EGI-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู EGI-06. ผลงานวิจัย โดย ผู้เขียน "เพชร นันทิวัฒนา คทา จารุวงษ์รังสี ปรีชา กอเจริญ และ เติมพงษ์ ศรีเทศ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย เพื่อการเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มสำหรับหมู่บ้านเสี่ยงภัยพื้นที่ลุ่มน้ำ(รายการ“เดินหน้าปฏิรูป” ทาง NBTและ ททบ.5, 2561) เพชร นันทิวัฒนา คทา จารุวงษ์รังสี ปรีชา กอเจริญ และ เติมพงษ์ ศรีเทศพื้นที่ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทยหลายแห่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุทกภัย ดินถล่ม มีหมู่บ้านที่ถูกประกาศเป็นหมู่บ้านเสี่ยงภัยของกรมทรัพยากรธรณีหลายหมู่บ้าน หนึ่งในนั้นคือพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก มีเหตุการเกิดภัยพิบัติในนิเวศน์ของลุ่มน้ำป่าสักที่ส่งผลต่อความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาเช่น การเกิดดินถล่มแบบเลื่อนไหลที่บ้านธารทิพย์ อ.หล่มสัก บ้านโพธิ์เงิน อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 มีผู้เสียชีวิต 10 คน สูญหาย 2 คน บ้านเรือนเสียหาย 363 หลัง พื้นที่การเกษตรและปศุสัตว์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ที่ตำบลน้ำก้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 136 คน สูญหาย 4 คน บาดเจ็บ 109 คน บ้านเรือนเสียหาย 188 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 441 หลัง และในวันที่ 10 กันยายน 2550 เกิดอุทกภัยเนื่องจากฝนตกลงมาอย่างหนักนานกว่า 2 ชั่วโมงโดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลโป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย จึงน้ำป่าไหลทะลักในเขตลุ่มน้ำพุง ต.โป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย และต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 6 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 80 หลังคาเรือน จากปัญหาภาวะวิกฤติการเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ต้นน้ำป่าสักในอดีต ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ต้นน้ำป่าสักเป็นพื้นที่ภัยพิบัติที่มีอัตราการเกิดที่สูงมากพื้นที่หนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะภัยพิบัติจากปัญหาน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่ม จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ปัจจัยการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำที่นำมาสู่ความรุนแรงมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ 1) พื้นที่ลาดชันเกินกว่า 30 % ส่งผลทำให้การไหลของน้ำรวดเร็ว 2) โครงสร้างของหินและดินที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้สูง 3) สภาพป่าพืชพันธุ์และสภาพการใช้ที่ดิน เช่นการดูดซับน้ำป่าและการยึดหน้าดิน และ 4) ปริมาณน้ำฝน หากฝนตกมากกว่า 90 – 100 ลบ.มม.ต่อวัน จะทำให้ลุ่มน้ำป่าสักเกิดน้ำป่าไหลหลากได้เพราะดินอุ้มน้ำไม่ทัน ซึ่งลุ่มน้ำป่าสักมีปัจจัยส่วนใหญ่อยู่แล้ว คือปัจจัยที่ 1 ถึง 3 ปัจจัยข้อที่ 4 เป็นปัจจัยทางธรรมชาติซึ่งหากครบองค์ประกอบจะทำให้เกิดภัยพิบัติได้โดยง่ายและเป็นความเสี่ยงเฉพาะพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดภัยพิบัติได้ตลอดเวลา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจึงจัดทุนสนับสนุนโครงการ มหาวิทยาลัยช่วยเหลือสังคมที่ประสบอุทกภัย นำความรู้ทางวิชาการมาออกแบบกิจกรรมหรือคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูสภาพชุมชนหลังประสบอุทกภัย สร้างเครือข่ายอาสาสมัครนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในการจัดการและรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยในอนาคต จากโครงการดังกล่าว ผู้ประดิษฐ์คิดค้นจึงประดิษฐ์เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายเพื่อการเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มสำหรับหมู่บ้านเสี่ยงภัยพื้นที่ลุ่มน้ำ มอบให้แก่อาสาสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อนำไปติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวนสองครั้ง คือปีพ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557รายการ แพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์ส สาธิตผ่านระบบพิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ(สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2561) เพชร นันทิวัฒนา คทา จารุวงษ์รังสี ปรีชา กอเจริญ และ เติมพงษ์ ศรีเทศแพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์สนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้นักพัฒนาไทยข้ามผ่าน “กำแพงความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเฉพาะทาง” ที่ขวางกั้นระหว่าง “ความคิดสร้างสรรค์” กับ “นวัตกรรม” ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในที่นี้ นักพัฒนาที่อาจขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็น เพียงมีทักษะทางด้านการโปรแกรมระดับหนึ่งก็สามารถต่อยอดผลงานเชิงนวัตกรรมจากแพลตฟอร์มดังกล่าวได้โดยง่าย แพลตฟอร์มนี้ประกอบไปด้วยทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ ซึ่งเปิดเผยให้นักพัฒนาใช้พัฒนางานได้ทั้งหมดแบบโอเพ่นซอร์ส ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีพคอมมอนส์