CMU-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ) โดย ผู้เขียน "บุณยนุช สุขทาพจน์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ แนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง (Study the storytelling theory with values Chinese - Thai in “Blood is thicker than water”)(มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2562-03-29) บุณยนุช สุขทาพจน์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากละครประกอบกับการสัมภาษณ์นักวิจารณ์ละคร และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ชมละคร ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของเรื่องละครเป็นสื่อที่ให้ทั้งแง่คิด ความรู้ และความบันเทิง จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาถึงทฤษฎีการเล่าเรื่องนั้นมีการเปลี่ยนผ่านจากคนจีนรุ่นเก่าไปถึงคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ การดูแลคนในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนตามค่านิยม จึงมีฉากสำคัญที่เกิดขึ้นในตอนต่างๆ เช่น การคลุมถุงชน กงสี ความรัก และความสำคัญที่มีต่อลูกชายมากกว่าลูกสาว และการให้ความสำคัญกับหลานชายคนแรกของตระกูลเป็น“ตั่วซุง”ด้วยปมดังกล่าวจึงทำให้นำมาซึ่งความขัดแย้ง อิจฉาริษยา และนำมาสู่การฆาตกรรมของสมาชิกในครอบครัวขึ้น 2) โครงเรื่องและการดำเนินเรื่อง มีการดำเนินเรื่องไปตามขนบการเล่าเรื่องจนเกิดปมปริศนา “ใครฆ่าประเสริฐ” 3) ค่านิยม เพื่อให้ผู้ชมได้ข้อคิด และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วยค่านิยม 6 ด้าน คือ ค่านิยมอันเกิดจากศาสนาและความเชื่อ ค่านิยมด้านประเพณีคนไทยเชื้อสายจีน ค่านิยมด้านความรัก ค่านิยมเรื่องเพศ ค่านิยมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที ค่านิยมด้านการศึกษา ทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมของคนไทยเชื้อสายจีนของละคร ตัวละครที่ไม่ได้จบลงอย่างหดหู่ แต่แฝงไว้ซึ่งแง่คิดในการใช้ชีวิต มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีทางออก และวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในสังคมมนุษย์ที่เริ่มต้นมาจากคำว่าครอบครัว จึงถือได้ว่าเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญที่สุด