GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ธัญกร คำแวง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาความเป็นไปได้ของหญ้าเขียวสยามเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล อย่างยั่งยืน(วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2565-07-27) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; ธัญกร คำแวง; เพ็ญประภา สุวรรณะการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนักแห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับรายการ การใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุง(มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 2565-06-16) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; ธัญกร คำแวง; เติมสิน พิทักษ์สาลีงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงแก๊สโอโซนที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ เมื่อนำมาทดลองเปรียบเทียบกับเมล็ดข้าวสารที่ผ่านแก๊สโอโซนภายในระยะเวลาและข้อกำหนดที่เหมือนกัน เพื่อดูลักษณะทางกายภาพของเมล็ดข้าวสาร ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาหาความเหมาะสมของโอโซน เพื่อใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยใช้เครื่องกำเนิดโอโซนชนิดโคโรนาดิสชาร์จกำลังผลิต 2,000 มิลลิกรัมโอโซนต่อชั่วโมง พ่นแก๊สโอโซนใส่จุลินทรีย์และเมล็ดข้าวสาร จากการศึกษาพบว่า แก๊สโอโซนสามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีจำนวนเริ่มต้นที่ 1,300,000,000 CFU/ml หลังผ่านแก๊สโอโซน เชื้อลดลงเหลือ 4,800,000 CFU/ml ที่ระยะเวลา 20 นาที โดยใช้อัตราการไหลของแก๊สโอโซนที่ 10 ลิตรต่อนาที และมีแนวโน้มในการลดลงของจำนวนเชื้อจุลินทรีย์เมื่อเพิ่มระยะเวลาในการทดสอบ ทั้งนี้ได้นำเมล็ดข้าวสารพันธุ์หอมมะลิ 105 มาผ่านกระบวนการเช่นเดียวกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ผลคือไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดข้าวสาร เช่น ความเปราะ การแตกหักและสีที่เปลี่ยนไป การทดลองด้วยวิธีนี้ทำให้เห็นความแตกต่างในการลดจำนวนจุลินทรีย์ภายในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับกระบวนการบรรจุถุงของข้าวสารที่นำเม็ดข้าวลำเลียงมาตามสายพานก่อนบรรจุถุง เพียงแต่เพิ่มกระบวนการผ่านแก๊สโอโซนเข้ามาเพื่อกำจัดจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดข้าวสารให้ลดลงหรือหมดไปโดยไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างในเมล็ดข้าวสาร เพราะโอโซนไม่เสถียรโดยสลายตัวเป็นออกซิเจนจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม