TLC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู TLC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "สิรินธร สินจินดาวงศ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม: รางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน(วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 2561-01) สิรินธร สินจินดาวงศ์; วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์; กรกฎ ผกาแก้วการพัฒนาอาจารย์เป็นการยกระดับคุณภาพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการเป็นอาจารย์วิธีหนึ่งคือ การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สรรหาและคัดเลือกอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน 2) มอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณ แก่อาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน กลุ่มเป้าหมาย เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยศรีปทุม มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จาก 11 คณะ รวมจำนวน 8 รางวัล ขั้นตอนดำเนินการวิจัยการดำเนินการคัดเลือกโดยคณะกรรมการพิจารณารางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน โดยมีการพิจารณาคัดเลือก 2 รอบ เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินคุณสมบัติอาจารย์ตามเกณฑ์รางวัลอาจารย์ดีเด่น วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการประเมินด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการสรรหาและคัดเลือกอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอนจำนวน 2 รอบ ดังต่อไปนี้ รอบที่ 1 ผลผ่านการคัดเลือกเข้าพิจารณารางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน รวม 9 คน ได้แก่ ประเภทอาจารย์อาวุโสดีเด่น 4 คน ประเภทอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น 5 คน รอบที่ 2 ผลการพิจารณาผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อสาธิตการสอน จำนวน 4 คน ได้แก่ ประเภทรางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น 2 คน ประกอบด้วย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาสังคมศาสตร์ และประเภทรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น จำนวน 2 คน ประกอบด้วย สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ 2) การมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณ แก่อาจารย์ดีเด่น ด้านการสอนทั้ง 2 ประเภท จัดขึ้นในวันประชุมบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อาจารย์ท่านอื่นๆและยกย่องให้เกียรติเพื่อให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อนอาจารย์อีกด้วยรายการ ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2562-09) ภารดร ดุลณกิจ; สิรินธร สินจินดาวงศ์; ชารี มณีศรีการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพ่ือศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียน รู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรม แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธี เชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จากตัวอย่างที่เป็นครูประจำโรงเรียนที่สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น รวม 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทุกปัจจัย โดยปัจจัย “การจัดการความรู้” มีค่าเฉลี่ยระดับเห็นด้วย มากในทุกปัจจัย โดยปัจจัย “การจัดการความรู้” มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X– = 4.24)รองลงมา โครงสร้างองค์กร” (X– = 4.21) และปัจจัย “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (X– = 4.21) 2) ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรม แห่งการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล ดังนี้ X2=116.92, df=109, p=0.28477, X2/df =1.0727, GFI=0.98, AGFI=0.96, RMR=0.017, RMSEA=0.012, CN=618.00 และพบว่าการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการ เรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนร ทางบวกผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อ องค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กร นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 องค์กรแห่ง การเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01