S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ผู้เขียน "กฤษณ, ทองคำแท้"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายต่อสิทธินอกทรัพย์สิน : ศึกษาเฉพาะกรณีค่าเสียหายเชิงลงโทษ(2551-02-16T07:56:57Z) กฤษณ, ทองคำแท้กฎหมายไทยได้มีการปรับเปลี่ยน และแก้ไขเพิ่มเติมตลอดเวลา ซึ่งกฎหมายไทยในยุคปัจจุบันได้มีบทบัญญัติกฎหมายมากมายที่ออกมาบังคับใช้ปัญญา แต่กฎหมายเหล่านี้กลับมิได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ หรือมีมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขเยียวยาในกรณีที่มีการละเมิดต่อสิทธินอกทรัพย์สินจนเกิดความเสียหาย ความเสียหายที่เกิดกับสิทธินอกทรัพย์สินเป็นเรื่องเชิงนามธรรมแต่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคม หากมีความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมไม่ได้เกิดกับชีวิตแต่เป็นเรื่องทางศีลธรรม และจิตใจที่อาจสูงกว่าความเสียหายทางวัตถุที่ผู้เสียหายได้รับจริง ออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้สามารถตีราคาวัตถุที่ทำซ้ำได้ แต่ไม่อาจตีราคาคุณค่าของสติปัญญา ความพยายาม และความเสียใจอันเป็นเรื่องทางจิตใจของเจ้าของผลงานออกมาเป็นตัวเงินได้ อีกทั้งยังเกิดความเสียหายต่อธุรกิจการลงทุนอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้ ในส่วนของหลักเกณฑ์ที่สำคัญของความรับผิดทางละเมิดก็คือ จะต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น ถ้าความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น แม้จะมีการกระทำผิดกฎหมายแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นละเมิด หลักนี้เป็นที่รับรองในกฎหมายว่าด้วยละเมิดของนานาประเทศ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ แบ่งออกได้ตามประเภทของสิทธิที่บุคคลมีอยู่ คือ ความเสียหายต่อสิทธิในกองทรัพย์สิน และความเสียหายต่อสิทธินอกกองทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิทธิในกองทรัพย์สิน จึงเป็นความเสียหายในทางวัตถุเป็นความเสียหายที่อาจตีราคาเป็นเงินได้ กระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์อันเป็นตัวเงินของบุคคล เช่น ค่าใช้จ่ายต่อสิทธิบุคคลอันเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียงเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว และเกี่ยวกับความผูกพันรักใคร่ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ก็ได้แก่ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานและตกใจเสียขวัญ เป็นต้น ความเสียหายต่อสิทธินอกกองทรัพย์สินนี้ อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นความเสียหายใน ทางศีลธรรม ทั้งนี้เพื่อเน้นให้เห็นว่าความเสียหายประเภทนี้เป็นความเสียหายที่กระทบกระเทือน ถึงจิตใจ หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อนามธรรม คือ สิ่งที่มิใช่ตัวตน และไม่เกี่ยวข้องกับผล ประโยชน์อันเป็นตัวเงินทั้งหมด กฎหมายไทยได้วางหลักไว้ และเปิดทางไว้ให้ศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนได้อย่างกว้างขวางก็มีทางที่ศาลไทยน่าจะคำนึงถึงสภาพการทำละเมิด พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งการละเมิดสภาพทางเศรษฐกิจของผู้ทำละเมิด ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่อาจทำให้การละเมิด เกิดผลเสียหายได้รวดเร็ว และรุนแรงกว่าสมัยก่อน เช่น การหมิ่นประมาทสามารถล่วงรู้ถึงคนเป็นเรือนล้านได้ในเวลาเพียงพริบตาเดียว และกำหนด (Award) ค่าเสียหายประเภทนี้ได้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น โดยจะเรียกค่าเสียหายในเชิงลงโทษ หรือไม่ก็ตาม