Institute General Education
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู Institute General Education โดย ผู้เขียน "Monnapa Thapsut"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 10 ของ 10
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Megastigmanes from the aerial part of Euphorbia heterophylla(Phytochemistry Letters, 2564-08) Monnapa Thapsut; มนนภา เทพสุดThree unprecedented megastigmanes together with twelve known compounds were isolated from the aerial part of Euphorbia heterophylla. The structural elucidation was based on extensive uses of spectroscopic data. The absolute configuration assignment of 1 was based on NOESY correlations and comparison of the experimental and calculated ECD spectra. Selected isolates obtained in sufficient quantity were evaluated for their cytotoxic activity.รายการ The Role of University in Achieving Sustainable Development Goals of Sripatum University in Thailand(Nimitmai Review., 2567-04-30) Kanidta Chairattanawan; Monnapa ThapsutUniversities are increasingly engaging with the Sustainable Development Goals (SDGs). As well as Sripatum University, because SDGs are seen as enablers of societal transformations and transformations within universities. This research article aims to study the situation of Sripatum University in SDGs and to establish a policy to support sustainable development goals. We use qualitative methods, utilizing a literature review, structured observation and comprehensive in -depth interviews. There are five key informants which was selected by purposive sampling, 16 participants, including students, academics (lecturers), sustainability coordinators, executives and support services. The instrument for this research was guideline for interview, Data was analyzed by content analysis This study shows that the president has appointed a working group to drive the sustainable development goals. During the academic year 2022-2023, Sripatum University focuses on 6 groups of SDGs, including SDG 4: Quality Education, SDG-5: Gender Equality, SDG-7: Affordable and Renewable Energy, SDG-9: Innovation and Infrastructure, SDG-16: Peace and Justice and strong institutions, and SDG-17: Partnerships for the Goals. But knowledge, understanding and awareness in SDGs in staff and students are so little. Whereas everyone has continued to carry out activities or projects linked to the SDGs. However, they do not understand the relevance or relationship in the SDGs. Five strategies of the Sripatum University to encourage faster achievement of the targeted SDGs are proposed are as follows: Curriculum Integration, Research and Innovation, Community Engagement, Partnerships and Collaboration and Communication.รายการ ภาวะโลกร้อน(Sripatum University, 2561-12-20) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutบทความนี้ต้องการศึกษาถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสาเหตุ ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน มาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความรุนแรงเกินกว่าปกติ เหตุเพราะมีก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากผลการดาเนินกิจกรรมของมนุษย์ แพร่กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศจนเกินระดับความสมดุลทางธรรมชาติ วิกฤติสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั้งคลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุ และฝนที่ตกมาอย่างหนัก ซึ่งปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ได้ส่งผลกระทบทั้งต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการดารงอยู่ของมนุษย์ สาหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สามารถทาได้โดยการลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ บนสามแนวทางหลัก คือ 1) การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ 2) การกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ 3) การกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งผลิต ซึ่งถึงแม้ความพยายามแก้ปัญหานี้จะมีมานับตั้งแต่ที่เริ่มมีการบังคับใช้พิธีสารเกียวโต หากแต่ภาวะโลกร้อนก็ยังคงเป็นปัญหาที่จะท้าทายมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต่อไปรายการ ภาวะโลกร้อน: ผลลัพธ์เชิงลบในโลกยุคอุตสาหกรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากผลการพึ่งพิงพลังงานกระแสหลักจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคอุตสาหกรรม ที่มีแหล่งปล่อยใหญ่มาจากภาคพลังงานและการขนส่ง รวมทั้งมีแรงเสริมจากการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปรับเปลี่ยนที่ดินมาใช้ขยายพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมสมทบด้วย ปัจจุบันภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาสะสมที่เกิดขึ้นมากว่าศตวรรษได้ทวีความรุนแรง ทำลายคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งในภาคผืนดิน ผืนนํ้า และอากาศเพิ่มมากขึ้น จนทุกชีวิตต้องได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบที่ตามมามากมาย ทั้งจากการเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การโหมกระหนํ่าของพิบัติภัยที่ร้ายแรงจากคลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า และพายุอย่างบ่อยครั้งยิ่งขึ้น ตลอดรวมถึงการเพิ่มสูงของระดับนํ้าทะเล อันเนื่องมาจากการขยายตัวของนํ้าทะเลผนวกกับการละลายตัวลงที่เร็วยิ่งของนํ้าแข็งทั่วโลก การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยการลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ร่วมกับการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งผลิตก่อนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จึงถือเป็นสามแนวทางออกสำคัญที่จะยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นต่อไปกระทั่งก่อหายนภัยทำลายทุกชีวิตได้รายการ ภาวะโลกร้อน: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutบทความนี้ต้องการศึกษาปัญหาภาวะโลกร้อน ทั้งในด้านสาเหตุ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน เกิดขึ้นจากภายในชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมพื้นผิวโลก มีก๊าซเรือนกระจกนานาชนิดโดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ แพร่กระจายอยู่อย่างหนาแน่น จนกระบวนการทางธรรมชาติไม่สามารถระบายออกได้ทัน (2) ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการละลายตัวของน้ำแข็งขั้วโลก ต่างทวีความรุนแรงและปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น “ความปกติใหม่” ที่สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการดำรงอยู่ของมนุษย์ และ (3) การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สามารถทำได้โดยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ บนสามแนวทางหลัก คือ (1) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (2) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ (3) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งผลิต This study aimed to examine global warming problem. The study focused on the causes of global warming, its impacts and problems, the way to solve the problems. The results showed that the major cause of global warming came from the level of greenhouse gases, particularly carbon dioxide released from human activities, accumulated in the atmosphere was higher than those removed by natural processes.This phenomenon has increased a severity of climate change, disasters, sea ice melt, became “the new normal”, which directly impact on environment and human livelihood.Therefore, the solutions to global warming could be achieved by reducing the emission of carbon dioxide in to the atmosphere, and removing carbon dioxide from the atmosphere and from the generating sources emission.รายการ วิกฤตโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสภาพการณ์ที่เกิดจาก ความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากผลการพึ่งพิงพลังงานกระแสหลักจากเชื้อเพลิง ฟอสซิล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคอุตสาหกรรม โดยมีแหล่งปล่อยใหญ่มาจากภาคพลังงาน ผนวกกับการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปรับเปลี่ยนที่ดินมาใช้ขยายพื้นที่ต่างๆ โดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การละลายตัวของนํ้าแข็งขั้วโลก และภัยพิบัติต่างๆ ล้วนทวีความรุนแรงและปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการดำรงอยู่ของมนุษย์ สำหรับ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นต่อไปจนถึงขีดอันตราย สามารถทำได้บนสามแนวทางหลักคือ (1) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (2) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ (3) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งผลิต The global warming that causes climate change in today world is a situation that arises from an imbalance in the amount of greenhouse gases, especially carbon dioxide that increasing in the atmosphere, which is the cause of the severe greenhouse effect and which occurs due to the dependency on mainstream energy from fossil fuels that drive the economy of the industrial age world. The industrial age which has a large source of emission from the energy sector as well as having reinforcements from deforestation of the forest in order to change the land to be used to expand the various areas. This phenomenon has increased a severity of climate change, disasters, sea ice melt, which directly impact on environment and human livelihood. Therefore, the solutions to global warming could be achieved by reducing the emission of carbon dioxide in to atmosphere, and removing carbon dioxide from the atmosphere and from the generating sources emission.รายการ สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว หายนะภัยจากมนุษย์สู่มนุษย์(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2566-05-18) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutสภาพการณ์เลวร้ายต่างๆ ทางด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่สร้างปัญหาก่อภัยคุกคามร้ายแรงให้กับทุกชีวิตนี้ ล้วนเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน วิกฤตการณ์อันตรายที่ได้รับการยืนยันหนักแน่นจากรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (The Sixth Assessment Report: AR6) ที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ในปี พ.ศ. 2564 ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างแน่นอน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเพิ่มมากเกินในชั้นบรรยากาศนี้ ได้ส่งผลอันตรายเร่งให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกอย่างใหญ่หลวง ปัจจุบันปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศใกล้แตะระดับ 420 ppm และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปถึง 450 ppm ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นตามมาได้ถึง 2 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบจากก่อนยุคอุตสาหกรรม) ซึ่งถือเป็นจุดหักเหสำคัญที่จะทำให้โลกเข้าสู่จุดเปลี่ยน ด้วยภัยพิบัติต่างๆจะเกิดถี่ขึ้น หนักขึ้น และรุนแรงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพยายามทำทุกวิถีทางที่จะต้องควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ให้ได้โดยเร็ว สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์นี้ จะทวีความรุนแรงถึงคนรุ่นต่อๆ ไปหรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับคนรุ่นปัจจุบันว่าให้ความสำคัญลงมือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้มากน้อยเพียงใดรายการ อยู่รอดอย่างไร ในยุคโลกร้อน(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2562-05-01) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยมีความร้อนแรงสูงสุดตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอันตรายให้หลายพื้นที่โลกต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Event) สาเหตุสำคัญของปัญหามาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล อันได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ และอีกประการหนึ่งมาจากไฟป่าที่มาซ้ำเติมให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น การอยู่รอดของมวลมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับความพยายามในการก้าวพ้นจากยุคพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่ยุคพลังงานทดแทน พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่องรายการ เมื่อภาวะโลกร้อน กลายเป็นความปกติใหม่(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2563-12-03) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทั้งไฟป่า น้าแข็งขั้วโลกละลาย และการละลายตัวของชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) คงตัว ถือเป็นปัจจัยป้อนกลับที่ซ้าเติมให้โลกร้อนยิ่งขึ้น เหตุเพราะเมื่อไฟป่าลุกไหม้ จะทาให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกผลิตออกมาสู่ชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น ส่วนการละลายตัวของน้าแข็งขั้วโลก ก็จะส่งผลให้ผืนน้าแข็งสีขาวที่เหลือมีศักยภาพสะท้อนความร้อนสู่อวกาศได้น้อยลง แต่ปริมาณน้าซึ่งมีศักยภาพดูดซับความร้อนไว้ได้ดีกลับเพิ่มมากขึ้น โลกจึงร้อนยิ่งขึ้นได้อย่างเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ และร่วมกันเร่งแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนกันอย่างจริงจัง โอกาสที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั้นบรรยากาศจะเพิ่มสูงต่อไป จนถึงขีดอันตรายที่ระดับ 450 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกสูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส (จากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) ก็จะมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น โลกก็จะก้าวเข้าสู่จุดพลิกผัน อันนามาซึ่งการพังทลายของระบบภูมิอากาศ ความล่มสลายในส่วนต่าง ๆ ของระบบสิ่งแวดล้อมโลก และสภาพการณ์เหล่านี้ก็จะกลายเป็นความปกติใหม่ของโลกใบนี้รายการ เราคุ้มครองโลก โลกคุ้มครองเรา(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-09-22) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutวิกฤติความเสื่อมถอยของธรรมชาติที่เป็นผลมาจากน้ำมือของมนุษย์ ซึ่งนับวันมีแต่จะทวีความรุนแรง และคุกคามความอยู่รอดของมนุษยชาติอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากมนุษย์เราที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม อากาศเป็นพิเษ โลกร้อน ไฟป่า น้ำเสีย ได้กลับมาทบทวนดุลยภาพของธาตุทั้ง 4 และหันกลับมาช่วยกันดูแลคุ้มครองโลก ด้วยการยับยั้งการสร้างสารมลพิษและอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยมีความตระหนักรู้ในคุณค่าที่ธรรมชาติมอบให้เป็นรากฐานสำคัญแล้ว โลกซึ่งคุ้มครองเรามาอย่างเนิ่นนาน ก็จะมีโอกาสได้ฟื้นตัว กลับไปสู่ดุลยภาพ กลับคืนมามีศักยภาพที่จะนำพาความอยู่รอดมาให้กับมนุษยชาติได้อย่างยั่งยืนสืบไป ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราคุ้มครองโลก โลกก็จะคุ้มครองเราเช่นกัน