GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "Dhanapon Somwang"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Looking at America through Buddhist Wisdom(2555-09-04T04:44:41Z) Dhanapon Somwangabstract for present at 10 th international conference on Thai Studies, Thammasat Universityรายการ พุทธทัศนะเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2565-03-19) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ ผู้เขียนต้องการศึกษาถึงทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอหลักพุทธธรรมเพื่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่ โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านงานนิพนธ์สำคัญของท่าน ผลการศึกษาพบว่า ผลงานหลักของท่านนอกเหนือจากการนำเสนอหลักพุทธธรรมที่บริสุทธิ์ ท่านยังได้วิเคราะห์ถึงแก่นแท้ของสภาพปัญหาของสังคมไทย ที่ได้พัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญสมัยใหม่ตามแบบอย่างสังคมตะวันตก จนปัจจุบันนี้สังคมไทยตกอยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ สังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอารยธรรมตะวันตก นั่นคือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด(มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ โดยมีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครองและพิชิตธรรมชาติได้ การมองเพื่อนมนุษย์แบบแบ่งแยก และการมองจุดมุ่งหมายชีวิตของมนุษย์ว่า จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีวัตถุเสพบำเรอ ท่านจึงนำเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ อันมีสาระสำคัญอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงอิงอาศัยกันและกัน โดยต่างเป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันและกัน ซึ่งจะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคลทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับธรรมชาติแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ทัศนะของท่านจึงเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งต่อการสร้างสรรค์สังคมไทยสมัยใหม่The purpose of this article is to study the Buddhist viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation and application Buddhadhamma for renewing modern Thai society by studying and analyzing through his important works. The result of this study shows that his main works, in addition to presenting the Buddhadhamma and also analyzed the essence of the problems of Thai society, that has developed the country into a modern civilization according to western society. Until now, Thai society is under the era of globalization. Therefore, Thai society today is not confronting problems due to globalization alone, which is only a matter of the era, but critical problem which is the basis of all other human problems, resulting from western civilization, that is “the problem of wrong basis of thoughts” or “the wrong paradigm”. He indicated that now culture is based on the belief that human is superior to nature, can overcome and control nature. Therefore, human can control, manage and consume nature. This wrong belief leads to the crisis of human and society in today. The world, now, is global and borderless but human’s mind is not. He has presented his Buddhist views with a Buddhist paradigm. Its essence is based on to see the truth that all things are related as cause and effect (dependent origination). In his opinion, the Buddhist paradigm will create a balance between body, mind, society and nature. It will lead to integration to make the sustainable and stable solution for man, society, and nature. His Buddhist viewpoint is alternative solution for renewing modern Thai society.รายการ สงฆ์ : พุทธนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน(มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566-06-26) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งขึ้นมา ในฐานะนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเรื่องการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวความคิดที่มีความสำคัญในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งชุมชนสงฆ์ขึ้นมาครั้งแรก เพื่อเป็นชุมชนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และให้เป็นชุมชนแบบอย่างในการเรียนรู้ที่ยั่งยืน โดยทรงวางระเบียบวินัยและหลักธรรมต่างๆ การพัฒนาสังคมในปัจจุบันเพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงสามารถนำเอาแนวคิดและหลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในชุมชนสงฆ์มาประยุกต์ใช้กับสังคมในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the concept of the sangha in Buddhism, which was established by Lord Buddha as an innovative approach to sustainable learning. The research findings indicate that the concept of sustainable learning and lifelong learning is highly significant in today's society, which is a learning society that aligns with the concept of Sangha in Buddhism. Lord Buddha established the Sangha as the first monastic community with the goal of developing individuals into lifelong learners and serving as a model community MCU Congress 4th “Buddhism Innovation to Promote Sustainable Development" 199 for sustainable learning. The Sangha established discipline and moral principles to develop its members into individuals of learning and enable them to go out and develop other individuals, communities, or societies as learning entities. The current societal development towards becoming a learning society can therefore benefit from the teachings and principles laid down by Lord Buddha within the Sangha community, focusing on lifelong learning and sustainable learning.รายการ สงฆ์ : แบบอย่างองค์กรแห่งการเรียนรู้(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อบูรณาการกับแนวความคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้งองค์กรสงฆ์ขึ้นมาเพื่อเป็นองค์กรหรือชุมชน ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และให้เป็นองค์กรแบบอย่างในการเรียนรู้ โดยทรงวางระเบียบวินัยและหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสมาชิกสงฆ์ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และสามารถออกไปพัฒนาบุคคลอื่น ชุมชนหรือสังคมให้เป็นบุคคลหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาองค์กรในปัจจุบัน เพื่อไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงสามารถนาเอาแนวคิดและหลักคาสอนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในองค์กรสงฆ์ มาประยุกต์ใช้กับองค์กรในปัจจุบันได้ โดยเน้นหัวใจของการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้คือ การพัฒนาบุคคลในองค์กรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไปThe purpose of this article is to study the conception of the sangha in Theravada Buddhism To integrate with the concept of a learning organization in today's society. The study found that the concept of a learning organization is consistent with the concept of the sangha in Theravada Buddhism. The Buddha established the sangha as an organization or community with the goal of developing the person to be a learning person and to be a model organization for learning by laying out various disciplines and the teachings in order to develop members of sangha to become learning person and can go out to develop other people community or society as a person or a learning society. Organization development to become a learning organization in today, therefore, the ideas and doctrines in Buddhism that the Lord Buddha has placed in the Sangha Organization can be applied to the current organization with emphasis on the development of a learning organization. The development of members in the organization to be a learning person in order to continue to develop the society into a learning society.