GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "กิตติภูมิ มีประดิษฐ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาความตระหนักในสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-05-22) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; kittipoom Mepradictการพัฒนาความตระหนักในสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการที่จะทำให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน มนุษย์และสิ่งแวดล้อมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางวิถีแห่งพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายและหนึ่งในนั้นคือวิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเป็นกระแสสังคมโลกที่สามารถทำให้การดำรงคงอยู่ของมนุษย์ท่ามกลางการแปรผันของระบบนิเวศทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์เป็นไปอย่างสันติและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต วิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียนก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการเติบโตอย่างสมดุลของธุรกิจโดยจะเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าทั้งในเรื่องการใช้งานผลิตภัณฑ์เต็มวงจร การแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่และการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุดซึ่งหมายถึงความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้ถูกพัฒนาและต่อยอดให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คำสำคัญ: ความตระหนักในสิ่งแวดล้อม,วิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียนรายการ การใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อพัฒนาประเทศชาติและสังคมไทย(มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม, 2565-06-16) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; kittipoom mepradictการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและรุนแรงของโลกในศตวรรษที่ 21 ทำให้ทุกประเทศต้องสร้างความอยู่รอดและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล หลายประเทศได้ออกนโยบายและกฎหมายเพื่อให้เกิดการดำเนินการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม ภาคธุรกิจและประชาสังคมไทยจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการการค้าที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนของประชาคมโลก เศรษฐกิจหมุนเวียนจะเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการใช้งานผลิตภัณฑ์เต็มวงจร มีการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่และต้องออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด เมื่อประเทศไทยนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจนี้ หากภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจและภาคประชาชนให้ความร่วมมือและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มที่ ประเทศไทยก็จะเดินหน้าสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนสังคมไทยจะได้รับผลกระทบเชิงบวกจากเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในด้านความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้านตัวเลือกในการบริโภคและด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคจะมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากการที่ต้นทุนในการบริโภคสินค้าและบริการที่ลดลงอีกด้วยรายการ วิชาศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างคนเก่งและคนดีออกสู่สังคมไทย(มาหาวิทยาลัยศรีปทุม Sripatum University, 2565-12-17) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; kittipoom Mepradictวิชาศึกษาทั่วไปคือหมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ให้พร้อมสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้เป็นบุคคลผู้ใฝ่รู้และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นผู้ตระหนักรู้ถึงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เป็นผู้ที่สามารถสร้างโอกาสและคุณค่าให้ตนเองและสังคม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก เป็นบุคคลที่ดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีจริยธรรมและยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ชาติกำเนิด ร่วมมือรวมพลัง เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสถาบันอุดมศึกษาต้องนำวิชาศึกษาทั่วไปร่วมสร้างผลลัพธ์ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความเก่งและความดีไปพร้อมๆกัน สามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตและวิถีความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตโดย (1) คนเก่งต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางมีโลกทัศน์กว้างไกลเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ (2) คนเก่งต้องมีทักษะแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) คนเก่งต้องมีทักษะการคิดแบบองค์รวม (4) คนเก่งต้องมีความฉลาดรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล (5) คนเก่งต้องใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (6)คนดีต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งการนำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาร่วมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (7) คนดีต้องมีความตระหนักและสำนึกในความเป็นไทย และ(8) คนดีต้องมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งทั้ง 8 ข้อดังกล่าวเสมือนเป็นตัวชี้วัดให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของวิชาศึกษาทั่วไปให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ทันสมัยเพื่อให้การผลิตคนเก่งและคนดีบรรลุผลตรงตามเจตนารมณ์และความต้องการของสังคมไทย สร้างบูรณาการในการบ่มเพาะให้เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ป้อนสู่สถานประกอบการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมสืบไป