ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "รองเอก วรรณพฤกษ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงินและประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน(คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556-04-21) รองเอก วรรณพฤกษ์; พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และเพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของงบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน จากการศึกษาพบว่าผู้ทำบัญชีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุตั้งแต่ 30 ถึง 40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 9 ปีขึ้นไป และดำรงตำแหน่งในระดับผู้จัดการเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ทำบัญชีมีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน และผู้ทำบัญชีมีความคิดเห็นเฉลี่ยรวมต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ในระดับ “ เห็นด้วยมาก” สำหรับผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ผู้ทำบัญชีที่มีเพศและระดับการศึกษาแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เกี่ยวกับนิยามคำศัพท์แตกต่างกัน และผู้ทำบัญชีที่มีประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน เกี่ยวกับการนำเสนองบกระแสเงินสดแตกต่างกัน รวมทั้งผู้ทำบัญชีที่มีอายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันจะมีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงินที่แตกต่างกัน อีกทั้งไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจของผู้ทำบัญชีกับความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน นอกจากนั้นจากผลการสัมภาษณ์พบว่าผู้ทำบัญชีมีความเห็นกับรูปแบบการนำเสนองบการเงินแบบใหม่ในเชิงบวกแม้จะมีปัญหาความยุ่งยากในการหาข้อมูลเพื่อนำเสนองบการเงินซึ่งกระทบต่อระยะเวลาการนำเสนองบการเงินที่นานขึ้น อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยสอบถามข้อมูลกับผู้ใช้งบการเงินในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ถึงประโยชน์และอุปสรรคจากข้อมูลในงบการเงินในแนวทางปฏิบัติต่อไปรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2558-12-22) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทใน กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 62 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2556 รวมระยะเวลา 3 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคม และ 2) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม This study is a quantitative research which was conducted with the objective 1) to study a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section 2) to study a relationship between a performance and a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section. The population was 62 Thai listed companies in property and construction section, as of December 31, 2013. The data was collected from Financial Statements, 56-1 Report and Annual report for 3 years (between year 2011- 2013). The descriptive and inferential statistics used in this research comprised of frequency, percentage, standard deviation and multiple regression analysis A study found 1) a positive relationship between a return on total asset, company size and a disclosure of environment information 2) a positive relationship between a return on total asset, company size and a disclosure of social and environment information.รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554-10-21) รองเอก วรรณพฤกษ์การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศึกษาพฤติกรรมการเรียนวิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการบัญชีขั้นสูง 2 ในภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 กลุ่ม 04 จำนวนทั้งสิ้น 67 คน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลจากค่าสถิติต่าง ๆจากการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนในทางที่ดี สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า จำนวนครั้งการถามหรือตอบคำถามอาจารย์ในระหว่างการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปในทิศทางเดียวกัน และจำนวนครั้งการคุยเล่นกับเพื่อนในระหว่างการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปในทิศทางตรงกันข้าม อาจสรุปได้ว่าแนวทางการสอนในอนาคตเพื่อจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ อาจารย์ผู้สอนควรหาวิธีการสอนที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถถามหรือตอบคำถามได้ในระหว่างการเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและวิเคราะห์ตามเนื้อหาบทเรียน A study of learning behavior towards academic achievement in Advanced Accounting II of Sripatum University’s students was conducted with the objective 1) to study learning behaviors of the students who enrolled in Advanced Accounting II and 2) to study the relationship between learning behaviors and academic achievement of the students. Sample was 67 students who enrolled Advanced Accounting II in semester 2/2552 group 04. A study found that most students had a good learning behavior. Furthermore a study also found that participation in class had positive relationship with the academic achievement, oppositely, of chatting with friends while studying has negative relationship with academic achievement. In conclusion, for an effective teaching method in the future, the lecturer should give the students a chance to participate in the class in order to motivate them to think and analyze what they have learnt.รายการ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด : วิธีการปรับย้อนหลังหรือวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) รองเอก วรรณพฤกษ์ในกรณีที่กิจการมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด กิจการจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ซึ่งโดยทั่วไปการเปลี่ยนนโยบายการบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ใช้วิธีปรับย้อนหลัง สำหรับการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีให้ใช้วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป ทั้งนี้กิจการต้องบันทึกบัญชีให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีเพื่อให้ข้อมูลในงบการเงินสามารถเปรียบเทียบกันได้และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน