CMU-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
  • รายการ
    พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมและความกลัวตกกระแสกับการแชร์ข่าวปลอมบนสื่อสังคมของวัยรุ่น
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ วรรณี งามขจรกุลกิจ
    การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมและความกลัวตกกระแสกับการแชร์ข่าวปลอมบนสื่อสังคมของวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความกลัวตกกระแสของกลุ่มวัยรุ่นกับการแชร์ข่าวปลอมบนสื่อสังคม และเสนอแนะแนวทางในการ บ่มเพาะกลุ่มวัยรุ่นเพื่อการเรียนรู้พิจารณาข่าวปลอมบนสื่อสังคมและการใช้สื่อสังคม ซึ่งจากผลการศึกษาบทความวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายเรื่องทำให้พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการแชร์ข่าวปลอมหรือข่าวลวงบนสื่อสังคมมาจากความกลัวตกกระแสที่เป็นอาการตาม FOMO(Fear of Missing Out) ยิ่งวัยรุ่นใช้สื่อสังคมมากขึ้นเท่าไรยิ่งเป็นที่มาของอาการ FOMO ที่สัมพันธ์กับการแชร์ข่าวปลอมที่ขาดการกลั่นกรองความจริงของข่าวสารเหล่านั้น This study on the behavior in the usage of social media, the Fear of Missing Out, and the Sharing of Fake News on social media among Adolescents aims to study the relationship between the phenomenon of the Fear of Missing Out (FOMO) among adolescents and the sharing of fake news on social media. The study will also recommend guidelines to inculcate adolescents in ways to detect fake news on social media and the usage ofsocial media. The study found that the main reason behind the sharing of fake news on social media stemmed from FOMO. The more adolescents use social media, the more severe the effect of FOMO, which, in turn, is connected to the sharing of fake news.
  • รายการ
    ความคิดเห็นต่อการอบรมหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการกำหนดให้บัตรผู้ประกาศมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย
    (ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) วรรณี งามขจรกุลกิจ
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม และบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เกี่ยวกับการอบรมหลักสูตรผู้ประกาศฯ และการกำหนดให้บัตรผู้ประกาศมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) แบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณอาศัยแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 400 คน และแบบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานจัดอบรม บุคลากรผู้ทำหน้าที่ผู้ประกาศ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ และผู้ใช้สื่อบริการชุมชน ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จำนวน 23 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าหลักสูตรผู้ประกาศเป็นหลักสูตรที่ดี มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ช่วยให้มีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนหลายด้านเพิ่มขึ้น ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและหน้าที่การงาน รวมทั้งได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการเรียนรู้เทคนิคสื่อสารให้สำเร็จ การอ่านออกเสียง และอักขระอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการใช้ภาษาไทย ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดให้บัตรผู้ประกาศมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย พบว่า ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับประเด็นการผลักดันให้มีการกำหนดข้อบังคับบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ ทำหน้าที่ผู้ประกาศ ให้เข้ารับการอบรมและผ่านการทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ และกำหนดให้บัตรผู้ประกาศฯ มีผลบังคับใช้ด้านกฎหมาย โดยเสนอให้ กสทช.ออกมาตรการหรือประกาศบังคับให้องค์กร สถานี ต้องส่งเสริมบุคลากรของตนเองเข้าอบรมหลักสูตรผู้ประกาศ และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้เห็นประโยชน์ของการเข้าอบรม นอกจากนี้ยังเสนอให้ กสทช. ขอความร่วมมือโดยการส่งหนังสือไปที่สถานี ให้ควบคุมดูแลบุคลากรของหน่วยงาน/สถานี ต้องมีบัตรผู้ประกาศ และให้สถานีออกกฏระเบียบและบทลงโทษกับบุคลากรด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของตนเอง
  • รายการ
    การเข้าใจ เข้าถึงผู้เรียนยุคดิจิทัลด้วย DISC Model
    (ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน, 2562-07-31) วรรณี งามขจรกุลกิจ
    การใช้แบบจำลอง Dominance (D), Influence (I), Steadiness (S), and Compliance (C) Model ที่เรียกย่อๆว่า DISC Model ในการศึกษาผู้เรียนนั้นมาจากการมีโอกาสเข้าโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Super Coach Super Growth โดยวิทยากรคือโค้ชตั๊ง กิตติภัฏ ชุณหวิริยะกุล ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิกฤติการศึกษามหาวิทยาลัยไทย และคำถามว่า ลูกศิษย์คาดหวังอะไรจากเรา? และเราคาดหวังอะไรจากลูกศิษย์? รวมทั้งการเข้าใจคนแต่ละประเภทด้วย DISC Model เพื่อความสำเร็จขององค์กร ทำให้เกิดความคิดว่าในการเรียนการสอนเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงลูกศิษย์ในแต่ละกลุ่มเรียนในแต่ละชั้นเรียนของรายวิชาสามารถใช้ DISC Model มาศึกษาวิเคราะห์เช่นกัน ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาโดยใช้ DISC Model วิเคราะห์ผู้เรียนแต่ละคนในชั้นเรียนรายวิชา CMM 258 การวิจัยทางการสื่อสาร ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 207 คน เพื่อให้ครู อาจารย์เกิดความเข้าใจและสามารถเข้าถึงผู้เรียนที่เป็นลูกศิษย์มากขึ้นจากเดิม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ผู้เรียนลูกศิษย์แต่ละคนเข้าใจตัวเองว่ามีบุคลิกและพฤติกรรมเป็นคนลักษณะแบบใดใน DISC รวมทั้งยังทำให้เข้าใจเพื่อนร่วมชั้นเรียน รู้ว่าควรใช้วิธีการสื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงเพื่อนๆ และสิ่งสำคัญที่สุดคือตัวครู อาจารย์ ได้เรียนรู้เข้าใจผู้เรียนลูกศิษย์และสามารถค้นหาวิธีการในการโน้มน้าวจูงใจสร้างการเรียนรู้ให้เกิดการเข้าถึงผู้เรียนลูกศิษย์อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ในแต่ละกลุ่มงานมีสมาชิกที่เป็น DISC ผสมกันอยู่ในกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มีบุคลิกไปทางแบบ I และ S ส่วนกลุ่ม D และ C มีจำนวนน้อยกว่า เมื่อครู อาจารย์ เข้าใจลักษณะของผู้เรียนในแต่ละคนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งผู้เรียนแต่ละกลุ่มรู้จักตัวตนบุคลิกลักษณะของเพื่อนๆร่วมกลุ่มและร่วมชั้นเรียนแล้ว ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมจึงมีความง่ายในการเข้าใจเพื่อนร่วมกลุ่มงานรู้จักใช้วิธีการสื่อสาร ใช้คำพูดในการเข้าถึงเพื่อนๆในกลุ่ม และเพื่อนร่วมชั้นเรียน สิ่งสำคัญคือตัวครู อาจารย์ สามารถรู้จุดเด่นของสมาชิกในแต่ละกลุ่ม คาดคะเนลักษณะนิสัยใจคอ สิ่งที่ไม่ชอบ และสิ่งที่ควรพัฒนาโดยการสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนแต่ละแบบมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการทำความเข้าใจ สื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละคนในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  • รายการ
    แนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง (Study the storytelling theory with values Chinese - Thai in “Blood is thicker than water”)
    (2562-03-29) ผศ.บุณยนุช สุขทาพจน์
    TV drama is a medium that provides both thought and knowledge, so it’s interesting to study the storytelling theory in “Blood is thicker than water” drama. In this TV drama the story show the transition from the old Chinese to the modern Chinese, Including Chinese family by Chinese values. The reflection in the form of a clutch of conflicts within the family into a murderous clue As seen in many scenes in the drama, such as arranged marriage, common funds and treats daughters likes outsiders, prefers son more than the daughter and treat the first nephew as the “Big Brother” which bringing family conflict especially jealousy that the main clue leads to the murder of “Prasert”, The big brother of the family. Giving the audience an insight into the way of life. It consists of six values which are values derived from religion and belief, Chinese traditional values, love values sexual values, the values of gratitude and educational values. The review of he value of criticism in this drama is based on the storytelling theory and Chinese values . The life of the character does not end in a dreamy way but conceal the thought of living. Troubleshooting a solution and the correct way to solve the problem is fundamental in human society, starting with the word family. The lessons from the drama are considered as the most important social institutions.
  • รายการ
    แนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง (Study the storytelling theory with values Chinese - Thai in “Blood is thicker than 
water”)
    (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2562-03-29) บุณยนุช สุขทาพจน์
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเล่าเรื่องค่านิยมคนไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ เรื่อง เลือดข้นคนจาง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากละครประกอบกับการสัมภาษณ์นักวิจารณ์ละคร และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ชมละคร ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของเรื่องละครเป็นสื่อที่ให้ทั้งแง่คิด ความรู้ และความบันเทิง จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาถึงทฤษฎีการเล่าเรื่องนั้นมีการเปลี่ยนผ่านจากคนจีนรุ่นเก่าไปถึงคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ การดูแลคนในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนตามค่านิยม จึงมีฉากสำคัญที่เกิดขึ้นในตอนต่างๆ เช่น การคลุมถุงชน กงสี ความรัก และความสำคัญที่มีต่อลูกชายมากกว่าลูกสาว และการให้ความสำคัญกับหลานชายคนแรกของตระกูลเป็น“ตั่วซุง”ด้วยปมดังกล่าวจึงทำให้นำมาซึ่งความขัดแย้ง อิจฉาริษยา และนำมาสู่การฆาตกรรมของสมาชิกในครอบครัวขึ้น 2) โครงเรื่องและการดำเนินเรื่อง มีการดำเนินเรื่องไปตามขนบการเล่าเรื่องจนเกิดปมปริศนา “ใครฆ่าประเสริฐ” 3) ค่านิยม เพื่อให้ผู้ชมได้ข้อคิด และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วยค่านิยม 6 ด้าน คือ ค่านิยมอันเกิดจากศาสนาและความเชื่อ ค่านิยมด้านประเพณีคนไทยเชื้อสายจีน ค่านิยมด้านความรัก ค่านิยมเรื่องเพศ ค่านิยมเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที ค่านิยมด้านการศึกษา ทฤษฎีการเล่าเรื่องกับค่านิยมของคนไทยเชื้อสายจีนของละคร ตัวละครที่ไม่ได้จบลงอย่างหดหู่ แต่แฝงไว้ซึ่งแง่คิดในการใช้ชีวิต มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีทางออก และวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในสังคมมนุษย์ที่เริ่มต้นมาจากคำว่าครอบครัว จึงถือได้ว่าเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีบทบาทสำคัญที่สุด