DIG-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู DIG-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "วีรภัทร สุธีรางกูร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มสมรรถนะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการออกแบบกราฟิก(วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2563-05-31) วีรภัทร สุธีรางกูรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มสมรรถนะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการออกแบบกราฟิกนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มกำลังคนภาคการผลิต ยกระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกให้กับ ผู้ปฏิบัติงานให้มีศักยภาพตอบโจทย์ภาคการผลิตสู่ New S-Curve ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ ด้วยการผลิตผู้ปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นสูงที่มีความชำนาญในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อ พัฒนาและสร้างสรรค์งานให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัล ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 ในการอบรม เชิงปฏิบัติการเพิ่มกำลังคนภาคการผลิตและยกระดับความรู้ความสามารถ และทักษะด้านการออกแบบกราฟิก (Advanced Graphic Design Project) คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพฯ ได้กำหนดให้ผู้รับการอบรม ทุกรายพัฒนาด้านการออกแบบกราฟิก โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมธุรกิจดิจิทัล (Digital Content) การออกแบบกราฟิก (Graphic Design) จำนวน 4 ราย ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาผลงาน การออกแบบและกำหนดคะแนนให้กับผู้เข้าอบรม ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 42 รายได้ส่งผลงานการออกแบบ กราฟิกในช่วงปฏิบัติการต่าง ๆ โดยสรุปว่า มีผู้เข้าอบรมที่ผ่านการคัดเลือกและมีเกณฑ์คะแนนรวมเกิน 70% ผ่านเกณฑ์การอบรมจำนวน 31 ราย และมีผู้เข้าร่วมอบรมที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน ราย 11 โดยเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ 74% และไม่ผ่านเกณฑ์ 26%รายการ การสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์ดิจิทัลร่วมสมัยจากแนวคิดวัฒนธรรมไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-03-31) วีรภัทร สุธีรางกูรการวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์ดิจิทัลร่วมสมัยจากแนวคิดวัฒนธรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่สำคัญ ความเป็นไทย และโครงสร้างในบริบทของศิลปะภาพพิมพ์ดิจิทัล ค้นหาการทำงานร่วมกันในรูปแบบศิลปะภาพพิมพ์และดิจิทัลร่วมกัน และเพื่อเผยแพร่ผลงานภาพพิมพ์ดิจิทัลในระดับนานาชาติ ในกระบวนการพิมพ์ดิจิทัลนี้ มีขั้นตอนศึกษาจากการรวมรวมสิ่งดลใจเพื่อนมาคิดวิเคราะห์ตีความหมายและถ่ายทอดออกมาจากสื่อและเทคนิคดิจิทัลนำเสนอด้วยรูปแบบภาพพิมพ์ดิจิทัล องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องจากเทคนิคคอมพิวเตอร์ในโปรแกรม Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator สร้างสรรค์เป็นผลงานภาพพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล จากการวิจัยสร้างสรรค์ด้วย “Graphic Design Chart” เพื่อวิเคราะห์หาเทคนิคระหว่างแนวความคิด รูปแบบ ผนวกกับเทคนิคคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังใช้หลักการทางศิลปะจากทฤษฎีของโคบายาชิเพื่อวิเคราะห์ถึงสุนทรียภาพของสี อารมณ์ ความรู้สึกในผลงานวิจัยสร้างสรรค์ ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานภาพพิมพ์ดิจิทัลทั้ง 3 ชุดจำนวนผลงาน 9 ชิ้นในการแสดงภาพพิมพ์ระดับนานาชาติ โดยผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อความหมายผ่านภาพบริบทต่างๆ ที่ปรากฎในสภาพแวดล้อมของเมืองในประเทศไทยโดยสื่อผ่านสถาปัตยกรรม 2) การสร้างสรรค์ผลงานจากวัตถุที่มีความเป็นไทยผ่านสัญลักษณ์ทางกราฟิกด้วยรูปทรงเหมือนจริง เช่น ภาพพัดโบราณ ภาพกราฟิกลวดลายไทย และ 3) การแสดงแนวคิดจากผู้วิจัยด้วยโครงสร้างต่างๆ จากรถและส่วนประกอบของโครงสร้าง เป็นเทคนิคการสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยปรารถนาให้มีการสื่อออกมามีมิติที่แปลกใหม่ ด้วยเหตุนี้แรงบัลดาลใจจากภาพที่สื่อความหมายในรูปแบบดิจิทัลนี้ จึงปรากฏในผลงานวิจัยสร้างสรรค์ทั้ง 3 ชุดนี้