ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ยุวดี เครือรัฐติกาล"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559-06-24) วรัญญาภรณ์ กุลสินทวีรัตน์; ยุวดี เครือรัฐติกาล; จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ใช้บริการตรวจสอบบัญชีภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จากข้อมูลของกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ พบว่ามีสหกรณ์ที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งสิ้น 318 แห่ง ยอมรับค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างได้ 5% หรือ 0.05 ค่าที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 178 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดเป็นระดับ ปวช./ปวส./ปวท./อนุปริญญา ตำแหน่งงานบัญชี มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี ทุนดำเนินงานของสหกรณ์มากกว่า 100,000,000 บาท และมีจำนวนสมาชิก 6,001-9,000 คน โดยภาพรวมแล้วความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความถูกต้อง ครบถ้วน ของการให้บริการ และขั้นตอนการให้บริการที่เหมาะสม สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงเสมอภาค รองลงมาคือ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดและมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบบัญชีตามหลักการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ทุนดำเนินงาน และจำนวนสมาชิกต่างกันไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ Objectives of the research were 1) to study satisfaction towards cooperative auditor service outside agricultural sector in Bangkok metropolitan regions and 2) to compare the satisfaction. The population was cooperatives outside agricultural sector which used private auditor service in Bangkok metropolitan regions from the registered list of Cooperative Auditing Department. One hundred and seventy-seven of cooperatives form the total list of 318 was selected as a sample which was 5% or 0.05 acceptable errors. Questionnaire was created and used as a tool for data collection which sending to selected samples by mail. The result found that most of respondent ages was 31-40 years, earned vocational certificate/ high vocational certificate/ technical certificate/ diploma, 6-10 year experiences in accounting position, operating capital budget of cooperative more than 100,000,000 baht, and cooperative member was 6,001-9,000. Overall satisfaction towards cooperative auditor service was in high, the average of most of satisfaction issue were correction and coverage of service, and appropriate service process which can be given equity of service; and following satisfaction issue was personal in service sector which the average of most satisfaction were independent of auditor and capability and knowledge to audit under auditing principle and auditing standard. The comparing of average satisfaction toward cooperative auditor service was not significant by ages, education, position, work experience, operating capital budget, and the number of members.รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2556-05-31) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee Kruerattikarnงานวิจัยนี้ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 60 บริษัท มีตัวแปรอิสระได้แก่ การกำกับดูแลกิจการของบริษัท (ประกอบด้วย การควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ และค่าตอบแทนกรรมการ) ตัวแปรตาม ได้แก่ อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น และตัวแปรควบคุม ได้แก่ อายุของบริษัท ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ พบว่าปี 2552 อายุของบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทเพียงตัวแปรเดียว ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ปี 2552 และ 2553 ไม่มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น ส่วนปี 2554 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้นได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการกำกับดูแลกิจการได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทเพียงตัวแปรเดียว ดังนั้นหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ นักลงทุน และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลมากยิ่งขึ้นในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระหว่างกันรายการ หน่วยงานที่ควรมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการ(สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2555-05-28) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee Kruerattikarnปัจจุบันการกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องให้ความสำคัญเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนหนึ่งมาจากมีการทุจริตในบริษัทโดยเฉพาะการทุจริตจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทหรือมีการร่วมมือกันระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ดังนั้นจึงควรมีหน่วยงานที่ร่วมกันสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารบริษัทในประเด็นที่อาจทำให้บริษัทละเว้นการมีการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หน่วยงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการกำกับดูแลแก่ผู้บริหารบริษัท และขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้เปิดเผยข้อมูลของบริษัทและให้มีการมอบรางวัลแก่บริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่วนหน่วยงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะมีการติดต่อประสานงานระหว่างกันเพื่อดูแลในเรื่องของระบบการควบคุมภายใน การจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงินและมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส