ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 19 ของ 19
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-10-21) รองเอก วรรณพฤกษ์การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 กลุ่ม 04 จำนวนทั้งสิ้น 67 คน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลจากค่าสถิติต่าง ๆจากการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนในทางที่ดี สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า จำนวนครั้งการถามหรือตอบคำถามอาจารย์ในระหว่างการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปในทิศทางเดียวกัน และจำนวนครั้งการคุยเล่นกับเพื่อนในระหว่างการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปในทิศทางตรงกันข้าม อาจสรุปได้ว่าแนวทางการสอนในอนาคตเพื่อจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ อาจารย์ผู้สอนควรหาวิธีการสอนที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถถามหรือตอบคำถามได้ในระหว่างการเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์ตามเนื้อหาบทเรียน A study of learning behavior towards academic achievement in Advanced Accounting II of Sripatum University’s students was conducted with the objective 1) to study learning behaviors of the students who enrolled in Advanced Accounting II and 2) to study the relationship between learning behaviors and academic achievement of the students. Sample was 67 students who enrolled Advanced Accounting II in semester 2/2552 group 04. A study found that most students had a good learning behavior. Furthermore a study also found that participation in class had positive relationship with the academic achievement, oppositely, of chatting with friends while studying has negative relationship with academic achievement. In conclusion, for an effective teaching method in the future, the lecturer should give the students a chance to participate in the class in order to motivate them to think and analyze what they have learnt.รายการ หน่วยงานที่ควรมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการ(สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2555-05-28) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee Kruerattikarnปัจจุบันการกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนหนึ่งมาจากมีการทุจริตในบริษัทโดยเฉพาะการทุจริตจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทหรือมีการร่วมมือกันระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ดังนั้นจึงควรมีหน่วยงานที่ร่วมกันสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารบริษัทในประเด็นที่อาจทำให้บริษัทละเว้นการมีการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หน่วยงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการกำกับดูแลแก่ผู้บริหารบริษัท และขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้เปิดเผยข้อมูลของบริษัทและให้มีการมอบรางวัลแก่บริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่วนหน่วยงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะมีการติดต่อประสานงานระหว่างกันเพื่อดูแลในเรื่องของระบบการควบคุมภายใน การจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสรายการ ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555-10-26) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการทดสอบย่อย โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาการบัญชีบริหารในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จานวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACT314 (2) การทดสอบย่อยก่อนเรียน (Pretest) และการทดสอบย่อยหลังเรียน (Posttest) ในเนื้อหาเรื่องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน-จำนวน-กาไร แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การประเมินโครงการลงทุน และการวัดผลการปฏิบัติงานของส่วนงาน โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยก่อนเรียนและทดสอบย่อยหลังเรียน และมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทาให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำ (x = 6.98) เป็นระดับสูง ( x = 17.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่านักศึกษามีการเตรียมตัวอ่านหนังสือมาล่วงหน้า และมีความตั้งใจในเรียนมากขึ้น The objective of this quasi-experimantal research with the single group pretest-posttest design was to compare learning achievement of students taught by using the effects of formative tests before and after the instruction. The sample of this research were 64 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting, Sripatum University who were studying in Management Accounting course in the first semester of the academic year 2011. The research instruments use were : (1) The lesson plan, (2) The Pretest and Posttest in details of Cost-Volume-Profit Analysis, Decision Making and Relevant Information, Capital Budgeting, and Performance Measurement. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test. The results of this research were as follow : 1. The method learning by using pretest and posttest and give information feedback made the learning achievement scores of the studens were statistically significantly higher than before toward significant increased at the .05 level. 2. The development of learning achievement scores of students continuously trend to increase that’s mean students prepare in reading before study in the class.รายการ ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงินและประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน(คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556-04-21) รองเอก วรรณพฤกษ์; พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และเพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน จากการศึกษาพบว่าผู้ทำบัญชีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 30 ถึง 40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 9 ปีขึ้นไป และดำรงตำแหน่งในระดับผู้จัดการเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ทำบัญชีมีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และผู้ทำบัญชีมีความคิดเห็นเฉลี่ยรวมต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ในระดับ “ เห็นด้วยมาก” สำหรับผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ผู้ทำบัญชีที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เกี่ยวกับนิยามคำศัพท์แตกต่างกัน และผู้ทำบัญชีที่มีประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เกี่ยวกับการนำเสนองบกระแสเงินสดแตกต่างกัน รวมทั้งผู้ทำบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันจะมีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงินที่แตกต่างกัน อีกทั้งไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจของผู้ทำบัญชีกับความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน นอกจากนั้นจากผลการสัมภาษณ์พบว่าผู้ทำบัญชีมีความเห็นกับรูปแบบการนำเสนองบการเงินแบบใหม่ในเชิงบวกแม้จะมีปัญหาความยุ่งยากในการหาข้อมูลเพื่อนำเสนองบการเงินซึ่งกระทบต่อระยะเวลาการนำเสนองบการเงินที่นานขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยสอบถามข้อมูลกับผู้ใช้งบการเงินในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ถึงประโยชน์และอุปสรรคจากข้อมูลในงบการเงินในแนวทางปฏิบัติต่อไปรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2556-05-31) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee Kruerattikarnงานวิจัยนี้ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 60 บริษัท มีตัวแปรอิสระได้แก่ การกำกับดูแลกิจการของบริษัท (ประกอบด้วย การควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ และค่าตอบแทนกรรมการ) ตัวแปรตาม ได้แก่ อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น และตัวแปรควบคุม ได้แก่ อายุของบริษัท ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ พบว่าปี 2552 อายุของบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทเพียงตัวแปรเดียว ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ปี 2552 และ 2553 ไม่มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น ส่วนปี 2554 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้นได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการกำกับดูแลกิจการได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทเพียงตัวแปรเดียว ดังนั้นหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ นักลงทุน และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลมากยิ่งขึ้นในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระหว่างกันรายการ การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างผู้ที่จบการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรายวิชา ACT102 หลักการบัญชีขั้นต้น 2 สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556-12-24) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ACT102 หลักการบัญชีขั้นต้น 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)แผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACT102 (2) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน (3) การทดสอบย่อยในเนื้อหาเรื่องการตีราคาสินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ และ กิจการอุตสาหกรรม โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับนักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่แตกต่างกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย ( x ) แล้วพบว่า นักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.46 ซึ่งสูงกว่านักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.30 2. พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับนักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่แตกต่างกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย ( x ) แล้วพบว่า นักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.81 ซึ่งสูงกว่านักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.48 อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่านักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีพัฒนาการทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน The objective of this research with the single group design was to comparison the learning achievement of students between graduated in the Vocational Certificate Level and High School Education Level in ACT102 Principles of Accounting 2 and studied in the development of learning outcome between two groups. The sample of this research were 111 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting,Sripatum University who were studying in Principles of Accounting 2 course in the second semester of the academic year 2012. The research instruments use were : (1) The lesson plan, (2) The Pretest, (3) The Formative test in details of Inventory, Property, Plant and Equipment, Liability and Owners’ equity, and Accounting of Manufacturing Firm. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test. The results of this research were as follow : 1. The learning achievement of students between graduated in the Vocational Certificate Level and High School Education Level were no significant difference at the 0.05. Furthermore, the finding of this study revealed that the means of learning achievement of students graduated in the Vocational Certificate Level at 2.46 were higher than students graduated in High School Education Level at 2.30 2. The development of learning achievement scores of students between graduated in the Vocational Certificate Level and High School Education Level were no significant difference at the 0.05. However, the learning achievement scores of both groups were more increased before study in the class.รายการ การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556-12-24) รมิดา คงเขตวณิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาการบัญชีการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการบัญชีการเงิน ปีการศึกษา 2/2555 จำนวน 227 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลของงานวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด และเป็นนักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกและโซ่อุปทานมากที่สุด นักศึกษามีความคาดหวังต่อการเรียนการสอนรายวิชาการบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนด้านการดำเนินการสอนของอาจารย์ (เทคนิคการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมานักศึกษามีความคาดหวังด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนการสอน และสิ่งที่คาดหวังน้อยที่สุด คือ ด้านคุณภาพการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนในสัดส่วนที่เท่ากัน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาการบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้านการดำเนินการสอนของอาจารย์ (เทคนิคการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมานักศึกษามีความพึงพอใจด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพการเรียนการสอน และเนื้อหาวิชา สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนการสอน เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีสาขาต่างกัน มีความคิดเห็นและความคาดหวังต่อการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงินไม่แตกต่างกัน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05รายการ ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2(การประชุมวิชาการสาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 3, 2558-05-24) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนและเข้าเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม (2) แผนการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (paired-simple t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการใช้คำถามมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 The objective of this quasi-experimental research with the single group pretest-posttest design was to compare learning outcome of students taught by using the effects of questioning method before and after the instruction. The sample of this research were 61 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting, Sripatum University who were studying in Principles of Accounting 2 course in the second semester of the academic year 2013. The research instruments use were : (1) Questioning Method (2) The lesson plan, (3) Achievement test. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test (paired-simple t-test). The results of this research was the method learning by using pretest and posttest on questioning method made the learning outcome scores of the students were statistically significantly higher than before toward significant increased at the .01 level.รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2558-12-22) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทใน กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 62 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2556 รวมระยะเวลา 3 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคม และ 2) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม This study is a quantitative research which was conducted with the objective 1) to study a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section 2) to study a relationship between a performance and a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section. The population was 62 Thai listed companies in property and construction section, as of December 31, 2013. The data was collected from Financial Statements, 56-1 Report and Annual report for 3 years (between year 2011- 2013). The descriptive and inferential statistics used in this research comprised of frequency, percentage, standard deviation and multiple regression analysis A study found 1) a positive relationship between a return on total asset, company size and a disclosure of environment information 2) a positive relationship between a return on total asset, company size and a disclosure of social and environment information.รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558-12-22) พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์คุณภาพกำไรโดยใช้วิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน (Working capital accruals :WCA) และวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ(Total net operation accruals : NOA) และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามวิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน และวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน จำนวน 231 บริษัท โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปีและงบการเงินตั้งแต่ปี 2553-2556 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติพรรณนาอธิบายถึงลักษณะของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้สถิติ F-test (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพกำไรกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลุ่มอุตสาหกรรม) โดยใช้วิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่แตกต่างกันและหากเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลุ่มอุตสาหกรรม) โดยใช้วิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานแตกต่างกันและจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานพบว่าคุณภาพกำไรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระดับที่ค่อนข้างสูงและไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ ปัจจัยด้านอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2558-12-22) รมิดา คงเขตวณิช; มนตรี ช่วยชูการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยด้านอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างประเภทอุตสาหกรรมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงินและกลุ่มบริษัทที่อยู๋ระหว่างฟื้นฟูการดำเนินงาน จำนวน 220 บริษัท ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2556 และนำข้อมูลมาทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Multiple Regression และ One-Way ANOVA เพื่อเป็นแนวทางแก่นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้สนใจนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนหรือการวางแผนการดำเนินงานและด้านอื่น ๆรายการ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559-06-24) วรัญญาภรณ์ กุลสินทวีรัตน์; ยุวดี เครือรัฐติกาล; จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ใช้บริการตรวจสอบบัญชีภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จากข้อมูลของกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ พบว่ามีสหกรณ์ที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งสิ้น 318 แห่ง ยอมรับค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างได้ 5% หรือ 0.05 ค่าที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 178 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดเป็นระดับ ปวช./ปวส./ปวท./อนุปริญญา ตำแหน่งงานบัญชี มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี ทุนดำเนินงานของสหกรณ์มากกว่า 100,000,000 บาท และมีจำนวนสมาชิก 6,001-9,000 คน โดยภาพรวมแล้วความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความถูกต้อง ครบถ้วน ของการให้บริการ และขั้นตอนการให้บริการที่เหมาะสม สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงเสมอภาค รองลงมาคือ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดและมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบบัญชีตามหลักการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ทุนดำเนินงาน และจำนวนสมาชิกต่างกันไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ Objectives of the research were 1) to study satisfaction towards cooperative auditor service outside agricultural sector in Bangkok metropolitan regions and 2) to compare the satisfaction. The population was cooperatives outside agricultural sector which used private auditor service in Bangkok metropolitan regions from the registered list of Cooperative Auditing Department. One hundred and seventy-seven of cooperatives form the total list of 318 was selected as a sample which was 5% or 0.05 acceptable errors. Questionnaire was created and used as a tool for data collection which sending to selected samples by mail. The result found that most of respondent ages was 31-40 years, earned vocational certificate/ high vocational certificate/ technical certificate/ diploma, 6-10 year experiences in accounting position, operating capital budget of cooperative more than 100,000,000 baht, and cooperative member was 6,001-9,000. Overall satisfaction towards cooperative auditor service was in high, the average of most of satisfaction issue were correction and coverage of service, and appropriate service process which can be given equity of service; and following satisfaction issue was personal in service sector which the average of most satisfaction were independent of auditor and capability and knowledge to audit under auditing principle and auditing standard. The comparing of average satisfaction toward cooperative auditor service was not significant by ages, education, position, work experience, operating capital budget, and the number of members.รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี(มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2559-08-25) ชัยสรรค์ รังคะภูติและวัชธนพงศ์ ยอดราชความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560-12-14) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ลูกหนี้ และยอดขาย ที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวนทั้งสิ้น 125 บริษัท โดยเมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วพบว่ามีบางบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงทำให้มีบริษัทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 115 บริษัท และมีข้อมูล 498 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยพบว่า ลูกหนี้และยอดขายมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกำไรสุทธิ ในขณะที่หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์ทางลบต่อกำไรสุทธิ สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียนและเงินทุนหมุนเวียนสุทธิไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มุ่งเน้นศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย วงจรเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ หนี้สินหมุนเวียน และเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 จำนวนทั้งสิ้น 449 บริษัท ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยจำนวน 212 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการศึกษาพบว่า วงจรเงินสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัท ในขณะที่ลูกหนี้การค้าและหนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ สำหรับการจัดการเงินทุนหมุนเวียนซึ่งประกอบด้วยสินค้าคงเหลือและเงินทุนหมุนเวียนสุทธิไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด : วิธีการปรับย้อนหลังหรือวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) รองเอก วรรณพฤกษ์ในกรณีที่กิจการมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด กิจการจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ซึ่งโดยทั่วไปการเปลี่ยนนโยบายการบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ใช้วิธีปรับย้อนหลัง สำหรับการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป ทั้งนี้กิจการต้องบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีเพื่อให้ข้อมูลในงบการเงินสามารถเปรียบเทียบกันได้และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินรายการ การนำความรู้สู่การปฏิบัติงานจริงด้วยสหกิจศึกษา ของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(Sripatum University, 2562-07-31) พรรณทิพย์ อย่างกลั่น; อัจฉราพร โชติพฤกษ์สหกิจศึกษาเป็นการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ออกไปเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ที่ตรงกับวิชาชีพในสภาพจริงสลับกับการเรียนในสถานศึกษาโดยเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของสถานศึกษาและสถานประกอบการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักและประเมินศักยภาพตนเองได้ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะที่จำเป็นสาหรับการประกอบอาชีพ เข้าใจและรู้จักสังคม วัฒนธรรม และคนในแวดวงวิชาชีพ รวมทั้งเข้าใจและรู้จักลักษณะงานในสายวิชาชีพได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นข้อมูลสะท้อนกลับในการพัฒนาตนเองให้พร้อมก่อนก้าวออกสู่สังคมงานต่อไป นอกจากนั้น สหกิจศึกษายังทาให้ได้ข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้ใช้บัณฑิตสาหรับการนำไปพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมที่สอดรับเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการผลิตบัณฑิตที่ได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตยิ่งขึ้น โดยกระบวนการสหกิจศึกษาประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2) กระบวนการระหว่างปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและ 3) กระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษารายการ ผลกระทบของบล็อกเชนที่มีต่อความปลอดภัยข้อมูลบัญชี(วารสารมหาจุฬานาครทรรรศน์, 2563-05) ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์การประยุกต์เทคโนโลยีออนไลน์กับงานบัญชีมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อมีการนำระบบเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ เช่น การนำระบบคลาวด์มาประยุกต์ใช้กับระบบบัญชี ทำให้สะดวกรวดเร็ว การจัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสดและหมายเหตุประกอบงบการเงิน การประยุกต์เทคโนโลยีออนไลน์กับงานบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นและทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำธุรกรรมและบันทึกข้อมูลได้แบบ Real Time เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ช่วยลดต้นทุนระบบงาน Back Office อย่างไรก็ตามผลเสียของการใช้เทคโนโลยีคลาวด์กับงานบัญชี เช่น ข้อมูลบัญชีเป็นข้อมูลสาธารณะสามารถนำไปใช้โดยผู้ไม่ประสงค์ดี สร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการ เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีนำมาซึ่งความปลอดภัยของข้อมูล การทำธุรกรรมออนไลน์สามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว บล็อกเชนเป็นระบบการจัดการฐานข้อมูล มีความเชื่อมโยงกันกับงานบัญชี ทั้งการยืนยันตัวตน การจัดทำธุรกรรม การบันทึกความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ ความปลอดภัยของข้อมูลบัญชีมีความสำคัญ ซึ่งการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีคลาวด์ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานข้อมูลบัญชีว่าจะถูกเก็บเป็นความลับและปลอดภัย สร้างความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ถูกต้อง สร้างระบบตรวจสอบการทำธุรกรรม สร้างเครือข่ายในการตรวจสอบได้ทั่วโลก ลดเวลาในการทำธุรกรรมการตรวจสอบ ข้อมูลผิดพลาดลดลง ไม่มีความเสี่ยงจากการปลอมแปลงเอกสาร ลดการทุจริตเพราะไม่สามารถลบหรือกลับไปแก้ไขรายการบัญชีได้ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งบการเงินโดยเฉพาะนักลงทุนที่นำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนรายการ ผลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราส่วนมูลค่าตลาดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) รองเอก วรรณพฤกษ์ จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์ และสุรีย์ โบษกรนัฏงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราส่วนมูลค่าตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 42 บริษัท โดยบริษัทที่มีข้อมูลครบ 5 ปีมีจำนวน 27 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบียงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น 2) อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น 3) อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05