองสถิตย์บริษัท ไนซ์แอพพาเรล จำกัด เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า ชุดกีฬาสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ในส่วนงานขนส่ง (บริษัท โปรทรานสปอร์ต จำกัด) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความสำคัญกับ บริษัท ไนซ์แอพพาเรล จำกัด เป็นองค์กรที่ขนส่งสินค้าภายในประเทศ จะขนส่งผลิตภัณฑ์จากโรงงานไปให้ลูกค้าหรือไปรับผลิตภัณฑ์จากบริษัทอื่นหรือบริษัทในเครือ เช่น อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น จากการขนส่งดังกล่าว ทำให้พบว่ามีบิลน้ำมันจากรถบรรทุกภายในบริษัท โปรทรานสปอร์ต เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การเลือกเติมน้ำมันนั้นอยู่ที่ทางบริษัท ว่าจะเลือกเติมน้ำมันประเภทไหน แต่ให้ประสิทธิภาพเหมือนเดิม จึงทำการศึกษาการเปรียบเทียบพลังงานทางเลือก เพื่อลดต้นทุนให้ทางบริษัท จากการสัมภาษณ์พนักงานขับรถเชิงลึก และได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันดีเซล B7 และ น้ำมันดีเซล B10 หรือ น้ำมันดีเซล ทำให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนพลังงานทางเลือกเป็น น้ำมันดีเซล B10 หรือ น้ำมันดีเซล และจากข้อมูลการเปรียบเทียบการเปลี่ยนน้ำมันดีเซลจาก B7 เป็น B10 ในระยะเวลา 1 ปี ของรถบรรทุกขนส่งทั้งหมดในบริษัท ทั้ง 38 คัน ทั้งรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบรรทุกขนาดกลาง และรถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) รวมค่าบำรุงรักษา (ค่าเปลี่ยนกรองโซล่า) สามารถลดต้นทุนในการเติมน้ำมันให้บริษัทได้ถึง 1,115,571 บาท หรือ ร้อยละ 27รายการ การศึกษาแนวคิดระบบการผลิตแบบโตโยต้าเพื่อพัฒนาบัตรงานในกระบวนการผลิต(2565-05-25) กวิน พินสำราญ , อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ , อดิศักดิ์ ทูลธรรม , วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์ , พุธิตา รัตน์ประโคนการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดระบบการผลิตแบบโตโยต้าโดยเน้นการ ควบคุมพื้นที่การทำงาน (Work Site Control) และพัฒนาบัตรงาน (Job Card) ในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้การปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐาน (Standardization) และสามารถควบคุมได้ด้วยสายตา (Visual Control) ในการตรวจสอบสภาพการทำงานหน้างานในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบัตรงานในกระบวนการผลิต ได้แก่ บัตรควบคุมกำลังคน บัตรควบคุม คุณภาพการผลิต บัตรควบคุมเครื่องจักร และบัตรควบคุมชิ้นส่วนและวัตถุดิบ รวมถึงการกำหนด เกณฑ์การปฏิบัติ 3 ระดับ ได้แก่ Bronze คือ มีการทำสะสางและสะดวก Silver คือ มีการควบคุม มาตรฐานความปลอดภัย และGold คือ สามารถควบคุมการทำงานด้วยสายตาตามเป้าหมายและ มาตรฐานที่วางไว้ ผลคะแนนการประเมินคุณภาพบัตรงานเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประโยชน์การใช้งานบัตรงานมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.12) รองลงมา คือ ด้านการใช้งานบัตรงาน ( =3.88) และด้านเนื้อหาบนบัตรงาน ( =3.81) ตามลำดับรายการ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H และแนวคิดแบบ ECRS กรณีศึกษาแผนกงานบุคคลและธุรการ บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท จำกัด (มหาชน)(2565-07-31) ศจี พัฒนาเฟื่องฟู , วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์การวิจัยฉบับนี้มีวัตุประสงค์เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดเก็บเอกสาร ภายในแผนกบุคคลและธุรการ บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท จำกัด (มหาชน) สำหนักงานใหญ่ ปัญหาที่พบจากการศึกษาพบว่าการจัดเก็บเอกสารที่เป็นกระดาษอยู่ในกล่องเอกสารมีเอกสารเป็นจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการค้นหา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานทั้งด้านของเวลา และความผิดพลาดในการเลือกใช้เอกสาร ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้วยหลักการ 5W1H และ ECRS สามารถทำให้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการจัดหมวดหมู่ของเอกสาร มีการสแกน เก็บเป็นไฟล์แทนการใช้กระดาษ และมีการจัดทำบัญชีเอกสารผ่านโปรแกรม excel ซึ่งทำให้สะดวกต่อการเลือกใช้เอกสาร ลดปัญหาด้านการใช้เวลาในการค้นหา และลดปัญหาด้านความผิดพลาดจากการใช้เอกสารรายการ การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเพื่อลดเวลาในการขนส่งผักสด(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2566-06-13) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต มณีศรีThe fresh vegetables are food products that need to maintain the freshness from farm to the customers. The key factor in treating the condition is the control in cold storage and transport. This research studied to the high-value vegetables or supper food. The problem is food loss and food waste between transportation and distribution from province farm to many customers in city. Nowadays, it takes at least 4 hours used to delivery time. Sometime there are accident in transport that made the product to be damaged. The company have to replace the new product. This is a food loss and food waste problem. The initial solution to solve this problem is distribution center location selection in Bangkok city by using the center of gravity method to find the appropriate point of distribution center (DCs) that can provide the customer. This method is to find the location of DCs and then compare with the alternative locations that the operator has considered by using the technique to find the distance together with the transportation cost. The results show the locations 2 points are Phra Nakhon site (13.759923689101600, 100.564717795655000) and Thonburi site (13.691066931265300, 100.472623747179000), which takes only 60 minutes to deliver the product to the customers. This solution can be solving the problem of food loss and food waste problem.