GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "Pariya Subpavong"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ แนวทางการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้า(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ปริยา ศุภวงศ์; Pariya Subpavongในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สอนพบนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากใบลาป่วยที่วินิจฉัย รับรองโดยแพทย์เฉพาะทาง นักศึกษากลุ่มนี้จะไม่สามารถรับความกดดันได้มากเท่ากับนักศึกษาปกติ แต่การเรียนการสอนทุกวิชาจำเป็นต้องมีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งความคาดหวังนี้นำไปสู่ความมุ่งมั่นในรูปแบบกติกาของผู้สอน ส่งผลให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่สามารถรับแรงกดดันนั้นได้ บทความนี้จึงจะขอนำเสนอแนวทางการเรียนการสอนที่เสริมความยืดหยุ่นด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) เป็นการผสานระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติเข้ากับการถ่ายทอดสด (Live-Streaming) ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings พร้อมแหล่งข้อมูลให้นักศึกษาทบทวนผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ (E-Learning) ด้วยโปรแกรม Learning Management System (LMS) แนวทางการเรียนการสอนนี้ จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สำหรับผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนด้านข้อมูลและเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างนุ่มนวลที่สุด ส่วนการประเมินผลจะมุ่งให้ข้อเสนอแนะที่ไม่ใช่การวิจารณ์ แนวทางการเรียนการสอนทั้ง 3 แบบ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักศึกษาเมื่อประสบปัญหาและต้องการเวลาในการปรับตัว 2) การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) จะช่วยทำให้การวางแผนการเรียนมีความยืดหยุ่น 3) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันในเชิงบวก ช่วยดึงความสามารถ และศักยภาพของนักศึกษาแต่ละบุคคลให้เปล่งประกาย การผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนทั้ง 3 แบบ ช่วยทำให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าสามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติได้ โดยไม่ต้องลาพักการเรียนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเดียวรายการ แนวทางการเรียนการสอนเพื่อสอดแทรกพัฒนาความเมตตาตามแนวพระพุทธศาสนา(สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย(ควอท), 2566-03-24) ปริยา ศุภวงศ์; Pariya Subpavongโรคขาดความเมตตาของคนในยุคนี้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้การสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆน้อยลง ประกอบกับสภาวะที่ต้องแข่งขันเอาตัวรอดตลอดเวลากำลังสร้างมนุษย์ในอนาคตที่ขาดความ เห็นอกเห็นใจ บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอกระบวนวิธีพัฒนาความเมตตาแบบค่อยเป็นค่อยไปตามหลักพุทธศาสนา เพื่อลดปัญหาความรุนแรงทั้งที่แสดงออกมาทางกาย วาจา และใจ โดยนำมาสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนซึ่งสามารถใช้ได้กับการสอนทุกระดับชั้น แนวทางการเรียนการสอนนี้แบ่งช่วงเวลาเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตั้งเจตนาก่อนเริ่มกิจกรรม รวบรวมสมาธิให้ใจหยุดนิ่ง ให้ลมหายใจออกเป็นตัวเมตตา มีสติมั่นคง จิตอ่อนน้อมไปยังความสงบสันติ แล้วจึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ที่เน้น การมีส่วนร่วม ส่วนที่ 2 ดำเนินกิจกรรมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ให้นักเรียนนักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการมีส่วนร่วมในสังคมด้วยหลักธรรมพรหมวิหาร4 และสังคหวัตถุ4 ในทุกสถานการณ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งเวลาที่เป็นปกติ เวลาที่เดือดร้อน หรือเวลาที่ต้องสร้างประโยชน์ ส่วนที่ 3 หลังจบกิจกรรมให้ตั้งเจตนาอีกครั้งรวบรวมสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งให้ลมหายใจออกเป็นตัวเมตตา มีสติมั่นคง จิตอ่อนน้อมไปยังความสงบสันติที่จะสังเกตการกระทำของผู้อื่น สัมผัสถึงความรู้สึกของผู้อื่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น และทั้งหมดคือขั้นตอนที่ต้องฝึกอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถ ยับยั้งความโกรธ ความเกลียด ความอิจฉาริษยา ความเสียใจ และการแก้แค้นได้ อุปนิสัยเมตตาจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงจะช่วยให้การดำรงชีวิตมีทักษะพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวดเร็วในโลกศตวรรษที่ 21