ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มุ่งเน้นศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย วงจรเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ หนี้สินหมุนเวียน และเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 จำนวนทั้งสิ้น 449 บริษัท ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยจำนวน 212 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการศึกษาพบว่า วงจรเงินสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัท ในขณะที่ลูกหนี้การค้าและหนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ สำหรับการจัดการเงินทุนหมุนเวียนซึ่งประกอบด้วยสินค้าคงเหลือและเงินทุนหมุนเวียนสุทธิไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560-12-14) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ลูกหนี้ และยอดขาย ที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวนทั้งสิ้น 125 บริษัท โดยเมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วพบว่ามีบางบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงทำให้มีบริษัทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 115 บริษัท และมีข้อมูล 498 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยพบว่า ลูกหนี้และยอดขายมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกำไรสุทธิ ในขณะที่หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์ทางลบต่อกำไรสุทธิ สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียนและเงินทุนหมุนเวียนสุทธิไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05