S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 481
  • รายการ
    การฝึกอบรมในองค์กรส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานบริษัทซ่อมบำรุงเรือเดินสมุทรแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
    (2564) สุรพงศ์ นองสุข
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันของพนักงานในบริษัทซ่อมบำรุงเรือเดินสมุทรแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งงานในบริษัท และประสบการณ์การฝึกอบรม 2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการการฝึกอบรมในองค์กรที่มีต่อความผูกพันของพนักงานบริษัทซ่อมบำรุงเรือเดินสมุทรแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีในด้านการคงอยู่ ด้านความรู้สึก และด้านบรรทัดฐาน กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ พนักงานทุกระดับปฏิบัติการของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 330 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนความผูกพันของพนักงานในระดับมาก และ 2) ปัจจัยด้านการฝึกอบรมในองค์กรของพนักงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน ด้านแรงจูงใจของพนักงาน ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านการกำหนดแนวทางและด้านการสนับสนุนที่แตกต่างกัน
  • รายการ
    องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจในองค์กรของกลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร
    (2564) สยุมพร โพธิอาภา
    การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความยืดหยุ่นทางจิตใจจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน กลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจของบุคลากร กลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ใช้แบบสอบถาม (questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการเก็บข้อมูลจำนวน 382 ชุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานกลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ( statistical package for the social sciences) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่(Frequencies) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean : ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : S.D.) ส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นใช้การพิสูจน์ความแตกต่างแบบ one-way ANOVA รวมทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างน้อยประการใดประการหนึ่ง มีอิทธิพลเชิงบวกกับความยืดหยุ่นทางจิตใจในด้านต่างๆ ของพนักงานกลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานครโดยวิเคราะห์ multiple regression ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานในองค์กรกลุ่มบริษัทผลิตและส่งออกรองเท้าและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกันตามปัจจัยด้านเพศ ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานในองค์กร และอายุงานในองค์กรจะมีผลต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจแตกต่างกัน 3) ปัจจัยของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีอิทธิพลต่อความยืดหยุ่นทางจิตใจของพนักงานในองค์กร ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านกำลังใจได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม และ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านการจัดการกับปัญหาได้แก่ การมีแบบแผนทางความคิด และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • รายการ
    การจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา
    (2564) สุภเดช ธนากรฐิติคุณ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ของบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และ3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการจัดการความรู้ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ พนักงานที่ทำงานในบริษัทโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 345 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนด้านการจัดการความรู้ของพนักงานในระดับมาก และ 2) ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ในแต่ละด้านจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกัน
  • รายการ
    กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่าย ของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ
    (2564) ไพรรัตน์ แก้วดี
    การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่ายของลูกค้าร้านสะดวกซื้อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดร้านสะดวกซื้อที่มีผลต่อพฤติกรรมหลังการซื้อของผู้บริโภคในด้านความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่าย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านสะดวกซื้อที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 398 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test สำหรับเปรียบเที่ยบความแตกต่างระหว่างตัวแปร การเปรียบเทียบรายคู่(LSD) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ(multiple regression analysis) ผลวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของลูกค้าร้านสดวกซื้อในด้านความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่าย ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการบริการของพนักงาน ด้านสถานที่ตั้ง และด้านการสื่อสารออนไลน์ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่าย ได้แก่ ด้านการบริการของพนักงาน ด้านการสื่อสารออนไลน์ และด้านความเหมาะสมของราคา ตามลำดับ
  • รายการ
    ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ตามทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
    (2542) สมพิศ แสงแก้ว
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกตามระดับการศึกษาและเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของกรมสามัญศึกษา และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของกรมอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา 2541 จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีภาพลักษณ์อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยมีภาพลักษณ์ด้านความเชื่อถือ เป็นอันดับที่ 1 การยอมรับ เป็นอันดับที่ 2 และความศรัทธา เป็นอันดับที่ 3 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามระดับการศึกษาและเพศ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ไม่แตกต่างไปจากนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเช่นเดียวกัน เพศชายมีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกับเพศหญิง ยกเว้นในกลุ่มนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเพศชายมีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดีกว่าเพศหญิง ทั้งโดยรวมและด้านความเชื่อถือ ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มเพศหญิง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดีกว่านักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยภาพรวม
  • รายการ
    ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
    (2542) สมพร สุพลสงคราม
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำแนกตามชั้นยศของข้าราชการตำรวจและสถานภาพสมรส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 315 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2. ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกับชั้นประทวน-พลตำรวจ สายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยคะแนนเฉลี่ยของความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรสูงกว่าชั้นประทวน-พลตำรวจ 3. ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานภาพโสดกับสมรส สายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมและทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  • รายการ
    ความคิดเห็นของนักเรียนพลตำรวจที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอนของโรงเรียนตำรวจภูธร 7
    (2544) วิไล เครือแตง
    การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนพลตำรวจที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอนของโรงเรียนตำรวจภูธร 7 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนพลตำรวจในโรงเรียนตำรวจภูธร 7 พ.ศ. 2542 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าขนาดของความต่าง ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. ความคิดเห็นของนักเรียนพลตำรวจที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่า ด้านที่นักเรียนพลตำรวจห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2. ความคิดเห็นของนักเรียนพลตำรวจที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และอายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 3.ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน เรียงตามลำดับคือ ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และโครงสร้างของหลักสูตร
  • รายการ
    ปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี
    (2542) วินัย เนติสุทธิกานต์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี และศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนตามลักษณะภูมิหลังของผู้ปฏิบัติงานสืบสวน จำแนกเป็นชั้นยศ คุณวุฒิการศึกษา อายุ อายุราชการ และประสบการณ์ในงานสืบสวน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฎิบัติงานสืบสวนในสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดชลบุรี จำนวน 191 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยตัวกลางเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏผลโดยสรุปดังนี้ 1. ปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามชั้นยศ คุณวุฒิการศึกษา อายุราชการ และประสบการณ์ในงานสืบสวน พบว่ามีปัญหาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามอายุพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  • รายการ
    ปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และปัญหาการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดระยอง
    (2543) วรทรัพย์ โมราวรรณ
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตามความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดระยอง จำแนกตามระดับชั้นยศ ประสบการณ์ และเขตพื้นที่ของที่ตั้งสถานีตำรวจภูธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในจังหวัดระยอง จำนวน 333 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับปัจจัยก่อให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาการป้องกันอาชญากรรม และปัญหาการปราบปรามอาชญากรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-text) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมาก ได้แก่ การลักลอบค้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ อยุ่ในระดับปานกลาง 2. ปัญหาการป้องกันอาชญากรรม โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขาดแคลนด้านงบประมาณและผู้ปฏิบัติงานขาดขวัญกำลังใจ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง 3. ปัญหาการปราบปรามอาชญากรรม โดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสารมีไม่เพียงพอ และขาดขวัญกำลังใจ นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง 4. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีชั้นยศสัญญาบัตรและชั้นประทวน มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแตกต่างกัน โดยชั้นยศประทวนมีปัญหามากกว่าชั้นยศสัญญาบัตร 5. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์มากและประสบการณ์น้อย มีปัญหาการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีประสบการณ์มากมีปัญหามากว่าผู้ที่มีประสบการณ์น้อย 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรในเขตเสี่ยงภัยมากและเขตเสี่ยงภัยน้อย มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแตกต่างกัน โดยผู้ที่อยู่ในเขตเสี่ยงภัยมากมีปัญหามากกว่าผู้ที่อยู่ในเขตเสี่ยงภัยน้อย
  • รายการ
    คุณลักษณะของผู้บริหารตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
    (2542) รัตนา มาลาวิบูลย์
    การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี เพื่อทราบระดับ จัดลำดับ และเปรียบเทียบคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ที่แตกต่างกันในด้านเพศ ประสบการณ์การสอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์ในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2541 จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ในองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรม ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร ด้านความรู้ความสามารถทางการศึกษาแห่งชาติ และด้านส่วนตัวและครอบครัว อยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นคุณลักษณะที่เป็นจริง ด้านมนุษยสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ลำดับคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี คุณลักษณะที่เป็นจริง เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร ด้านความรู้ความสามารถทางการศึกษาแห่งชาติ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ตามลำดับ สำหรับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถทางการศึกษาแห่งชาติ ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ที่มีเพศประสบการณ์การสอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างกัน ปรากฏว่าอาจารย์เพศหญิงมีทัศนะต่อคุณลักษณะที่เป็นจริงของผู้บริหารทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านดีกว่าอาจารย์เพศชาย สำหรับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของอาจารย์ที่มีเพศต่างกัน ทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านส่วนตัวและครอบครัว อาจารย์เพศหญิงมีทัศนะดีกว่าอาจารย์เพศชาย ส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างกัน พบว่าคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
    (2542) ยุทธนาวี ดวงสุวรรณ
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความพึงพอใจในการทำงาน ภูมิหลังทางเศรษบกิจของครอบครัว และศึกษาระดับของประสิทธิภาพในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานทั้งสามปัจจัย ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความพึงพอใจในการทำงาน และภูมิหลังทางเศรษบกิจของครอบครัว มีผลอยู่ในระดับกลางเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น การเลือกงานที่ยากและท้าทาย การต้องการความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว ลักษณะงาน ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน มีผลอยู่ในระดับสูง สำหรับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ อยู่ในระดับกลาง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการทำงานกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความพึงพอใจในการทำงานนั้น ปรากฏความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ.นสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
    (2546) มนัส กองจำปา
    การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการในสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามจะนำมาประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยนเบนมาตรฐาน และค่า Chi-Square ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ข้าราชการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความพึงพอใจในระดับค่อนข้างสูง และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปรากฏว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน รายได้ ลักษณะงาน ความสำเร็จของงาน การยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน สภาพการทำงาน เงินเดือน ความมั่งคงในงาน สวัสดิการ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การบังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการในสถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มากที่สุด 3 อันดับ คือ ความรับผิดชอบ สภาพการทำงาน และการบังคับบัญชา
  • รายการ
    ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
    (2543) ประทีป ทองดี
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำแนกตามชั้นยศ สถานภาพการสมรส อายุราชการ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำนวน 285 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ โดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความเพียงพอของรายได้ และด้านสวัสดิการในหน่วยงาน อยู่ในระดับน้อย 2. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ โดยภาพรวม จำแนกตามชั้นยศ สถานภาพการสมรส อายุราชการ และระดับการศึกษา พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
  • รายการ
    การประเมินการฝึกอบรมประจำปีของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการ 2 กองบังคับการฝึกพิเศษ
    (2543) บรรจบ วิไลพันธ์
    การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการประเมินการฝึกอบรมประจำปีของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการ 2 กองบังคับการฝึกพิเศษ โดยจำแนกตามอายุ อายุราชการ และระดับการศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่เข้ารับการฝึกอบรมประจำปีของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 ในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. การประเมินการฝึกอบรมในภาพรวมมีความเหมาะสมอยุ่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านเทคนิควิธีการฝึกอบรม ด้านวิทยากรฝึกอบรม และสถานที่ฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอุปกรณ์เครื่องมืออยู่ในระดับน้อย 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการฝึกอบรมประจำปีของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการ 2 กองบังคับการฝึกพิเศษ ในด้านหลักสูตรเห็นว่าควรปรับปรุงในเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย และควรลดระยะเวลาการฝึกอบรมเป็นฝึกปีเว้นปี หรือ 2 ปีต่อครั้ง รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมควรลดลง ในด้านเทคนิควิธีการฝึกอบรม เห็นว่าควรปรับปรุงให้ทันสมัยเช่นเดียวกับหลักสูตร และควรจัดให้มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ในเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในด้านวิทยากรฝึกอบรมเห็นว่าควรจัดวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาและวิธีการถ่ายทอดให้มีจำนวนเพียงพอ และควรจัดให้มีวิทยากรภายนอกในบางรายวิชา ในด้านสถานที่ฝึกอบรม เห็นว่าคับแคบ โดยเฉพาะเรือนนอน ควรปรับปรุงซ่อมแซมและติดตั้งพัดลมให้เพียงพอ รวมทั้งรักษาความสะอาดบริเวณห้องน้ำ ห้องสุขา
  • รายการ
    ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัดสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองสมุทรสาคร
    (2543) นพรุจ พูลสุขโข
    การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัดสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองสมุทรสาคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัดสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองสมุทรสาคร ที่ปฏิบัติงานในปี 2542 จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. ความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัดสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองสมุทรสาคร ต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2.ข้อเสนอแนะพบว่า ข้อที่ข้าราชการตำรวจให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ผู้บังคับบัญชาต้องมีเทคนิคในการบริหารงานบุคคล และปรับปรุงในเรื่องสวัสดิการ รวมทั้งควรปรับปรุงระบบการบริหารงาน ตลอดจนควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข ส่งเสริม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในอันที่จะพัฒนางานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป
  • รายการ
    ปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
    (2543) ธนาโรจน์ ไทยานันท์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานตามลักษณะสถานภาพของผู้บริหารสาขาธนาคาร จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ โดยใช้แนวความคิดการบริหารงานของเซอร์โต้ 4 ด้าน คือ การวางแผน การจัดการองค์การ การชักนำ และการควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ผู้บริหารสาขาธนาคาร จำนวน 126 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยตัวกลางเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที เป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 27 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จากผลการวิจัย ปรากฏผลโดยสรุปดังนี้ 1. ปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยคือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์การ ด้านการควบคุม และด้านการชักนำ จากการพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้านพบว่าข้อที่เป็นปัญหาเป็นอันดับแรกในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านการวางแผนคือ การจัดเตรียมข้อมูลในการวางแผน ด้านการจัดการองค์การคือ การประสานงาน ด้านการชักนำคือ ความสามารถในการชี้แนะหรือจูงใจ ด้านการควบคุมคือ การจำกัดของเขตผู้ปฏิบัติงาน 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบว่าโดยภาพรวมและด้านการจัดการองค์การ ผู้บริหารสาขาธนาคารที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีปัญหาในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารสาขาธนาคารที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป 3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารสาขาธนาคารพาณิชย์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ที่มีประสบการณ์ไม่เกิน 5 ปี กับที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป พบว่าทุกด้านไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นผลจากการศึกษาครั้งนี้คือ ควรมีการจัดอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานสาขาธนาคารเพื่อหาระบบที่เหมาะสมในการบริหารงานของผู้บริหารสาขาต่อไป
  • รายการ
    ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก
    (2542) จักรกริช บุญประกาศิต
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก จำแนกตามตำแหน่งงาน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบในงาน เป็นอันดับที่ 1 การได้รับความยกย่องนับถือ เป็นอันดับที่ 2 การปกครองบังคับบัญชา เป็นอันดับที่ 3 และความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน เป็นอันดับที่ 4 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน ได้แก่ นโยบายของหน่วยงาน เป็นอันดับที่ 5 ความสำเร็จของงาน เป็นอันดับที่ 6 ความก้าวหน้าในการทำงาน เป็นอันดับที่ 7 ลักษณะของงาน เป็นอันดับที่ 8 สภาพการทำงาน เป็นอันดับที่ 9 และความมั่งคงในงาน เป็นอันดับที่ 10 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามตำแหน่งงาน และวุฒิการศึกษา พบว่าหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าพนักงานสินเชื่อ และเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
  • รายการ
    ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในจังหวัดชลบุรี
    (2542) จรียา กู้เมือง
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในจังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าตามภูมิหลังของลูกค้า ระยะเวลาการเป็นลูกค้า และสาขาที่ใช้บริการ 3) แสวงหาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ลูกค้าที่มาใช้บริการสาขาของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งพวกก่อน เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มาใช้บริการในแต่ละสาขาใกล้เคียงกัน จำนวน 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจด้านบุคลิกภาพของพนักงาน และความพึงพอใจด้านการให้บริการของพนักงาน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ดี มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .973 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจด้านบุคลิกภาพจากมากไปหาน้อยพบว่า บุคลิกภาพทางกาย มีค่เฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสติปัญญา อุปนิสัย กำลังใจ ทางสังคม อันดับสุดท้ายคือ อารมณ์ และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจด้านการให้บริการจากมากไปหาน้อยพบว่า การให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็วแม่นยำ มีค่เฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การให้บริการอย่างก้าวหน้า อันดับสุดท้ายคือ กาให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าตามภูมิหลังของลูกค้า ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาการเป็นลูกค้า และสาขาที่ใช้บริการ พบว่าลูกค้าที่มีอาชีพต่างกันและลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารต่างสาขากัน มีความพึงพอใจต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานแตกต่างกัน โดยลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 3 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาอื่น ๆ ยกเว้นสาขาที่ 9 เมื่อแยกพิจ่ารณาเฉพาะความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพของพนักงานพบว่า ลูกค้าเพศชายมีความพึงพอใจมากกว่าลูกค้าเพศหญิง และลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 3 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาอื่น ๆ ยกเว้นลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 7 และสาขาที่ 9 และเมื่อแยกพิจ่ารณาเฉพาะความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของพนักงานพบว่า ลุกค้าที่มีอาชีพอื่น ๆ มีความพึงพอใจมากกว่าลูกค้าที่มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 3 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาอื่น ๆ ยกเว้นลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 5 และสาขาที่ 9 และลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 9 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 2 และสาขาที่ 6 3. ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพของพนักงานที่พบมากที่สุดคือ พนักงานบางคนพูดจาห้วน ไม่สุภาพ รองลงมาคือ พนักงานบางคนหน้างอ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบุคลิกภาพของพนักงานคือ ควรยิ้มแย้ม ทักทายลุกค้าบ้างตามโอกาส และควรพูดจาให้สุภาพ สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการของพนักงานที่พบมากที่สุดคือ การให้บริการไม่เท่าเทียมกัน รองลงมาคือ พนักงานพูดคุยกันระหว่างทำงานทำให้การบริการล่าช้า ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของพนักงานคือ ควรให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน และควรให้บริการด้วยความตั้งใจและรวดเร็ว
  • รายการ
    การติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
    (2543) ขวัญใจ เภตราเสถียร
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิตทั้ง 2 หลักสูตร คือหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและศิลปศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการนำความรู้ไปปฏิบัติงาน ความคิดเห็นต่อองค์ประกอบในการจัดการศึกษาและคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาตามความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อคุณลักษณะทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ความสามารถ บุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์ของผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาของทั้ง 2 หลักสูตร และระหว่างผู้สำเร็จการศึกษาและผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานของผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ทั้งหมดตั้งแต่ปีการศึกษา 2538-2540 ที่สำเร็จการศึกษาภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 200 คน และผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 143 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีความเห็นว่าองค์ประกอบในการจัดการศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความเห็นของผู้สำเร็จการศึกษาจากทั้ง 2 หลักสูตรพบว่า มีความเห็นสอดคล้องกันทุกด้าน ยกเว้นด้านอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ห้องเรียน และด้านการประเมินผลการเรียน ส่วนความคิดเห็นต่อคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาปรากฏว่า ผู้สำเร็จการศึกษาจากทั้ง 2 หลักสูตรเห็นสอดคล้องกันทุกด้าน โดยด้านบุคลิกภาพและด้านมนุษยสัมพันธ์มีระดับการประเมินอยู่ในระดับดี แต่ด้านความรู้ความสามารถประเมินอยู่ในระดับพอใช้ นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาและผู้บังคับบัญชามีความเห็นสอดคล้องกันในด้านบุคลิกภาพและด้านมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมีระดับการประเมินอยู่ในระดับดี แต่ด้านความรู้ความสามารถนั้นผู้บังคับบัญชามีความเห็นว่าดี ในขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาเห็นว่าพอใช้ สำหรับปัญหาในการปฏิบัติงาน ทั้งผู้สำเร็จการศึกษาและผู้บังคับบัญชาเห็นตรงกันคือ ผู้สำเร็จการศึกษาขาดทักษะในการปฏิบัติงาน ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงาน ทำงานไม่ตรงสาขาที่เรียนมา และขาดความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่วนคุณลักษณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตพึงจะมีในทัศนะของผู้บังคับบัญชาใน 3 อันดับแรก ได้แก่ มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการทำงาน และเป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบ
  • รายการ
    ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองกำกับการ 2 กองตำรวจน้ำ
    (2545) อนันต์ ห่วงสายทอง
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองกำกับการ 2 กองตำรวจน้ำ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับขวัญและกำลังใจ คือ ปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ชั้นยศ และปัจจัยจูงใจที่ทำให้มีขวัญและกำลังใจ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน โอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ความเพียงพอด้านเงินเดือนและรายได้พิเศษ ความเหมาะสมด้านความรู้ความสามารถในตำแหน่งงานที่ปฏิบัติ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ สังกัดกองกำกับการ 2 กองตำรวจน้ำ จำนวน 204 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สมรสแล้ว ระดับการศึกษากว่าปริญญาตรี ระยะเวลาปฏิบัติงาน 10-20 ปี และมีชั้นยศเป็นชั้นประทวน ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการตำรวจ สังกัดกองกำกับการ 2 กองตำรวจน้ำ มีขวัญและกำลังใจอยู่ในระดับปานกลาง ขวัญและกำลังใจดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรส และปัจจัยจูงใจที่ทำให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน คือ ปัจจัยจูงใจที่ศึกาทั้งหมด