GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 21
  • รายการ
    สงฆ์ : พุทธนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
    (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566-06-26) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwang
    บทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งขึ้นมา ในฐานะนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเรื่องการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งชุมชนสงฆ์ขึ้นมาครั้งแรก เพื่อเป็นชุมชนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และให้เป็นชุมชนแบบอย่างในการเรียนรู้ที่ยั่งยืน โดยทรงวางระเบียบวินัยและหลักธรรมต่างๆ การพัฒนาสังคมในปัจจุบันเพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงสามารถนำเอาแนวคิดและหลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในชุมชนสงฆ์มาประยุกต์ใช้กับสังคมในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the concept of the sangha in Buddhism, which was established by Lord Buddha as an innovative approach to sustainable learning. The research findings indicate that the concept of sustainable learning and lifelong learning is highly significant in today's society, which is a learning society that aligns with the concept of Sangha in Buddhism. Lord Buddha established the Sangha as the first monastic community with the goal of developing individuals into lifelong learners and serving as a model community MCU Congress 4th “Buddhism Innovation to Promote Sustainable Development" 199 for sustainable learning. The Sangha established discipline and moral principles to develop its members into individuals of learning and enable them to go out and develop other individuals, communities, or societies as learning entities. The current societal development towards becoming a learning society can therefore benefit from the teachings and principles laid down by Lord Buddha within the Sangha community, focusing on lifelong learning and sustainable learning.
  • รายการ
    แนวทางการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้า
    (Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ปริยา ศุภวงศ์; Pariya Subpavong
    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สอนพบนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากใบลาป่วยที่วินิจฉัย รับรองโดยแพทย์เฉพาะทาง นักศึกษากลุ่มนี้จะไม่สามารถรับความกดดันได้มากเท่ากับนักศึกษาปกติ แต่การเรียนการสอนทุกวิชาจำเป็นต้องมีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งความคาดหวังนี้นำไปสู่ความมุ่งมั่นในรูปแบบกติกาของผู้สอน ส่งผลให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่สามารถรับแรงกดดันนั้นได้ บทความนี้จึงจะขอนำเสนอแนวทางการเรียนการสอนที่เสริมความยืดหยุ่นด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) เป็นการผสานระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติเข้ากับการถ่ายทอดสด (Live-Streaming) ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings พร้อมแหล่งข้อมูลให้นักศึกษาทบทวนผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ (E-Learning) ด้วยโปรแกรม Learning Management System (LMS) แนวทางการเรียนการสอนนี้ จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สำหรับผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนด้านข้อมูลและเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างนุ่มนวลที่สุด ส่วนการประเมินผลจะมุ่งให้ข้อเสนอแนะที่ไม่ใช่การวิจารณ์ แนวทางการเรียนการสอนทั้ง 3 แบบ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักศึกษาเมื่อประสบปัญหาและต้องการเวลาในการปรับตัว 2) การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) จะช่วยทำให้การวางแผนการเรียนมีความยืดหยุ่น 3) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันในเชิงบวก ช่วยดึงความสามารถ และศักยภาพของนักศึกษาแต่ละบุคคลให้เปล่งประกาย การผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนทั้ง 3 แบบ ช่วยทำให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าสามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติได้ โดยไม่ต้องลาพักการเรียนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเดียว
  • รายการ
    แนวทางการเรียนการสอนเพื่อสอดแทรกพัฒนาความเมตตาตามแนวพระพุทธศาสนา
    (สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย(ควอท), 2566-03-24) ปริยา ศุภวงศ์; Pariya Subpavong
    โรคขาดความเมตตาของคนในยุคนี้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้การสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆน้อยลง ประกอบกับสภาวะที่ต้องแข่งขันเอาตัวรอดตลอดเวลากำลังสร้างมนุษย์ในอนาคตที่ขาดความ เห็นอกเห็นใจ บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอกระบวนวิธีพัฒนาความเมตตาแบบค่อยเป็นค่อยไปตามหลักพุทธศาสนา เพื่อลดปัญหาความรุนแรงทั้งที่แสดงออกมาทางกาย วาจา และใจ โดยนำมาสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนซึ่งสามารถใช้ได้กับการสอนทุกระดับชั้น แนวทางการเรียนการสอนนี้แบ่งช่วงเวลาเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตั้งเจตนาก่อนเริ่มกิจกรรม รวบรวมสมาธิให้ใจหยุดนิ่ง ให้ลมหายใจออกเป็นตัวเมตตา มีสติมั่นคง จิตอ่อนน้อมไปยังความสงบสันติ แล้วจึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ที่เน้น การมีส่วนร่วม ส่วนที่ 2 ดำเนินกิจกรรมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ให้นักเรียนนักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการมีส่วนร่วมในสังคมด้วยหลักธรรมพรหมวิหาร4 และสังคหวัตถุ4 ในทุกสถานการณ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งเวลาที่เป็นปกติ เวลาที่เดือดร้อน หรือเวลาที่ต้องสร้างประโยชน์ ส่วนที่ 3 หลังจบกิจกรรมให้ตั้งเจตนาอีกครั้งรวบรวมสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งให้ลมหายใจออกเป็นตัวเมตตา มีสติมั่นคง จิตอ่อนน้อมไปยังความสงบสันติที่จะสังเกตการกระทำของผู้อื่น สัมผัสถึงความรู้สึกของผู้อื่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น และทั้งหมดคือขั้นตอนที่ต้องฝึกอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถ ยับยั้งความโกรธ ความเกลียด ความอิจฉาริษยา ความเสียใจ และการแก้แค้นได้ อุปนิสัยเมตตาจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงจะช่วยให้การดำรงชีวิตมีทักษะพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวดเร็วในโลกศตวรรษที่ 21
  • รายการ
    วิชาศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างคนเก่งและคนดีออกสู่สังคมไทย
    (มาหาวิทยาลัยศรีปทุม Sripatum University, 2565-12-17) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; kittipoom Mepradict
    วิชาศึกษาทั่วไปคือหมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ให้พร้อมสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้เป็นบุคคลผู้ใฝ่รู้และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นผู้ตระหนักรู้ถึงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เป็นผู้ที่สามารถสร้างโอกาสและคุณค่าให้ตนเองและสังคม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก เป็นบุคคลที่ดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีจริยธรรมและยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ชาติกำเนิด ร่วมมือรวมพลัง เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสถาบันอุดมศึกษาต้องนำวิชาศึกษาทั่วไปร่วมสร้างผลลัพธ์ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความเก่งและความดีไปพร้อมๆกัน สามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตและวิถีความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตโดย (1) คนเก่งต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางมีโลกทัศน์กว้างไกลเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ (2) คนเก่งต้องมีทักษะแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) คนเก่งต้องมีทักษะการคิดแบบองค์รวม (4) คนเก่งต้องมีความฉลาดรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล (5) คนเก่งต้องใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (6)คนดีต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งการนำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาร่วมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (7) คนดีต้องมีความตระหนักและสำนึกในความเป็นไทย และ(8) คนดีต้องมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งทั้ง 8 ข้อดังกล่าวเสมือนเป็นตัวชี้วัดให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของวิชาศึกษาทั่วไปให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ทันสมัยเพื่อให้การผลิตคนเก่งและคนดีบรรลุผลตรงตามเจตนารมณ์และความต้องการของสังคมไทย สร้างบูรณาการในการบ่มเพาะให้เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ป้อนสู่สถานประกอบการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมสืบไป
  • รายการ
    การศึกษาความเป็นไปได้ของหญ้าเขียวสยามเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล อย่างยั่งยืน
    (วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2565-07-27) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; ธัญกร คำแวง; เพ็ญประภา สุวรรณะ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนักแห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
  • รายการ
    การใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุง
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2565-06-16) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; ธัญกร คำแวง; เติมสิน พิทักษ์สาลี
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงแก๊สโอโซนที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ เมื่อนำมาทดลองเปรียบเทียบกับเมล็ดข้าวสารที่ผ่านแก๊สโอโซนภายในระยะเวลาและข้อกำหนดที่เหมือนกัน เพื่อดูลักษณะทางกายภาพของเมล็ดข้าวสาร ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาหาความเหมาะสมของโอโซน เพื่อใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยใช้เครื่องกำเนิดโอโซนชนิดโคโรนาดิสชาร์จกำลังผลิต 2,000 มิลลิกรัมโอโซนต่อชั่วโมง พ่นแก๊สโอโซนใส่จุลินทรีย์และเมล็ดข้าวสาร จากการศึกษาพบว่า แก๊สโอโซนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีจำนวนเริ่มต้นที่ 1,300,000,000 CFU/ml หลังผ่านแก๊สโอโซน เชื้อลดลงเหลือ 4,800,000 CFU/ml ที่ระยะเวลา 20 นาที โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สโอโซนที่ 10 ลิตรต่อนาที และมีแนวโน้มในการลดลงของจำนวนเชื้อจุลินทรีย์เมื่อเพิ่มระยะเวลาในการทดสอบ ทั้งนี้ได้นำเมล็ดข้าวสารพันธุ์หอมมะลิ 105 มาผ่านกระบวนการเช่นเดียวกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ผลคือไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดข้าวสาร เช่น ความเปราะ การแตกหักและสีที่เปลี่ยนไป การทดลองด้วยวิธีนี้ทำให้เห็นความแตกต่างในการลดจำนวนจุลินทรีย์ภายในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับกระบวนการบรรจุถุงของข้าวสารที่นำเม็ดข้าวลำเลียงมาตามสายพานก่อนบรรจุถุง เพียงแต่เพิ่มกระบวนการผ่านแก๊สโอโซนเข้ามาเพื่อกำจัดจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดข้าวสารให้ลดลงหรือหมดไปโดยไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างในเมล็ดข้าวสาร เพราะโอโซนไม่เสถียรโดยสลายตัวเป็นออกซิเจนจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • รายการ
    การใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อพัฒนาประเทศชาติและสังคมไทย
    (มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม, 2565-06-16) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; kittipoom mepradict
    การปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและรุนแรงของโลกในศตวรรษที่ 21 ทำให้ทุกประเทศต้องสร้างความอยู่รอดและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล หลายประเทศได้ออกนโยบายและกฎหมายเพื่อให้เกิดการดำเนินการเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม ภาคธุรกิจและประชาสังคมไทยจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรการการค้าที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนของประชาคมโลก เศรษฐกิจหมุนเวียนจะเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการใช้งานผลิตภัณฑ์เต็มวงจร มีการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่และต้องออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด เมื่อประเทศไทยนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจนี้ หากภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจและภาคประชาชนให้ความร่วมมือและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเต็มที่ ประเทศไทยก็จะเดินหน้าสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนสังคมไทยจะได้รับผลกระทบเชิงบวกจากเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในด้านความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้านตัวเลือกในการบริโภคและด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น นอกจากนี้ผู้บริโภคจะมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากการที่ต้นทุนในการบริโภคสินค้าและบริการที่ลดลงอีกด้วย
  • รายการ
    พุทธทัศนะเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
    (วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2565-03-19) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwang
    บทความนี้ ผู้เขียนต้องการศึกษาถึงทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอหลักพุทธธรรมเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านงานนิพนธ์สำคัญของท่าน ผลการศึกษาพบว่า ผลงานหลักของท่านนอกเหนือจากการนำเสนอหลักพุทธธรรมที่บริสุทธิ์ ท่านยังได้วิเคราะห์ถึงแก่นแท้ของสภาพปัญหาของสังคมไทย ที่ได้พัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญสมัยใหม่ตามแบบอย่างสังคมตะวันตก จนปัจจุบันนี้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ สังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมตะวันตก นั่นคือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด(มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ โดยมีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครองและพิชิตธรรมชาติได้ การมองเพื่อนมนุษย์แบบแบ่งแยก และการมองจุดมุ่งหมายชีวิตของมนุษย์ว่า จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีวัตถุเสพบำเรอ ท่านจึงนำเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ อันมีสาระสำคัญอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงอิงอาศัยกันและกัน โดยต่างเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งจะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคลทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ทัศนะของท่านจึงเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งต่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่The purpose of this article is to study the Buddhist viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation and application Buddhadhamma for renewing modern Thai society by studying and analyzing through his important works. The result of this study shows that his main works, in addition to presenting the Buddhadhamma and also analyzed the essence of the problems of Thai society, that has developed the country into a modern civilization according to western society. Until now, Thai society is under the era of globalization. Therefore, Thai society today is not confronting problems due to globalization alone, which is only a matter of the era, but critical problem which is the basis of all other human problems, resulting from western civilization, that is “the problem of wrong basis of thoughts” or “the wrong paradigm”. He indicated that now culture is based on the belief that human is superior to nature, can overcome and control nature. Therefore, human can control, manage and consume nature. This wrong belief leads to the crisis of human and society in today. The world, now, is global and borderless but human’s mind is not. He has presented his Buddhist views with a Buddhist paradigm. Its essence is based on to see the truth that all things are related as cause and effect (dependent origination). In his opinion, the Buddhist paradigm will create a balance between body, mind, society and nature. It will lead to integration to make the sustainable and stable solution for man, society, and nature. His Buddhist viewpoint is alternative solution for renewing modern Thai society.
  • รายการ
    การพัฒนาความตระหนักในสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-05-22) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์; kittipoom Mepradict
    การพัฒนาความตระหนักในสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการที่จะทำให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน มนุษย์และสิ่งแวดล้อมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางวิถีแห่งพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายและหนึ่งในนั้นคือวิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเป็นกระแสสังคมโลกที่สามารถทำให้การดำรงคงอยู่ของมนุษย์ท่ามกลางการแปรผันของระบบนิเวศทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์เป็นไปอย่างสันติและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต วิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียนก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการเติบโตอย่างสมดุลของธุรกิจโดยจะเน้นเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าทั้งในเรื่องการใช้งานผลิตภัณฑ์เต็มวงจร การแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่และการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุดซึ่งหมายถึงความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้ถูกพัฒนาและต่อยอดให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คำสำคัญ: ความตระหนักในสิ่งแวดล้อม,วิถีชีวิตเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • รายการ
    สงฆ์ : แบบอย่างองค์กรแห่งการเรียนรู้
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwang
    บทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อบูรณาการกับแนวความคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งองค์กรสงฆ์ขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรหรือชุมชน ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และให้เป็นองค์กรแบบอย่างในการเรียนรู้ โดยทรงวางระเบียบวินัยและหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสมาชิกสงฆ์ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และสามารถออกไปพัฒนาบุคคลอื่น ชุมชนหรือสังคมให้เป็นบุคคลหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาองค์กรในปัจจุบัน เพื่อไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงสามารถนาเอาแนวคิดและหลักคาสอนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในองค์กรสงฆ์ มาประยุกต์ใช้กับองค์กรในปัจจุบันได้ โดยเน้นหัวใจของการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้คือ การพัฒนาบุคคลในองค์กรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไปThe purpose of this article is to study the conception of the sangha in Theravada Buddhism To integrate with the concept of a learning organization in today's society. The study found that the concept of a learning organization is consistent with the concept of the sangha in Theravada Buddhism. The Buddha established the sangha as an organization or community with the goal of developing the person to be a learning person and to be a model organization for learning by laying out various disciplines and the teachings in order to develop members of sangha to become learning person and can go out to develop other people community or society as a person or a learning society. Organization development to become a learning organization in today, therefore, the ideas and doctrines in Buddhism that the Lord Buddha has placed in the Sangha Organization can be applied to the current organization with emphasis on the development of a learning organization. The development of members in the organization to be a learning person in order to continue to develop the society into a learning society.
  • รายการ
    ความสอดคล้องระหว่างค่าเฉลี่ยรวมกับคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ของลูกค้าบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่พักอาศัย
    (สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) อำนาจ วังจีน; Amnart Vangjeen
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และน้ำหนักองค์ประกอบความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับที่ของค่าเฉลี่ยกับลำดับที่ของคะแนนองค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรวมกับคะแนนองค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และ 4) เปรียบเทียบผลการศึกษาความแตกต่างค่าเฉลี่ยและคะแนนองค์ประกอบความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ลูกค้าของธุรกิจบ้านและอาคารชุดสำหรับพักอาศัยประชากร คือ ลูกค้าที่พักอาศัยในบ้านจัดสรร ใช้ตัวอย่างจำนวน 1,800 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด ที่มีค่าความเที่ยงตรงมากกว่า 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.962 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติทดสอบ เอฟ และ สถิติทดสอบ ที ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ของลูกค้าบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่พักอาศัยมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุดส่วนประสมที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ รองลงมาเป็นด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านราคา และ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ได้ค่า KMO=0.953 ให้ค่า Approx. 2=11973.148 มีค่า P-value <0.001 ด้านที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดได้แก่ ด้านบุคคลหรือพนักงานในองค์กร รองลงมาเป็น ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้าน การส่งเสริมการตลาด โดยลำดับที่ของค่าเฉลี่ยไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับลำดับที่ของน้ำหนักองค์ประกอบ แต่ค่าเฉลี่ยรวมและคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps มีความสัมพันธ์กันสูงมาก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(r) เท่ากับ 0.992 และผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรวมและคะแนนองค์ประกอบของความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ระหว่างกลุ่ม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ให้ผลสอดคล้องกัน
  • รายการ
    เราคุ้มครองโลก โลกคุ้มครองเรา
    (หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-09-22) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsut
    วิกฤติความเสื่อมถอยของธรรมชาติที่เป็นผลมาจากน้ำมือของมนุษย์ ซึ่งนับวันมีแต่จะทวีความรุนแรง และคุกคามความอยู่รอดของมนุษยชาติอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากมนุษย์เราที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม อากาศเป็นพิเษ โลกร้อน ไฟป่า น้ำเสีย ได้กลับมาทบทวนดุลยภาพของธาตุทั้ง 4 และหันกลับมาช่วยกันดูแลคุ้มครองโลก ด้วยการยับยั้งการสร้างสารมลพิษและอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยมีความตระหนักรู้ในคุณค่าที่ธรรมชาติมอบให้เป็นรากฐานสำคัญแล้ว โลกซึ่งคุ้มครองเรามาอย่างเนิ่นนาน ก็จะมีโอกาสได้ฟื้นตัว กลับไปสู่ดุลยภาพ กลับคืนมามีศักยภาพที่จะนำพาความอยู่รอดมาให้กับมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนสืบไป ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราคุ้มครองโลก โลกก็จะคุ้มครองเราเช่นกัน
  • รายการ
    การเพิ่มหมู่ฟังก์ชันบนผิวถ่านชาร์จากหญ้าเนเปียร์โดยการออกซิไดซ์ด้วยโอโซนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของเหล็ก
    (มหาวิทยาล้ยศรีปทุม, 2562-06-28) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ; ธัญกร คำแวง
    การศึกษาการเพิ่มหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวของถ่านชาร์จากหญ้าเนเปียร์ โดยการออกซิไดซ์ด้วยโอโซน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับไอออนของเหล็กในน้ำ แล้วนำไปตรวจวัดพื้นผิวและความเป็นรูพรุนของสารตัวอย่างเท่ากับ 337.19 ตารางเมตรต่อกรัม นำถ่านชาร์ตัวอย่างมาบดแล้วไปออกซิไดซ์ด้วยโอโซนโดยใช้เวลา 0 30 60 90 และ 120 นาที แล้วนำไปตรวจสอบหมู่ฟังก์ชัน ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์ม อินฟราเรด สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ และวิธีการไทเทรตของโบห์ม จากนั้นนำถ่านชาร์ตัวอย่างไปแลกเปลี่ยนไอออน โดยการจุ่มชุ่มในสารละลายเฟอรัสคลอไรด์และตรวจวัดปริมาณการดูดซับไอออนของเหล็กโดยใช้อะตอมมิกแอพซอปชันสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ จากผลการทดลองพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณของหมู่ฟังก์ชันเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาที่ใช้ในการออกซิไดซ์เพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณการดูดซับไอออนของเหล็กจากถ่านชาร์ที่ไม่ผ่านการออกซิไดซ์นั้น สามารถดูดซับได้ 1.81 มิลลิกรัมของเหล็กต่อกรัมของถ่านชาร์ตัวอย่าง ส่วนถ่านชาร์ที่ผ่านการออกซิไดซ์ที่ 120 นาทีนั้น สามารถดูดซับได้ 4.83 มิลลิกรัมของเหล็กต่อกรัมของถ่านชาร์ตัวอย่าง ดังนั้นจึงสามารถนำถ่านชาร์จากหญ้าเนเปียร์ไปใช้ประโยชน์ในการดูดซับไอออนของเหล็กในน้ำประปา ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีสารเคมีตกค้างในกระบวนการผลิตน้ำประปา เพื่อให้ชุมชนได้ใช้น้ำที่สะอาดและปลอดภัย
  • รายการ
    การพัฒนาดัชนีวัดความไม่พึงพอใจของลูกค้าที่พักอาศัยในบ้านจัดสรร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) อำนาจ วังจีน; Amnart Vangjeen
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่พึงพอใจในปัญหาของบ้านจัดสรร น้ำหนักขององค์ประกอบปัญหาบ้านจัดสรรด้านต่างๆ ประชากร คือ ลูกค้าที่พักอาศัยในบ้านจัดสรร ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ใช้ตัวอย่างจำนวน 1,800 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ชุด มีค่าความเชื่อมั่น 0.962 สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา ปรากฎว่า ความไม่พึงพอใจในปัญหาของบ้านจัดสรร ทั้ง 5 องค์ประกอบสามารถอธิบายความผันแปรของปัญหาบ้านจัดสรร ได้ร้อยละ 76.49 มีค่า ไอเกน เท่ากับ 3.825 มีค่า KMO เท่ากับ 0.889 ค่า ไค-สแควร์ เท่ากับ 6895.71 มีค่า p น้อยกว่า 0.001 องค์ประกอบที่มีน้ำหนักมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านระบบสาธารณูปโภค รองลงมาเป็น บรรยากาศและสภาพแวดล้อม คุณภาพของบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวกและส่วนกลาง และ ระบบรักษาความปลอดภัย มีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .918, .907, .886, .872 และ .784 ตามลำดับ
  • รายการ
    Looking at America through Buddhist Wisdom
    (2555-09-04T04:44:41Z) Dhanapon Somwang
    abstract for present at 10 th international conference on Thai Studies, Thammasat University
  • รายการ
    An Analytical Perspective of Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto)
    (2555-09-03T09:48:04Z) ธนภณ สมหวัง
    abstract of the article presented in the 2 nd SSEASR Conference of South and Southeast Asian Association for the Study of Culture and Religion on "Syncretism in South and Southeast Asia : Adoption and Adaptation" May 24-27, 2007, Mahidol University
  • รายการ
    การศึกษาทั่วไป เพื่อการสร้างสรรค์ความเป็นไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ : กระบวนทัศน์ในพุทธสาส์นว่าด้วยสารัตถแห่งจินตนโกศล(ปรีชาญาณเชิงความคิด)ทฤษฎีการสร้างทักษะความคิดแบบโยนิโสมนสิการ
    (2555-08-08T08:21:22Z) ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล
    การสร้างทักษะความคิด ตามแนวพุทธธรรมด้วยกระบวนทัศน์แบบโยนิโสมนสิการ ตั้งอยู่บนฐานของความจริงที่ว่าสภาวะจิตใจของมนุษย์ มีส่วนสัมพันธ์ต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมมนุษย์ทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม หมายความว่าหากจิตใจมีการอบรม ฝึกฝนและสร้างทักษะให้เกิดวิธีคิดอย่างถูกต้องดีแล้วก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดดุลยภาพของพฤติกรรมนั้นได้ ตามนัยพุทธธรรมเรียกว่ากระบวนการนี้ว่าวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือการคิดไตร่ตรองอย่างแยบคาย การคิดเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ มี ๑๐ ขั้น ผู้ฝึกฝนอบรมความคิดด้วยวิธีนี้อย่างครบถ้วน สามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้จัดเป็นกระบวนการขัดเกลาทางพุทธศาสนาเรียกว่าไตรสิกขา คือสีลสิกขา ศึกษาให้เป็นคนดี สมาธิสิกขา ศึกษาให้มีความสุข จิตใจมั่นคง เบิกบานและปัญญาสิกขา ศึกษาให้เป็นคนเก่ง มีความเชี่ยวชาญ มีสติปัญญา มีความคิดถูกต้องดีงาม หากพิจารณาตามหลักสัมพันธภาพแล้ว วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการที่เรียกว่าไตรสิกขาและอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ซึ่งอำนวยผลคือจะทำให้เป็นคนคิดกว้าง มองไกล ใฝ่สูง(หมายถึงใฝ่คุณธรรม) เป็นกระบวนการที่สอดคล้องเกี่ยวเนื่อง ถักทอ และเชื่อมต่อกันตลอดสาย
  • รายการ
    สภาพภูมิอากาศกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 2551-04-08) มนนภา เทพสุด
    การบรรเทาภัยรุนแรงจากภาวะโลกร้อน เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมไทยควรตระหนักและให้ความร่วมมือในการปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกดังเช่น การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็น
  • รายการ
    สภาพภูมิอากาศกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 2551-04-08) วันเพ็ญ ลงยันต์
    การบรรเทาภัยรุนแรงจากภาวะโลกร้อน เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมไทยควรตระหนักและให้ความร่วมมือในการปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกดังเช่น การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็น
  • รายการ
    สภาพภูมิอากาศกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, 2551-04-28) มนนภา เทพสุด; วันเพ็ญ ลงยันต์
    สรุปงานประชุมวิชาการเรื่อง “สภาพภูมิอากาศกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม” วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร