ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "พรรณทิพย์ อย่างกลั่น"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การนำความรู้สู่การปฏิบัติงานจริงด้วยสหกิจศึกษา ของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(Sripatum University, 2562-07-31) พรรณทิพย์ อย่างกลั่น; อัจฉราพร โชติพฤกษ์สหกิจศึกษาเป็นการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ออกไปเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ที่ตรงกับวิชาชีพในสภาพจริงสลับกับการเรียนในสถานศึกษาโดยเป็นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของสถานศึกษาและสถานประกอบการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักและประเมินศักยภาพตนเองได้ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะที่จำเป็นสาหรับการประกอบอาชีพ เข้าใจและรู้จักสังคม วัฒนธรรม และคนในแวดวงวิชาชีพ รวมทั้งเข้าใจและรู้จักลักษณะงานในสายวิชาชีพได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นข้อมูลสะท้อนกลับในการพัฒนาตนเองให้พร้อมก่อนก้าวออกสู่สังคมงานต่อไป นอกจากนั้น สหกิจศึกษายังทาให้ได้ข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้ใช้บัณฑิตสาหรับการนำไปพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมที่สอดรับเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการผลิตบัณฑิตที่ได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตยิ่งขึ้น โดยกระบวนการสหกิจศึกษาประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการก่อนออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2) กระบวนการระหว่างปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและ 3) กระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษารายการ ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงินและประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน(คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556-04-21) รองเอก วรรณพฤกษ์; พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และเพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน จากการศึกษาพบว่าผู้ทำบัญชีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 30 ถึง 40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 9 ปีขึ้นไป และดำรงตำแหน่งในระดับผู้จัดการเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ทำบัญชีมีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และผู้ทำบัญชีมีความคิดเห็นเฉลี่ยรวมต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ในระดับ “ เห็นด้วยมาก” สำหรับผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ผู้ทำบัญชีที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เกี่ยวกับนิยามคำศัพท์แตกต่างกัน และผู้ทำบัญชีที่มีประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เกี่ยวกับการนำเสนองบกระแสเงินสดแตกต่างกัน รวมทั้งผู้ทำบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันจะมีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงินที่แตกต่างกัน อีกทั้งไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจของผู้ทำบัญชีกับความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน นอกจากนั้นจากผลการสัมภาษณ์พบว่าผู้ทำบัญชีมีความเห็นกับรูปแบบการนำเสนองบการเงินแบบใหม่ในเชิงบวกแม้จะมีปัญหาความยุ่งยากในการหาข้อมูลเพื่อนำเสนองบการเงินซึ่งกระทบต่อระยะเวลาการนำเสนองบการเงินที่นานขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยสอบถามข้อมูลกับผู้ใช้งบการเงินในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ถึงประโยชน์และอุปสรรคจากข้อมูลในงบการเงินในแนวทางปฏิบัติต่อไปรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558-12-22) พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์คุณภาพกำไรโดยใช้วิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน (Working capital accruals :WCA) และวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ(Total net operation accruals : NOA) และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามวิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน และวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน จำนวน 231 บริษัท โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปีและงบการเงินตั้งแต่ปี 2553-2556 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติพรรณนาอธิบายถึงลักษณะของตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้สถิติ F-test (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณภาพกำไรกับประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลุ่มอุตสาหกรรม) โดยใช้วิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่แตกต่างกันและหากเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลุ่มอุตสาหกรรม) โดยใช้วิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานแตกต่างกันและจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานพบว่าคุณภาพกำไรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการดำเนินงานในระดับที่ค่อนข้างสูงและไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05