School of Engineering
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู School of Engineering โดย ผู้เขียน ".ไพบูลย์ ปัญญาคะโป และมัลลิกา ปัญญาคะโป."
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กำลังอัดของปริซึมผนังคอนกรีตมวลเบาเสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก(วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยพะเยา, 2565-08-25) .ไพบูลย์ ปัญญาคะโป และมัลลิกา ปัญญาคะโป.บทความวิจัยนี้นำเสนอกำลังอัดของปริซึมผนังคอนกรีตมวลเบาที่เสริมกำลังด้วยเทคนิคเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก เพื่อปรับปรุงกำลังต้านทานแรงกระทำทางด้านข้างเนื่องจากแรงแผ่นดินไหว โดยใช้ตะแกรงเหล็กฉีก No.22, No.23 XS31, XS32 ที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะแตกต่างกัน 4 ขนาด และตะแกรงลวดตาข่ายสี่เหลี่ยม (SM) 1 ขนาด เพื่อเปรียบเทียบวิธีการยึดตะแกรงเหล็กกับแผ่นปริซึมคอนกรีตมวลเบาระหว่างวิธีที่ 1 การยึดด้วยสกรูและวิธีที่ 2 การยึดด้วยสลักขันเกลียว การจัดเตรียมตัวอย่างปริซึมและการทดสอบกำลังอัดดำเนินการตามมาตรฐานการทดสอบกำลังอัดของปริซึมผนังก่อ ผลการทดสอบพบว่ากำลังอัดของปริซึมเสริมกำลังด้วยตะแกรงเหล็กฉีกมีค่าสูงกว่ากำลังอัดของผนังที่เสริมด้วยตะแกรงลวดตาข่ายสี่เหลี่ยม 72% เมื่อเทียบปริมาณค่าน้ำหนักของตะแกรงที่ใช้เสริมกำลังที่เท่ากัน เนื่องจากตะแกรงเหล็กฉีกมีกำลังดึงสูงกว่าตะแกรงลวดตาข่ายสี่เหลี่ยม ผลของการใช้วิธีการยึดตะแกรงเหล็กที่แตกต่างกัน พบว่าวิธียึดตะแกรงด้วยสลักขันเกลียวให้ค่ากำลังสูงกว่าวิธีการยึดด้วยสกรู เนื่องจากสกรูมีการคลายตัวและดีดออกทำให้คลายการยึดจับได้ง่ายกว่าการขันยึดด้วยสลักเกลียว ดังนั้น วิธีขันยึดด้วยสลักเกลียวจึงช่วยทำให้ตะแกรงเหล็กมีประสิทธิภาพการรับกำลังอัดได้ดีกว่าการยึดด้วยสกรู