EGI-06. ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 21
  • รายการ
    พาราโรบอท: ต้นแบบหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งท่อนล่าง
    (Sripatum University, 2560) วนายุทธ์ แสนเงิน
    พาราโรบอทหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับคนพิการอัมพาตครึ่งท่อนล่าง ได้ออกแบบสำหรับการใช้งานเฉพาะด้านสำหรับครึ่งท่อนล่าง โดยผู้สวมใส่ท่อนบนปกติ ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ตามรูปแบบการเคลื่อนไหว ฟังก์ชั่นการลุกนั่ง การก้าวเดิน สามารถสั่งการด้วยปุ่มกดจากไม้เท้าค้ำยัน
  • รายการ
    การศึกษาและทดสอบการตอบสนองต่ออิมพัลส์ฟ้าผ่าของระบบรากสายดิน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สำเริง ฮินท่าไม้
    ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและทดสอบการตอบสนองต่ออิมพัลส์ฟ้าผ่าของระบบรากสาย ดิน โดยพิจารณาชนิดของดินและขนาดของกระแสฟ้าผ่าที่มีผลต่อความต้านทานดินอิมพัลส์ โดย การทดสอบการตรวจวัดค่าความต้านทานดินที่ความถี่กำลังด้วยเครื่องวัดความต้านทานดินด้วย วิธีการวัดแบบ 3 จุดและทำ การทดสอบการตรวจวัดค่าความต้านทานดินอิมพัลส์ด้วยเครื่องจำลอง กระแสฟ้าผ่าแล้วนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานดินอิมพัลส์กับความต้านทานดินที่ ความถี่กาลัง
  • รายการ
    แพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์ส สาธิตผ่านระบบพิพิธภัณฑ์อัจฉริยะ
    (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2561) เพชร นันทิวัฒนา คทา จารุวงษ์รังสี ปรีชา กอเจริญ และ เติมพงษ์ ศรีเทศ
    แพลตฟอร์มพัฒนาระบบสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็นแบบโอเพ่นซอร์สนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้นักพัฒนาไทยข้ามผ่าน “กำแพงความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเฉพาะทาง” ที่ขวางกั้นระหว่าง “ความคิดสร้างสรรค์” กับ “นวัตกรรม” ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในที่นี้ นักพัฒนาที่อาจขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสื่อสารผ่านแสงที่มองเห็น เพียงมีทักษะทางด้านการโปรแกรมระดับหนึ่งก็สามารถต่อยอดผลงานเชิงนวัตกรรมจากแพลตฟอร์มดังกล่าวได้โดยง่าย แพลตฟอร์มนี้ประกอบไปด้วยทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ ซึ่งเปิดเผยให้นักพัฒนาใช้พัฒนางานได้ทั้งหมดแบบโอเพ่นซอร์ส ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีพคอมมอนส์
  • รายการ
    เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย เพื่อการเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มสำหรับหมู่บ้านเสี่ยงภัยพื้นที่ลุ่มน้ำ
    (รายการ“เดินหน้าปฏิรูป” ทาง NBTและ ททบ.5, 2561) เพชร นันทิวัฒนา คทา จารุวงษ์รังสี ปรีชา กอเจริญ และ เติมพงษ์ ศรีเทศ
    พื้นที่ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทยหลายแห่งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุทกภัย ดินถล่ม มีหมู่บ้านที่ถูกประกาศเป็นหมู่บ้านเสี่ยงภัยของกรมทรัพยากรธรณีหลายหมู่บ้าน หนึ่งในนั้นคือพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก มีเหตุการเกิดภัยพิบัติในนิเวศน์ของลุ่มน้ำป่าสักที่ส่งผลต่อความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาเช่น การเกิดดินถล่มแบบเลื่อนไหลที่บ้านธารทิพย์ อ.หล่มสัก บ้านโพธิ์เงิน อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 มีผู้เสียชีวิต 10 คน สูญหาย 2 คน บ้านเรือนเสียหาย 363 หลัง พื้นที่การเกษตรและปศุสัตว์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ที่ตำบลน้ำก้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 136 คน สูญหาย 4 คน บาดเจ็บ 109 คน บ้านเรือนเสียหาย 188 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 441 หลัง และในวันที่ 10 กันยายน 2550 เกิดอุทกภัยเนื่องจากฝนตกลงมาอย่างหนักนานกว่า 2 ชั่วโมงโดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลโป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย จึงน้ำป่าไหลทะลักในเขตลุ่มน้ำพุง ต.โป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย และต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 6 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 80 หลังคาเรือน จากปัญหาภาวะวิกฤติการเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ต้นน้ำป่าสักในอดีต ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ต้นน้ำป่าสักเป็นพื้นที่ภัยพิบัติที่มีอัตราการเกิดที่สูงมากพื้นที่หนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะภัยพิบัติจากปัญหาน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่ม จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ปัจจัยการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำที่นำมาสู่ความรุนแรงมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ 1) พื้นที่ลาดชันเกินกว่า 30 % ส่งผลทำให้การไหลของน้ำรวดเร็ว 2) โครงสร้างของหินและดินที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้สูง 3) สภาพป่าพืชพันธุ์และสภาพการใช้ที่ดิน เช่นการดูดซับน้ำป่าและการยึดหน้าดิน และ 4) ปริมาณน้ำฝน หากฝนตกมากกว่า 90 – 100 ลบ.มม.ต่อวัน จะทำให้ลุ่มน้ำป่าสักเกิดน้ำป่าไหลหลากได้เพราะดินอุ้มน้ำไม่ทัน ซึ่งลุ่มน้ำป่าสักมีปัจจัยส่วนใหญ่อยู่แล้ว คือปัจจัยที่ 1 ถึง 3 ปัจจัยข้อที่ 4 เป็นปัจจัยทางธรรมชาติซึ่งหากครบองค์ประกอบจะทำให้เกิดภัยพิบัติได้โดยง่ายและเป็นความเสี่ยงเฉพาะพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดภัยพิบัติได้ตลอดเวลา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจึงจัดทุนสนับสนุนโครงการ มหาวิทยาลัยช่วยเหลือสังคมที่ประสบอุทกภัย นำความรู้ทางวิชาการมาออกแบบกิจกรรมหรือคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูสภาพชุมชนหลังประสบอุทกภัย สร้างเครือข่ายอาสาสมัครนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในการจัดการและรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยในอนาคต จากโครงการดังกล่าว ผู้ประดิษฐ์คิดค้นจึงประดิษฐ์เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สายเพื่อการเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มสำหรับหมู่บ้านเสี่ยงภัยพื้นที่ลุ่มน้ำ มอบให้แก่อาสาสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อนำไปติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวนสองครั้ง คือปีพ.ศ. 2556 และปี พ.ศ. 2557
  • รายการ
    ผลกระทบของระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในระบบจำหน่ายแบบมัลติเฟส
    (Sripatum University, 2560) ภรชัย จูอนุวัฒนกุล
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีผลต่อระบบจำหน่ายแบบมัลติเฟสทั้งทางด้านสแตติกและไดนามิก โดยจำลองสถานการณ์แบบสแตติกของระบบจำหน่ายแบบมัลติเฟสเพื่อทำการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ณ บัสที่อ่อนแอที่สุดในระบบโดยใช้ดัชนีวีอาร์ไอ และหาผลกระทบของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ต่อระดับแรงดันไฟฟ้าที่บัส ค่าความสูญเสียของกริด โหลดดิ่งแฟคเตอร์สูงสุดและเปอร์เซ็นต์แฟคเตอร์ความไม่สมดุลของแรงดันไฟฟ้า แล้วทำการเพิ่มระดับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยพิจารณาถึงระดับแรงดันไฟฟ้าที่บัส ขณะที่ระดับแรงดันไฟฟ้าที่แต่ละบัสอยู่ในขอบเขตของแรงดันไฟฟ้า 0.95-1.05 เปอร์ยูนิต หลังจากนั้นนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์แบบสแตติกมาจำลองสถานการณ์แบบไดนามิก เพื่อหาผลกระทบของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาต่อระดับแรงดันไฟฟ้าที่บัส This research studies the impact of photovoltaic (PV) systems on multiphase distribution networks in case of static and dynamic analyses. Firstly, static simulations are performed in the IEEE multiphase 34 node test feeder to install PV systems at the weakest bus using bus voltage ranking indices (VRI) and the impacts of PV systems on voltage profile, grid loss, maximum loading factor and percent of voltage unbalance factor are investigated. Then, PV penetration levels are increased by evaluating their impacts on voltage profile while considering the voltage limits at all buses in the range of 0.95-1.05 per unit. After that, the simulation results from static analysis are applied to dynamic simulations to highlight the impact of PV systems based on the generation profile on voltage profiles.
  • รายการ
    การออกแบบและพัฒนาชุดโครงหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับ ผู้ทุพพลภาพครึ่งท่อนล่าง
    (Sripatum University, 2560) วนายุทธ์ แสนเงิน
    ชุดต้นแบบโครงหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับผู้ทุพพลภาพครึ่งท่อนล่าง วัตถุประสงค์หลักได้ออกแบบสำหรับผู้ที่ไร้ความรู้สึกครึ่งท่อนล่าง ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ตามรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ได้บันทึกไว้จากคนปกติ ประกอบไปด้วยระบบควบคุมสามฟังก์ชั่นการทำงานคือ การลุกนั่งในลักษณะท่าทางนั่งบนเก้าอี้ การก้าวเดินในลักษณะท่าทางการยืน และการเดินในลักษณะการเดินต่อเนื่องสามารถสั่งการด้วยสวิทช์จากไม้เท้าค่ำยัน โดยชุดหุ่นยนต์มีน้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม ปฏิบัติงานได้ไม่ต่ากว่า 180 นาที สามารถรองรับผู้สวมใส่น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลกรัม ส่วนสูง 150-180 เซนติเมตร ความเร็วสูงสุดเฉลี่ยไม่เกิน 0.25 เมตรต่อวินาที ภายใต้ระบบควบคุมสมองกลฝังตัวแบบแยกส่วนแบ่งเป็นตัวประมวลผลหลัก สำหรับประมวลผลรูปแบบการเดิน (Gait pattern) และตัวประมวลผลรองจานวน 4 ชุด สาหรับควบคุมส่วนสะโพกและข้อเข่าทั้งสองข้าง โดยระบบควบคุมตาแหน่งองศาของการเคลื่อนที่ ด้วยตัวควบคุมพีไอดี โดยระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างตัวประมวลทั้งหมดผ่านการสื่อสารแบบ RS485 ในการทดลองทำการอ่านข้อมูลตำแหน่งการเคลื่อนไหวจากคนปกติ (เพศชาย สูง173 เซนติเมตร น้ำหนัก 73 กิโลกรัม) มีระยะการก้าวเดินเฉลี่ย 25 เซนติเมตรต่อการก้าวเดิน ความเร็วเฉลี่ย 0.15 เมตรต่อวินาที โดยระบบควบคุมหลักประมวลผลตำแหน่งการเคลื่อนไหวและส่งข้อมูล ตำแหน่งไปยังตัวควบคุมย่อย ให้ควบคุมตำแหน่งองศาการเคลื่อนที่ของส่วนสะโพกและข้อเข่า โดยสามารถควบคุมการตำแหน่งได้ตรงตามต้องการ ซึ่งมีค่าองศาผิดพลาดของตำแหน่งส่วนของสะโพกเฉลี่ยเท่ากับ 8 องศา และค่าองศาผิดพลาดของตำแหน่งส่วนของสะโพกเฉลี่ยเท่ากับ 12 องศา The prototype of an exoskeleton robot for lower limb assistance is developed for serving who is paralysis lower limb or muscle weak that assist to step walk and sit up/down. The author is called WAR (Walking Assist Robot). In this research, the gaitpattern data is archived from the gait normal by human. Three function of step walk are proposed in this research. First, sit up/down function with sit on chair, second, step walk with single phase walking, third, walk pattern with continue walking that function can operate to control by the switch button on the cane. The WAR specification is weight about 25 kg. and the life time of robot operation at least 180 min. It can support the user which is maximum weight 90 kg. and height in range of 150 cm. to 180 cm.The maximum velocity is 0.25 m/sec. The embedded system is applied in order to control with a master controller and four slave controllers, the angle position of gait pattern is computed by a master controller and the slave controller is computed to control the position of hip joint and knee joint of both legs. The data communication between them is performed by using RS485 serial communication. In the experiment,the motion recording from a gait normal person (Male, height 173 cm. weight 73 kg.) is obtained the average distance of step walking is 0.25 meter per a single phase the average velocity is 0.15 m/sec. The distributed control, the PID control is performed to control the position of angle for each joint. As the results, it can achieved to control the position of angle for hip joint and knee joint. The average of position error is 8 degree at hip joint and 12 degree at knee joint.
  • รายการ
    การบำรุงรักษาเชิงป้องกันด้วยการวิเคราะห์สเปกตรัมกระแสของมอเตอร์
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขา วิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วรัญญู บุญเพ็ญ; ภัทรธีระ จัยสิน
    โครงงานนี้ได้นำเสนอวิธีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับมอเตอร์ด้วยการวิเคราะห์สเปกตรัมกระแส โดยการนำสัญญาณกระแสในเทอมของเวลามาแปลงด้วยฟูเรียร์ให้อยู่ในเทอมของความถี่ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณความถี่ต่ำที่ได้จะแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโรเตอร์ของมอเตอร์ ส่วนสัญญาณย่านความถี่สูงจะแสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสเตเตอร์และแบร์ริ่งในที่นี้ได้นำมาทำการทดสอบกับมอเตอร์ขนาด 45 กิโลวัตต์ 380 โวลต์ 6 ขั้ว ใช้สำหรับในการควบคุมปั๊มน้ำมันและมอเตอร์ขนาด 11 กิโลวัตต์ 380 โวลต์ 2 ขั้ว ใช้สำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย จากผลการวิเคราะห์สัญญาณกระแสพบความผิดปกติเกิดขึ้นกับโรเตอร์ที่ความถี่ 48 และ 52.2 เฮิรตซ์ และความผิดปกติเกิดขึ้นกับแบร์ริ่งของมอเตอร์ที่ความถี่ 150 เฮิรตซ์ และเมื่อมีการตรวจซ่อมก็พบว่าโรเตอร์ของมอเตอร์เกิดรอยแตกที่มุมของโรเตอร์จริงและแบร์ริ่งของมอเตอร์เกิดรอยที่วงแหวนด้านนอกเช่นกัน ซึ่งตรงกับผลการวิเคราะห์สัญญาณกระแสที่ได้
  • รายการ
    การทดสอบและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว สำหรับสถานการณ์น้ำท่วม
    (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ภาคภูมิ ภู่สอาด; ภาณุวัฒน์ ศรีเมือง; จรัส สถาพรนุวงศ์
    โครงงานการทดสอบและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วไหลสำหรับสถานการณ์น้ำท่วมเป็นการนำเสนอการทดสอบ ออกแบบ และการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วไหลสำหรับสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้อุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้นกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยส่วนประกอบหลักของโครงงานนี้จะแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนของการทดสอบอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจำนวน 3 วงจร ส่วนของการวิเคราะห์หาข้อดีและขอเสียของอุปกรณ์ที่ทำการทดสอบ และส่วนของการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ขึ้นใหม่ หลักการทำงานเบื้องต้นของอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนา คือ เมื่อนำอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาจุ่มลงในน้ำ ถ้าตรวจพบกระแสไฟฟ้ารั่วไหล กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านโพรบเข้าสู่ IC วงจรคอมพาราเตอร์ เพื่อเปรียบเทียบแรงดันที่ได้ จากนั้น IC จะส่งสัญญาณไปยังทรานซิสเตอร์เพื่อขยายสัญญาณที่ได้รับออกทางลำโพง และแสดงผลไปยังหลอด LED โดยพื้นที่ทำการทดสอบคือห้องทดลองแลปอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบันทึกผลและสรุปผลการทดลอง
  • รายการ
    การออกแบบและควบคุมเครื่องกัดชนิด 3 แกน
    (2555) วิทยา พันธ์เจริญศิลป์
    การสร้างและออกแบบเครื่องกัดชนิด 3 แกน ซึ่งใช้สำหรับการทดลอง โดยการเคลื่อนที่ถูกขับด้วยดีซีเซอร์โวมอเตอร์ชนิดแม่เหล็กถาวร โดยมี PWM เ ป็นชุดขับเคลื่อนมอเตอร์ในแต่ละแกน การควบคุมการเคลื่อนที่เป็นแบบลูปปิด โดยมีคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ควบคุมแบบ พี.ไอ. ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น Pentium-150 MHZ การควบคุมเป็นการสร้างโปรไฟล์คำสั่งเพื่อใช้ในการควบคุมสองแบบคือแบบแรกเป็นแบบ ความเร่งคงที่-ความหน่วยคงที่ และแบบที่สอง ความร่งคงที่-ความเร็วคงที่-ความหน่วยคงที่ โดยค่าของความเร็วและความเร่งในการควบคุมสามารถเปลี่ยนค่าได้...
  • รายการ
    การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับการลงทะเบียนเรียนของ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    (2555) ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล
    ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุมมีคณะและภาควิชาที่เปิดสอนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละสาขาวิชามีนักศึกษาเป็นจำนวนมากด้วย ภาวะข้างต้นทำให้เกิดปัญหาเฉพาะอย่างหนึ่งคือ “การลงทะเบียนของนักศึกษา” ปัญหานี้เกิดจาก 1.การลงทะเบียนของนักศึกษาแต่ละคน อาจจะไม่ได้ลงตามแบบแผนของหลักสูตรที่กำหนดไว้ จึงเป็นการยากที่จะให้ภาควิชาสามารถสนองความต้องการของนักศึกษาแต่ละคนได้ 2.การลงทะเบียนล่วงหน้าจะเริ่มก่อนที่ภาควิชาจะประกาศผลการเรียนของนักศึกษาทำให้เกิดปัญหาในกรณีที่นักศึกษาสอบไม่ผ่านในรายวิชาที่เป็นวิชาบังคับก่อน...
  • รายการ
    การพัฒนาการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว โดยใช้หลักการให้โครงสร้างมีความเสียหายคงที่
    (2555) ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
    การพัฒนากราฟการออกแบบ Design Spectra สำหรับการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวแนวทางใหม่ในการวิจัยนี้ อาศัยหลักการของความเสียหายคงที่ โดยได้คำนวณจากคลื่นแผ่นดินไหว จำนวน 134 คลื่น ซึ่งได้บันทึกบนสภาพธรณีวิทยา 3 ประเภท คือก) สภาพชั้นหิน ข) สภาพชั้นดินตะกอน และ ค) สภาพชั้นดินอ่อน โดยที่ระบบโครงสร้างแต่ละอาคารพิจารณา Single-Degree-Of-Freedom (SDOF) และได้แบ่งระบบโครงสร้างออกเป็น 2 ประเภทตามพฤติกรรมของ Hysteretic Behavior คือ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างเหล็ก กราฟการออกแบบสามารถแสดงอยู่ในรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยจำแนกออกได้เป็น 2 วิธี คือ 1. ตัวประกอบของการลดกำลังของ Yield Strength สำหรับระดับความเสียหายที่ 2. การคำนวณ Design Spectra สำหรับระดับความเสียหายคงที่ โดยวิธีตรง จากกราฟการออกแบบที่เสนอในรูปของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ วิศวกรผุ้ออกแบบสามารถคำนวณหาความต้องการกำลัง ของโครงสร้างได้โดยการกำหนดค่าระดับความเสียหายที่เหมาะสม สำหรับพฤติกรรมของ Hysteretic Behavior ของแต่ละโครงสร้าง สำหรับค่าอ่อนเหนียว, ค่าคาบการสั่นตามธรรมชาติ และสภาพธรณีวิทยาแต่ละแห่ง...
  • รายการ
    การประเมินแรงเสียดทานในแบริ่งโดยใช้ ตัวกรองคาลมานแบุม.บขยาย
    (2555) โอภาส โกมลวัฒนาพาณิชย์
    แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในทุกระบบทางกลเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ พฤติกรรมของแรงเสียดทานมีความสลับซับซ้อน ไม่สามารถวัดค่าได้โดยตรง และ ยากที่จะคาดคะเน งานวิจัยนี้ได้เสนอกระบวนการประมาณค่า แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นในระบบทางกล โดยใช้ตัวกรองคาลมานแบบขยายและศึกษาถึงสมรรถนะของระบบ เมื่อมีการชดเชยแรงเสียดทานจากการประมาณค่าด้วยตัวกรองคาลมานแบบขยาย...
  • รายการ
    การนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมใช้ทำเสาเอ็น-คานทับหลัง สำหรับผนังก่ออิฐ-ฉาบปูน
    (2555) ไพจิตร ผาวัน
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาเสาเอ็น คานทับหลังสำเร็จรูป สำหรับงานผนังก่ออิฐ ฉาบปูนในงานก่อสร้างอาคาร 2)ศึกษาวิธีการก่อสร้างผนังก่ออิฐฉาบปูนด้วยเสาเอ็นคานทับหนังแบบหล่อในที่และ 3) เพื่อปรับปรุงผลผลิตด้านการจัดการโดยใช้เทคนิคประเมินการทำงานที่หน้างานแบบการประเมินหน้าที่ (Field Rating) และการประเมินค่าอัตราผลผลิต (Productivity Rating) เพื่อวัดระดับการทำงานเทียบกับมาตรฐาน...
  • รายการ
    การศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า บริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง
    (2555) สำเริง ฮินท่าไม้
    ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงในระดับแรงดัน 24 และ 69 KV ด้วยการสุ่มวัด โดยพิจารณาตามรูปแบบการจัดเรียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงตามที่มีใช้งาน และนำผลที่ได้จากการตรวจวัดไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางแม่เหล็กไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้จากการตรวจวัดไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางแม่เหล็กไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้ทำการคำนวณปริมาณสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงตามหลักการสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าคงตัว เพื่อนำเสนอแนวทางการลดปริมาณสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า…
  • รายการ
    การหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำสุดในระบบไฟฟ้าที่มีต้นทุนการผลิตไม่ต่อเนื่องด้วยวิธีการเคลื่อนตัวของอนุภาคที่เหมาะสมที่สุด
    (2555) กีรติ ชยะกุลคีรี
    งานวิจัยเป็นการนำเสนอวิธีการคำนวณหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด(Optimal Power Flow) ซึ่งวัตถุประสงค์ของการหาคำตอบในที่นี้คือการสั่งงเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและการปรับแท็บของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังให้ได้ต้นทุนการผลิตต่ำสุดโดยพิจารณาให้ข้อมูลจำกัดของพิกัดกำลังของสายส่งและหม้อแปลงไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าที่บัส และอัตราการเพิ่มและลดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเส้นเชิง ในการวิจัยได้พัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการหาคำตอบของ OPF ที่มีข้อจำกัดกำลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ไหลได้ในสายส่ง...
  • รายการ
    การหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีข้อจำกัดฟัซซี่แบบไม่เป็นเชิงเส้น
    (2555) กีรติ ชยะกุลศิริ
    งานวิจัยนีเป็นการศึกษาวิธีการคำนวณหาคำตอบการไหลของกำลังไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimal Power Flow) โดยวิธีการคำนวณร่วมระหว่างวิธีการเคลื่อนตัวของอนุภาคที่เหมาะสม Particic swarm Optimization (PSO) และโปรแกรมเชิงเส้น quadratic Programming (QP) PSO-QP โดยพิจารณาถึงข้อจำกัดของส่ายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและข้อจำกัดช่วงกำลังการผลิตที่ไม่ต่อเนื่องของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Genertor Prohibited Zonc) โดยวิธีการ PSO-QP ได้มีการทดสอบกับระบบมาตรฐาน 30 บัสของ LEEE และระบบมาตรฐาน 118 บัสของ LEEE โดยจากการทดสอบการคำนวณพบว่าวิธีการ PSO-QP มีแนวโน้มที่จะพบเงื่อนไขการทำงานที่มีตุนทุนการผลิตต่ำที่สุดมากกว่าวิธีการ PSO …
  • รายการ
    การจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยศรีปทุม กรณีศึกษาอาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์
    (2555) ธนภัทร พรหมวัฒนภักดี
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงการจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยศรัปทุม โดยได้ทำการศึกษาอาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มาตรการที่แนะนำให้ดำเนินการปรับปรุงต้องมีระยะเวลาในการคืนทุนเร็ว...
  • รายการ
    ผลกระทบของเหล็กเสริมไม่ได้มาตรฐานที่มีต่อพฤติกรรมและกำลังขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงดัด
    (2555) ฉัตร สุจินดา
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของเหล็กเสริมไม่ได้มาตรฐานที่มีต่อพฤติกรรม และกำลังขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ในเชิงปริมาณ โดยการเก็บอย่างเหล็กเส้น จากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัย จำนวน 100 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อหาคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและมีผลกระทบต่อกำลังการรับแรงขององค์อาคาร จากนั้นได้ใช้เหล็กเส้นที่สุ่มซื้อจากร้านวัสดุก่อสร้าง ทั้งที่ได้มาตรฐาน และไม่ได้มาตรฐาน มาเสริมในชิ้นส่วนตัวอย่างคาน และพื้นทางเดียวที่จัดเตรียมในห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบหากำลังการรับแรงดัด...
  • รายการ
    ตัวคูณลดกำลัง สำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติในประเทศไทย
    (2555) ฉัตร สุจินดา
    ค่าของตัวคูณลดกำลัง ที่แนะนำในมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง วสท 1008-38 เป็นค่าที่อ้างอิงมาจากมาตรฐาน ACI 318-89 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งค่าตัวคูณลดกำลังเหล่านี้ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ของการกระจายของคุณภาพวัสดุและมาตรฐานการก่อสร้างของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นหากมีการศึกษาข้อมูลดังกล่าวสำหรับการก่อสร้างในประเทศไทย และได้นำมาใช้เป็นตัวกำหนดถึงค่าของตัวคูณลดกำลังสำหรับประเทศไทยเองโดยเฉพาะ ก็ย่อมจะมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้ค่าที่คัดลอกมาจากต่างประเทศ ในปัจจุบันได้มีการเสนอให้แบ่งการใช้ตัวคูณลดกำลังออกเป็นสองกรณีดังนี้ กรณีที่ 1 คือกรณีการก่อสร้างที่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังเหมือนในมาตรฐาน วสท 1008-38 ส่วนกรณีที่ 2 คือกรณีการก่อสร้างที่ไม่มีการระบุฯ ให้ใช้ค่าตัวคูณลดกำลังในอัตราส่วน 5/6 เท่าของที่ใช้สำหรับกรณีที่ 1 อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนี้ ไม่ปรากฏถึงที่มาอันเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือหลักฐานซึ่งแสดงถึงความเที่ยงตรงของค่าอัตราส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อเลือกตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสมสำหรับมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติของคุณภาพวัสดุและการก่อสร้างในประเทศไทย เพื่อนำไปใช้สำหรับกรณีที่ 2 คือกรณีการก่อสร้างที่ไม่มีการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างและการควบคุมคุณภาพวัสดุเป็นอย่างดี ซึ่งโครงสร้างในกรณีที่ 2 นี้ มักจะเป็นบ้านพักอาศัยหรืออาคารขนาดเล็ก ซึ่งข้อมูลทางสถิติดังกล่าวได้แก่ แรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้น และกำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ใช้ ขนาดของชิ้นส่วนโครงสร้างจริงและตำแหน่งของเหล็กเสริม ข้อมูลเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนของประชากรโครงสร้างที่ศึกษา จากนั้นได้สร้างแบบจำลองซึ่งมีพื้นฐานมาจากสูตรที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วนำไปทางการจำลองแบบมอนติคาโล โดยการสุ่มค่าของข้อมูลที่สมมุติให้มีลักษณะการกระจาย คล้ายกับข้อมูลทางสถิติของตัวอย่างที่เก็บมาได้ เพื่อหาการกระจายของความสามารถในการรับแรงของชิ้นส่วนโครงสร้างที่ศึกษา เมื่อนำมาคำนวณประกอบกับการกระจายของผลของน้ำหนักบรรทุก จะสามารถหาค่าดัชนีความเชื่อมั่น ซึ่งตัวคูณลดกำลังที่เหมาะสมคือค่าที่ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเป้าหมายซึ่งได้มาจากการสอบเทียบใหม่ของมาตรฐาน ACI318 จากการศึกษาครั้งนี้ได้ค่าตัวคูณลดกำลังสำหรับโมเมนต์ดัดในคาน 0.80 และเฉือนในคาน 0.87 และแรงตามแนวแกนในเสาสั้นปลอกเดี่ยว 0.62 ซึ่งแตกต่างไปจากค่าที่กำหนดไว้ในกรณีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ แต่เนื่องจากค่าดังกล่าวได้มาจากข้อมูลที่จำกัด ดังนั้นจึงเสนอแนะให้หาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคต
  • รายการ
    An The Study to Factor of Temperature which Effect to Tensile Strength of Specimens
    (2555) Jakapan Gunha
    งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบหาค่าแรงต้านแรงดึงของชิ้นทดสอบที่ระดับอุณหภูมิ 3 ระดับและวัสดุที่ใช้ทำการทดสอบ เป็นวัสดุเหล็ก 3 ชนิดคือ เหล็กS25C, เหล็กS45C และRB12 กำหนดช่วงทดสอบที่ อุณหภูมิ 10 ํ C, 25 ํ C, 35 ํ C ที่เป็นอุณหภูมิอยู่ในที่ร่ม จะมีช่วงของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในประเทศไทย โดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงของบริษัท LLOYD LR150K Series ดึงชิ้นทดสอบตัวอย่างละ 5 ชิ้นทดสอบ ที่อุณหภูมิต่างๆกัน เมื่อได้ค่าแรงต้านแรงดึงของชิ้นทดสอบแล้วนำผลการ ทดสอบที่ได้ไปประมวลผลหาค่าความแปรปรวนโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Minitab version 14 การวิจัยใช้หลักการ การออกแบบการทดลองเพื่อการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์ (Design and Analysis of Experiment in Engineering) โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ Factorial เพื่อให้ทราบว่าวัสดุทั้ง 3 ชนิดความแตกต่างกันของช่วงอุณหภูมิมีผล ทำให้ความสามารถต้านแรงดึงของชิ้นทดสอบแตกต่างกันหรือไม่ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลจากการวิจัยทำให้ทราบว่า Interaction ระหว่าง Type of Spacemen และ Temperature มีผลทำให้ ค่าความแข็งแรงของชิ้นทดสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05และทราบว่าชิ้นทดสอบวัสดุเหล็ก RB12มี ความสามารถต้านแรงดึงมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยนี้ เป็นผลที่ได้จากการทดลองตาม ข้อกำหนดข้างต้นเท่านั้น แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด ก็ควรจะทำการทดลองใหม่