School of Engineering
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู School of Engineering โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 715
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ข้อแนะนำในการพิจารณาออกแบบความหนาแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกกองเก็บวัสดุ(2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิชบทความนี้นำเสนอรายละเอียดการออกแบบแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับน้ำหนักกองเก็บวัสดุ โดย วิธีของ Portland Cement Association เนื้อหาบทความกล่าวถึง ทฤษฎีที่ใช้ออกแบบ ค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง และ ตัวอย่างผลวิเคราะห์ วิธีออกแบบนี้ใช้หลักการหน่วยแรงใช้งานโดยกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้จากค่ากำลังดัดของ คอนกรีตหารด้วยค่าตัวประกอบความปลอดภัยเท่ากับ 2.0 การวิเคราะห์หน่วยแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้นซึ่ง พิจารณาให้รับน้ำหนักบรรทุกแผ่ คำนวณโดยสมการผลเฉลยเฉพาะของสมการเชิงอนุพันธ์ที่กำหนดขึ้นจากโจทย์ ปัญหาคานวางบนวัสดุยืดหยุ่น สุดท้ายผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าน้ำหนักแผ่ที่ยอมให้ใช้กองเก็บวัสดุกับ คุณสมบัติของแผ่นพื้น คำนวณได้จากการกำหนดเงื่อนไขให้ค่าหน่วยแรงดัดสูงสุดของแผ่นพื้นเท่ากับค่าหน่วยแรง ที่ยอมให้ ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวถูกนำเสนอในรูปตารางช่วยการออกแบบ โดยจัดทำไว้ทั้งกรณีการวาง น้ำหนักบรรทุกแบบไม่จัดวางผัง(Variable Layout) และกรณีการวางน้ำหนักบรรทุกแบบจัดผังตายตัว (Fixed Layout) This article presents guidelines for thickness design of industrial concrete floors on grade subjected to stationary loading, which recommended by Portland Cement Association. This article also describes design theory, related parameters, design procedures, and sample of design results. The entire design procedure is based on flexure. The allowable working stress is concrete flexural strength divided by factor of safety approximately 2.0. Flexural stresses in slabs, subjected to uniformly distributed loads, can be analyzed by using the solution of the governing differential equations based on the beam on elastic foundation problems. The correlation between allowable distributed loads and slab properties can be determined by equating critical tensile stresses to allowable working stress. The results of this analysis considered in two loaded-area cases, variable and fixed layouts. These results were presented in tabular form.รายการ การออกแบบความหนาแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับนน.บรรทุก forklift truck(2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิชรายการ กำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะแห้งในกรุงเทพฯ(NCCE, 2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; พลวิท บัวศรีบทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวโน้มของค่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะแห้งในเขตกรุงเทพฯ จากผล static pile load test พร้อมทั้งเปรียบเทียบค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่ได้กับที่ประเมินด้วยค่าแรงฝืดตามข้อบัญญัติ กทม.ในกรณีไม่มีผลทดสอบ คุณสมบัติของดิน การประเมินค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของเสาเข็มวิเคราะห์โดยวิธีของ Mazurkiewicz จากข้อมูลการทดสอบกำลังรับ น้ำหนักบรรทุกเสาเข็มเจาะแห้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 และ 0.60 เมตร จำนวน 42 ต้น จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับค่ากำลังรับน้ำหนัก บรรทุกใช้งานของเสาเข็มที่ประเมินจากค่าแรงฝืดตามข้อบัญญัติ กทม. ผลวิเคราะห์พบว่าวิธีประเมินค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม ดังกล่าวให้ค่าอัตราความปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 2.26 ค่าอัตราความปลอดภัยต่ำสุดเท่ากับ 1.7 และมีจำนวนเสาเข็มที่ค่าอัตราส่วนความ ปลอดภัยต่ำกว่า 2 ร้อยละ17 นอกจากนี้ได้เสนอค่าตัวคูณลดน้ำหนักบรรทุกเพื่อใช้ประเมินน้ำหนักบรรทุกใช้งานของเสาเข็มเจาะแห้งที่ มีความยาวระหว่าง 19 -25 เมตรในเขตกรุงเทพฯ This paper presents the comparison of dry-process bored pile capacities from static pile load test with the allowable pile capacities calculated from the friction resistance specified by Bangkok Building Codes. The study estimates the ultimate pile capacities using Mazurkiewicz’s method based on 42 static pile load test data of bored piles 0.50 and 0.60 m. diameters which were constructed in central Bangkok area. The comparison indicates that the average factor of safety is 2.26 and the minimum factor of safety is 1.7. The percentage of piles which have factor of safety below 2.0 is 17. This paper also presents a reduction factor equation for estimating the allowable capacity of dry-process bored piles having 19-25 m. pile length.รายการ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งในชั้นดินกรุงเทพฯ(NCCE13, 2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; กวีวุฒิ ขจรเกียรติพัฒนาบทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวโน้มของค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งในเขตกรุงเทพฯ ที่ วิเคราะห์โดยใช้วิธีของ Poulos & Davis (1980) จากข้อมูลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็มเจาะแห้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 และ 0.60 เมตร จำนวน 42 ต้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ค่าน้ำหนักบรรทุกและค่าการทรุดตัวของเสาเข็มที่นำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับ การวิเคราะห์ ได้จากสภาวะที่เสาเข็มทรุดตัวขณะรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่มีค่าร้อยละ 50 (FS. = 2) ของค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของ เสาเข็มซึ่งประเมินโดยวิธีของ Mazurkiewicz ผลวิเคราะห์พบว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งใน กรุงเทพฯมีแนวโน้มที่กระจัดกระจาย ในช่วงค่าที่กว้างมากระหว่าง 410 ถึง 2030 ตัน/ตร.ม. รูปแบบการกระจายข้อมูลไร้ระเบียบไม่ เหมาะในการจัดทำสมการสหสัมพันธ์ This paper presents the soil-pile elastic modulus estimation of dry-process bored piles. Constructed in Bangkok subsoils, the nominal diameter of these piles are 0.50 and 0.60 m . The analysis was conducted on 42 static pile load test results based on settlement analysis of single pile according to Poulos & Davis(1980)’s method. The working load of each pile is defined as 50 percent of Mazurkiewicz (1970) ’s failure load (FS. = 2). The calculated modulus was found scattered in wide range between 410 to 2030 t/m2, therefore, the correlation between the soil-pile elastic modulus and other parameters can not be established.รายการ Optimal Scheduling of Limited Energy Units Using Deconvolution Technique: A Case Study of Hydro Power Generation in Thailand(The 27th Electrical Engineering Conference, 2547-11-11) Keerati ChayakulkheereeThis paper investigates a practical application of deconvolution technique base optimal scheduling of limited energy units (LEUs). The computer program has been developed so that the probabilities of unit outages are taken into account by capacity model building and deconvolution technique is used to determine the optimal scheduling of LEUs. The program has been tested with the equivalent Thai power system with 110 power generating units, including 16 LEUs (hydro plants). The results shows that the deconvolution technique based optimal LEUs scheduling can dispatch all of daily energy specified at the optimal condition leading to the lower daily operating cost than that of scheduling without deconvolution calculation. The method can effectively associate the unit commitment problem as a preliminary scheduling of LEUs.รายการ การวิเคราะห์หลังคาโค้งไร้โครงถักช่วงยาว 30 เมตร(NCCE10, 2548-05-02) ฉัตร สุจินดาหลังคาโค้งไร้โครงถักของบริษัท สุคนธา จำกัดทำด้วยเหล็กพับขึ้นรูปแบบเย็น ช่วงยาว 30 เมตร ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ โครงสร้างแบบนี้มีความได้เปรียบคือไม่ต้องมีโครงถักเป็นตัวรองรับอยู่ด้านล่าง จึงไม่จำเป็นต้องมีรูสำหรับยึดพื้นผิวหลังคาเข้ากับโครงสร้างที่เอาไว้รองรับ ทำให้ไม่เกิดจุดที่มีโอกาสรั่วซึมขึ้น ความท้าทายของโครงสร้างประเภทนี้ก็คือ ตัวหลังคาจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถรับน้ำหนักต่าง ๆ ได้เองทั้งหมด ซึ่งสามารถทำได้โดยการผลิตตัวหลังคาจากแผ่นเหล็กพับขึ้นรูปแบบเย็น ที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัวยู และปั้มขึ้นรูปเป็นลอน ๆ แล้วนำมาประกอบกันโดยการพับซ้อน ทำให้ไม่เกิดรอยรั่ว เพื่อให้เกิดมั่นใจว่าโครงสร้างดังกล่าวจะสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้อย่างปลอดภัย จึงได้ทำการทดสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้างตัวอย่างขนาดเท่าของจริง ภายใต้เงื่อนไขการรับน้ำหนักบรรทุก 2 กรณีคือ (1) น้ำหนักบรรทุกเต็มช่วง และ (2) น้ำหนักบรรทุกครึ่งช่วง ซึ่งประเภทของโครงสร้างที่ใช้ ในการวิเคราะห์เป็นแบบสองมิติและพิจารณาถึงผลของ P-Delta โดยใช้โปรแกรม SAP2000 Non-linear ข้อมูลทางเรขาคณิตของโครงสร้างที่ใช้ในแบบจำลองได้มาจากค่าที่วัดได้จริงของโครงสร้างที่ใช้ทดสอบ ผลของการทำนายค่าการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ดังกล่าวเนื่องจากน้ำหนักที่กระทำเพิ่มขึ้นเป็นช่วง ๆ ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการทดสอบ รูปทรงของการโก่งตัวของโครงสร้างได้ถูกนำมาเสนอในรูปแบบของกราฟ และได้วิจารณ์เปรียบเทียบระหว่างผลของคำตอบที่ได้จากทั้งการวิเคราะห์กับการทดสอบ อีกทั้งยังได้นำเสนอแรงภายในและแรงปฏิกิริยาที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อใช้ในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างสำหรับรองรับต่อไป A 30-meter span trussless cold formed steel curved roof had been analyzed. This structure has the advantage of having no supporting trusses therefore no hole is required to fasten the roof surface to the supporting structures. As a result, no potential leaking points are created. The challenge of this type of structures is that the roof itself must withstand all of the loads. This could be achieved by using cold-form corrugated U-shape section made from steel sheets joining together using overlap folding technique. To ensure that the structure can safely withhold the loads, full-scale load tests had been performed under the controlled conditions. Two load cases had been studied: (1) the full-span load and (2) the half-span load. The P-Delta (geometrical non-linear) analyses of two-dimensional frame members using SAP2000 non-linear were performed. The structure geometrical data measured from the actual testing structure were used in this model. The predicted deflections from multi-stage loading were compared with the measured ones. The deformed shapes of the roof structures were present graphically. The comparison of both analytical and experimental results was discussed. Also the internal forces and support reactions from the analyses were reported for further design of the supporting structural members.รายการ การเลือกตัวคูณลดกำลังเพื่อใช้ในการออกแบบโมเมนต์ดัดในคานและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยพิจารณาถึงการกระจายของมวลต่อความยาวของเหล็กเส้น สำหรับบ้านพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 1, 2548-10-25) ฉัตร สุจินดาปัจจุบันนี้เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตในตลาดวัสดุก่อสร้างไทยมีให้เลือกหลายระดับราคา ซึ่งไม่ใช่เหล็กเส้นทุกชนิดในตลาดที่ผ่าน มอก 20-2543 (สำหรับเหล็กเสริมกลม) และ มอก 24-2536 (สำหรับเหล็กเสริมข้ออ้อย) การศึกษานี้เป็นการเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นที่ใช้จริงจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยจำนวน 100 หลัง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเลือกเก็บตัวอย่างเหล็กเส้นขนาด RB6 RB9 DB12 และ DB16 ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในโครงสร้างบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป เพื่อนำมาหาการกระจายของมวลต่อความยาว ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อระดับความปลอดภัยของโครงสร้าง จากตัวอย่างที่เก็บมาได้ พบว่ามีอัตราส่วนของจำนวนเหล็กเส้นที่ไม่ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยของ มอก ต่อจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในแต่ละขนาดร้อยละ 23.2 26.0 35.7 และ 35.1 สำหรับเหล็กเส้น RB6 RB9 DB12 และ DB16 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่งสำหรับการเลือกค่าตัวคูณลดกำลัง (strength reduction factor) ที่เหมาะสม ในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต จากการทดลองวิเคราะห์ความเชื่อมั่นที่นำมาเสนอนี้ ซึ่งได้พิจารณาถึงแต่เฉพาะผลของการกระจายของมวลต่อความยาวของเหล็กเสริมตัวอย่างที่แตกต่างไปจากข้อมูลของการก่อสร้างในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ผลค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับโมเมนต์ดัดที่จะรักษาระดับของความเชื่อมั่นไว้ให้เท่าเดิม phi=0.75 และ 0.70 สำหรับคานหล่อในที่เสริมด้วยเหล็ก DB12 และ DB16 ตามลำดับ และ phi=0.75, 0.65 และ 0.80 สำหรับพื้นหล่อในที่เสริมด้วยเหล็ก RB6 RB9 และ DB12 ตามลำดับรายการ การเลือกตัวคูณลดกำลังสำหรับการออกแบบเหล็กปลอกรับแรงเฉือนในคาน โดยพิจารณาถึงการกระจายของกำลังครากของเหล็กเส้นจากบ้านพักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร(การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 11, 2549-04-20) ฉัตร สุจินดาค่าตัวคูณลดกำลังที่ใช้ในมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก วสท 1008-38 เป็นค่าที่คัดลอกมาจากมาตรฐาน ACI-318 ซึ่งสะท้อนถึงข้อมูลทางสถิติของวัสดุและคุณภาพการก่อสร้างของประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าหากใช้ค่าตัวคูณลดกำลังดังกล่าว แต่การกระจายของมาตรฐานวัสดุและคุณภาพก่อสร้างไม่เหมือนกับของประเทศที่คัดลอกมา อาจทำให้โครงสร้างที่ออกแบบมีความปลอดภัยไม่เพียงพอ บทความนี้ได้นำเสนอถึงหลักการและขั้นตอนในการเลือกค่าตัวคูณลดกำลัง เพื่อใช้ในการออกแบบเหล็กปลอกรับแรงเฉือนขนาด RB6 และ RB9 ในคาน โดยการนำข้อมูลทางสถิติของกำลังครากของเหล็กเส้นตัวอย่างที่เก็บจากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยจำนวน 100 หลัง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และข้อมูลทางสถิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของโครงสร้าง ด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล บทความนี้ยังได้เสนอแนะค่าของตัวคูณลดกำลัง ซึ่งรักษาระดับความเชื่อมั่น ให้ใกล้เคียงกับของมาตรฐาน ACI-318 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบอาคารของประเทศไทยต่อไปในอนาคตรายการ Network and Generator Constrained Economic Dispatch Using Hybrid PSO-QP Algorithm(Proceeding of the 2006 ECTI Conference, 2549-05-10) Keerati ChayakulkheereeThis paper proposes a hybrid particle swarm optimization (PSO) and quadratic programming (QP) algorithm for power system economic dispatch (ED) with transmission line limit and transformer loading and generator prohibited operating zones constraints. In the proposed PSO-QP-ED algorithm, the sets of real power generation at generator bus are used as particles in the PSO. The quadratic programming ED with transmission line limit and transformer loading constrained is performed every generation to obtain the best solution of each population search. The proposed PSO-QP-ED is tested with the IEEE 30 bus system and compared to the PSO-ED. The proposed PSO-QP-ED results in more probability to obtain global minimum total system operating cost in the constrained ED than the PSOED considering generator prohibited operating zones constraints.รายการ Photoinduced on laterally spreading of space-chargeregion(Proceedings of the 2006 Electrical Engineering/ Electronics, Computer,, 2549-05-10) Sanya KhunkhaoPhotoinduced on lateral spreading along the surface of space-charge-region (SCR) of planar metal-semiconductor-metal (MSM) structures have been investigated. This purpose for the SCR of such a structure plays a key role in generating photocurrent and thus, in dc and/ or ac scheme, the wider SCR along the active surface is better from the efficiency point of view. To study the SCR along the surface of MSM structures, we prepared planar MSM structures leaving the undepleted region between the electrodes. We examined their SCR spreading through the photocurrent-bias voltage characteristics.The experimental results were compared with the numerical simulation using a quasi – ID model of such a planar structure. Since the depleted region along the surface would be much more sensitive to the incident illumination than the undepleted region, increase in bias causes the increase in the depletion width and thus detected photocurrent.รายการ Photoinduced on laterally spreading of space-chargeregion(Proceedings of the 2006 Electrical Engineering/ Electronics, Computer,, 2549-05-10) Sanya Khunkhaoรายการ Optical-beam profiling by bias-controlled metal-semiconductor-metal structures(APAC-SILICIDE 2006, 2549-06-22) Sanya KhunkhaoRecently we have shown experimentally that a planar metalsemiconductor- metal(MSM) structure having a wide separation between the two metal electrodes exhibits not only the function of a basic optical sensor but also optical sensitivity field-controllable by the bias applied [I]. In this study, we present the experimental results of onedimensional (ID) optical-beam profiling properties of an MSM structure as its application. To our knowledge, no study has appeared on such an application of planar MSM structures.รายการ Optical-beam profiling by bias-controlled metal-semiconductor-metal structures(APAC-SILICIDE 2006, 2549-07-29) Sanya KhunkhaoRecently we have shown experimentally that a planar metalsemiconductor- metal(MSM) structure having a wide separation between the two metal electrodes exhibits not only the function of a basic optical sensor but also optical sensitivity field-controllable by the bias applied [I]. In this study, we present the experimental results of onedimensional (ID) optical-beam profiling properties of an MSM structure as its application. To our knowledge, no study has appeared on such an application of planar MSM structures.รายการ การลดการระเหยของน้ำร้อนในกระบวนการผลิตผลไม้กระป๋อง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2549-10-18) อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ; ทีปกร คุณาพรวิวัฒน์; จักรพันธ์ กัณหา; วรพจน์ พันธุ์คงรายการ การทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับโมเมนต์ดัดของคานและพื้นทางเดียวที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน(การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12, 2549-10-24) ฉัตร สุจินดาปัจจุบันในท้องตลาดขายปลีกวัสดุก่อสร้างไทย มีเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหลายขนาดให้เลือก ซึ่งในแต่ละขนาด ผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะใช้เหล็กเต็มเส้น ที่มีตรา มอก. หรือจะเลือกเหล็กที่ไม่มี ตรา มอก. ซึ่งเหล็กเส้นที่ไม่มีตรา เหล่านี้มีมวลต่อความยาวต่ำกว่าที่ระบุไว้ในมาตรฐาน แน่นอนว่าหากผู้รับเหมาซื้อเหล็กเส้นดังกล่าวไปใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ไม่ได้มาตรฐานนี้ก็ย่อมจะมีกำลังรับน้ำหนักที่ต่ำกว่าโครงสร้างที่เสริมด้วยเหล็กที่ได้มาตรฐาน บทความนี้ได้นำเสนอถึงการทดสอบเพื่อหากำลังการรับโมเมนต์ดัดของคานและพื้นทางเดียวที่เสริมด้วยเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน จากการทดสอบคานสองตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นข้ออ้อย DB12 พบว่าคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น B12 ที่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 198% ของค่าที่คำนวณได้จากสูตรที่ใช้ในการออกแบบ ในขณะที่คานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ไม่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 118% ของค่าที่คำนวณได้ จากการทดสอบแผ่นพื้นสี่ตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้นกลม พบว่ากำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB6 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 101% และ 78% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ในขณะที่กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB9 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 121% และ 73% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับรายการ การศึกษาทางพารามิเตอร์เพื่อกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ที่เหมาะสม(การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12, 2549-10-24) ฉัตร สุจินดามาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน วสท. 1007-34 ได้กำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้ สำหรับเหล็กเสริมข้ออ้อยซึ่งมีกำลังครากน้อยกว่า 4,000 กก/ซม2 ให้ใช้ร้อยละ 50 ของกำลังคราก แต่ต้องไม่เกิน 1,500 กก/ซม2 ถ้าเหล็กเสริมข้ออ้อยซึ่งมีกำลังครากมากกว่าหรือเท่ากับ 4,000 กก/ซม2 ให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,700 กก/ซม2 แต่ในปัจจุบันมีเหล็กเสริมที่มีกำลังครากมากกว่า 4,000 กก/ซม2 แต่มีราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากได้มีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่ โดยยอมให้ใช้หน่วยแรงที่ยอมให้เพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้สามารถประหยัดค่าวัสดุได้อย่างมากมาย บทความนี้นำเสนอการศึกษาทางพารามิเตอร์ ถึงผลกระทบของค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ในเหล็กเสริม ที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบด้วยวิธีหน่วยแรงใช้งาน ที่มีผลต่อหน้าตัดที่ออกแบบ ซึ่งหน้าตัดที่ออกแบบได้นำมาวิเคราะห์หาความสามารถในการรับโมเมนต์ดัดด้วยวิธีกำลัง จากการศึกษานี้พบว่า หากเพิ่มหน่วยแรงที่ยอมให้เป็น 2,200 กก/ซม2 และ 2,800 กก/ซม2 สำหรับเหล็กเสริมที่มีกำลังคราก 4,000 กก/ซม2 และ 5,000 กก/ซม2 ตามลำดับ จะทำให้หน้าตัดที่ออกแบบมาได้ มีความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกใกล้เคียงกับน้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบ จะเห็นได้ว่าค่าหน่วยแรงที่ยอมให้ทั้งสองเกินกว่า 1,700 กก/ซม2 ดังนั้นจึงแนะนำให้ยกเลิกข้อกำหนดที่ว่า หน่วยแรงที่ยอมให้ในเหล็กเสริมที่มีกำลังครากมากกว่าหรือเท่ากับ 4,000 กก/ซม2 ให้ใช้ไม่เกิน 1,700 กก/ซม2 ออกไปจากมาตรฐาน วสท. 1007 ในฉบับใหม่รายการ การเลือกตัวคูณลดกำลังสำหรับการออกแบบเสาสั้นรับแรงอัดตามแนวแกน โดยพิจารณาถึงข้อมูลทางสถิติของมาตรฐานงานก่อสร้างและวัสดุในเขต กทม.(การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 2, 2549-10-25) ฉัตร สุจินดากฎกระทรวงด้านวิศวกรรมโครงสร้างและปฐพีฉบับใหม่ ได้กำหนดค่าตัวคูณลดกำลัง (Strength Reduction Factor) สำหรับการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กไว้สองกรณี กรณีที่ 1 คือกรณีที่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังคัดลอกมาจากมาตรฐาน ACI318-99 ซึ่งค่าดังกล่าวได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนกรณีที่ 2 คือกรณีที่ไม่มีการระบุฯ ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังในอัตราส่วน 5/6 เท่าของตัวคูณลดกำลังที่ใช้สำหรับกรณีที่ 1 บทความนี้จะนำเสนอถึงการเลือกตัวคูณลดกำลัง ซึ่งจะนำมาใช้สำหรับกรณีที่ 2 ด้วยวิธีวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) ของเสาสั้นที่รับแรงอัดตามแนวแกน โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานงานก่อสร้างและวัสดุ ที่เก็บมาได้จากโครงสร้างบ้านพักอาศัยที่ก่อสร้างโดยไม่มีการควบคุมคุณภาพในเขต กทม. อันได้แก่การกระจายทางสถิติของคุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้น กำลังของคอนกรีต และความคลาดเคลื่อนของขนาดและมิติต่าง ๆ อีกทั้งยังได้พิจารณาถึงพารามิเตอร์ทางสถิติต่าง ๆ ของสูตรคำนวณ และการเลือกจำนวน/ขนาดเหล็กเสริมตามยาวที่ใช้ในขั้นตอนการออกแบบ สุดท้ายบทความนี้ยังได้แนะนำค่าตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตสำหรับประเทศไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตรายการ Shot noise due to carrier generation in planar metal-semiconductor-metal optical sensors structures(International Conference on Applied Science: ICAS 2006, 2549-11-05) Sanya KhunkhaoLow frequency 3-100 kHz shot noise (white noise) emerging from photoinduced current in Mo/n-Si/Mo structures leaving undepleted region has been observed under different bias and optical intensity conditions. The measurements revealed that the current noise observed depends not only on the illumination intensity levels but also on bias voltage. The current noise observed is expressed as 2()2SqIωΓ= and analyzed, where I and2Γis the average current and noise factor, respectively. The measurements reveal that2Γhas strong bias dependence, lying to about unity corresponding to simple shot noise. Such experimental results are explained, stating that the reduction of crosscorrelation between drift and diffusion currents and autocorrelation of drift current component determining the level of noise occurs with decrease in SCR width bias-dependent. To explain the behavior of observed noise more properly, we propose, in addition to the mechanisms above, that the reduction in autocorrelation effect of each current component plays an important role to decrease the relevant noise to such extremely low levels.รายการ Photocurrent enhancement in silicon-based planar metal-semiconductor-metal(2549-11-09) Sanya Khunkhaoผลการเพิ่มขึ้นของกระแสแสงแบบตรง (DC photocurrent) ซึ่งเป็น สมบัติของตัวตรวจจับทางแสงโครงสร้างเชิงราบ โลหะ-สารกึ่งตัวนำ-โลหะ จากรอยต่อแบบช็อตต์คีย์สองรอยต่อเชิงราบระหว่างโมลิบดีนัม/ซิลิคอน (Mo/Si) บนฐานรองซิลิคอนชนิดเอ็น (n-type)มีสภาพความต้านทาน 9-12 Ωcm โดยมีระยะห่างระหว่างขั้วไฟฟ้าเท่ากับ 20 μm การวัดสมบัติระหว่าง กระแสกับแรงดันภายใต้ความเข้มแสงย่าน visible light แสดงถึงการเพิ่มขึ้น ในกระแสแสงอย่างรวดเร็วที่แรงดันไบอัสสูง และผลจากสมบัติของกระแส กับแรงดันที่ขึ้นกับอุณหภูมิ (Temperature dependence) และการวัดสัญญาณ รบกวน พบว่ากระแสแสงนั้นมีการเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลของการทวีคูณแบบอะ วาลันซ์ จากประจุพาหะที่เกิดขึ้นที่ภายในรอยต่อช็อตต์คีย์ที่ขั้วไฟฟ้าด้านที่ ได้รับการไบอัสย้อนกลับ นอกจากนั้นจากการทดสอบวัดการตอบสนองของ สัญญาณไฟฟ้าแบบสลับที่ความถี่ต่ำ 10kHz และ 50kHz พบว่าเฟคเตอร์ของ การทวีคูณ(Multiplication factor) มีมากเกินกว่า 100 ที่ความถี่ 10kHz และ 30 ที่ความถี่ 50kHzรายการ การประยุกต์ใช้หลักการซิกซ์ซิกมาเพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดจากระบบเติมหมึก(2550) สุพัฒตรา, เกษราพงศ์; สิทธา, จงรักษ์; ธนนท์, เพ็ชรขาว; เสริมศักดิ์, ศักดิ์สุริยางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการควบคุมคุณภาพในการลดของเสียที่เกิดจากระบบเติมหมึกโดยใช้หลักการซิกซ์ซิกมา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ การกำหนดนิยามของปัญหา (Define), การวัดเพื่อกำหนดหาสาเหตุของปัญหา (Measure), การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze), การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ (Improve) และการควบคุมตัวแปร (Control) ขั้นตอนเริ่มต้นของการศึกษาได้ทำการศึกษาความแม่นยำและความถูกต้องของระบบการวัด การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยแผนภาพแสดงเหตุและผล หาความรุนแรงของปัญหาด้วย FMEA ทำการปรับปรุงเพื่อลดสัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นเพียง 80% แรกของสาเหตุทั้งหมด และจัดทำมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหา หลังจากปรับปรุงคุณภาพพบว่าสัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการลดลงในตลับหมึกรุ่น HPC6615A และ HP51645A จาก 73,276 PPM เป็น 33,245 PPM เมื่อเปรียบเทียบในระดับ สามารถปรับปรุงจาก 2.96 เป็น 3.33, ตลับหมึกรุ่น HPC8727A และ HPC6656A จาก 70,513 PPM เป็น 45,249 PPM เมื่อเปรียบเทียบในระดับ สามารถปรับปรุงจาก 2.96 เป็น 3.18, ตลับหมึกรุ่น HPC8728A และ HPC6657A จาก 146,667 PPM เป็น 87,819 PPM เมื่อเปรียบเทียบในระดับ สามารถ