TLC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 6 ของ 6
  • รายการ
    การพัฒนาระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (2564-02-15) กรกฎ ผกาแก้ว; Korakot Pakakaew
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบ e-Certificate ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้กรอบแนวคิดตามวิธี SDLC และพัฒนาระบบในรูปแบบของ Web Application ด้วย Google Form และใช้ส่วนเสริม Add-ons Certify'emเป็นบริการของ Google ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมเดิมให้สูงขึ้น รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า ระบบที่ พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูล และเป็นการลดการใช้ทรัพยากรอีกทางหนึ่ง และยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตอีกด้วย และได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ได้ให้ความเห็นว่า ระบบ e-Certificate มีประโยชน์เป็นอย่างมาก และมีความพึงพอใจในความสวยงาม และน่าสนใจของรูปแบบ e-Certificate การเข้าถึงระบบทำได้ง่ายและรวดเร็ว การจัดรูปแบบของระบบง่ายต่อการใช้งาน ความพึงพอใจ ภาพรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.38
  • รายการ
    A Guideline on the Change Management in Thai Language Programs at Universities in Yunnan Province, China
    (International Journal of Managrmant, Business, and Economics, 2565-12) Li Yang; Waraporn Thaima; Sirinthorn Sinjindawong
    An important problem in the development of Thai language department at present is a number of executive’s lack of management leadership that reflects on educational management. The objectives of this research were to: 1) study the change management in Thai language discipline of universities in Yunnan, China, 2) find a guideline for the change management in Thai language discipline of universities in Yunnan, China; and 3) assess a management guideline for the change in Thai language courses of universities in Yunnan Province, China. A group chat was used as quantitative research, using a questionnaire. The 5-level estimation scale was a tool for collecting data. Samples in this research study were administrators, teachers and staffs. A total of 126 participants were randomized using multistage randomization. Data were analyzed using descriptive statistics by mean and standard deviation and content analysis. The results of the research revealed that a study on the change management in Thai language discipline of universities in Yunnan, China. An overall picture was that when considering the aspect from the highest to the least average, it was found that the top 4 were leadership of the executives, vision of the executives, personnel in change management, and change management structure, respectively. In addition, an assessment of the appropriateness and feasibility of the change management in Thai language discipline of universities in Yunnan, China found that the overall average was at a high level. Article 3 translates the vision of Thai language discipline into policies, plans, strategies, work plans, structures and activities, with approach questions number 6 open to opportunities. Engaging personnel to participate in the promotion and development of potential had the highest average with the highest mean (X = 4.60, S.D. = 0.55), followed by the first approach defining a vision that facilitates change. Managing work were resulted from the participation of personnel and Article 5 had a policy to create incentives set environment and create engagement of personnel. There were high averages (X = 4.40, S.D. = 0.55). The guidelines for the change management in Thai language discipline of universities in Yunnan, China were 6 items. In an overall, all items were appropriate and feasible.
  • รายการ
    แนวทางการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีเขต 3 ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
    (สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2565-12) ภควัต สมิธธ์; พรรณวสา สมิธธ์; สิรินธร สินจนดาวงศ์
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสุพรรณบรุ ีเขต 3 ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเลือกพื้นที่ทําการศึกษาโดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎีเป็นกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่ การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีเขต 3 และผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ด้วยการศึกษา เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร และจัดสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสารการสังเกตและจดบันทึก ผู้ให้ ข้อมูลหลัก คือผู้บริหารโรงเรียน โดยเลือกกลุ่มผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ต้องการศึกษาแบบเจาะจง (Purposive selection) โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก จํานวน 10 คน และการสนทนากลุ่มผู้บริหาร สถานศึกษาขนาดเล็ก 15 คน ผลการศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด สุพรรณบุรีเขต 3 ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันผู้บริหารสถานศึกษาจําเป็นที่จะต้องเรียนรู้ และส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในการบริหารการศึกษาทั้ง 4 ด้านได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป
  • รายการ
    ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
    (วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2562-09) ภารดร ดุลณกิจ; สิรินธร สินจินดาวงศ์; ชารี มณีศรี
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพ่ือศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียน รู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรม แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธี เชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จากตัวอย่างที่เป็นครูประจำโรงเรียนที่สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น รวม 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทุกปัจจัย โดยปัจจัย “การจัดการความรู้” มีค่าเฉลี่ยระดับเห็นด้วย มากในทุกปัจจัย โดยปัจจัย “การจัดการความรู้” มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X– = 4.24)รองลงมา โครงสร้างองค์กร” (X– = 4.21) และปัจจัย “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (X– = 4.21) 2) ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรม แห่งการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดล ดังนี้ X2=116.92, df=109, p=0.28477, X2/df =1.0727, GFI=0.98, AGFI=0.96, RMR=0.017, RMSEA=0.012, CN=618.00 และพบว่าการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการ เรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนร ทางบวกผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อ องค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กร นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 องค์กรแห่ง การเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • รายการ
    แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
    (วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2, 2561-07) พงษ์ชัย เพ็ญศักดิ์ณุสรณ์ และสิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดชลประทานรังสฤษดิ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารและอาจารย์สอนที่เป็นพระ และฆาราวาสจำนวน 21 รูป/คน ประกอบด้วย พระ 15 รูป และฆาราวาส 6 คน โดยผลการวิจัยพบว่า แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระพุทธศาสตราวันอาทิตย์ควรพัฒนาใน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร ควรเพิ่มหลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการปลูกฝังและเน้นย้ำเรื่องคุณธรรม ศีลธรรม 2) ด้านกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร ควรจัดทัศนศึกษาร่วมกับผู้ปกครอง 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรจัดทำแผนการสอน พร้อมทั้งคู่มือการสอนให้ผู้สอนทุกชั้น 4) ด้านสื่อการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ควรใช้เทคโนโลยีมาช่วยสอนให้มากยิ่งขึ้น 5) ด้านอาคารสถานที่ ควรให้ความสำคัญกับการจัดสถานที่ให้เหมาะสมแก่การเรียน ปรับปรุงสถานที่ให้ทันสมัย 6) ด้านการให้การสนับสนุนนักเรียน ให้ทุนแก่เด็กเรียนดี เพิ่มความหลากหลายของอาหารและจัดการคิวรับอาหารของนักเรียนให้เป็นระบบ
  • รายการ
    การพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม: รางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน
    (วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 2561-01) สิรินธร สินจินดาวงศ์; วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์; กรกฎ ผกาแก้ว
    การพัฒนาอาจารย์เป็นการยกระดับคุณภาพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการเป็นอาจารย์วิธีหนึ่งคือ การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สรรหาและคัดเลือกอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน 2) มอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณ แก่อาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน กลุ่มเป้าหมาย เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยศรีปทุม มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จาก 11 คณะ รวมจำนวน 8 รางวัล ขั้นตอนดำเนินการวิจัยการดำเนินการคัดเลือกโดยคณะกรรมการพิจารณารางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน โดยมีการพิจารณาคัดเลือก 2 รอบ เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินคุณสมบัติอาจารย์ตามเกณฑ์รางวัลอาจารย์ดีเด่น วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการประเมินด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการสรรหาและคัดเลือกอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอนจำนวน 2 รอบ ดังต่อไปนี้ รอบที่ 1 ผลผ่านการคัดเลือกเข้าพิจารณารางวัลอาจารย์ดีเด่น ด้านการสอน รวม 9 คน ได้แก่ ประเภทอาจารย์อาวุโสดีเด่น 4 คน ประเภทอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น 5 คน รอบที่ 2 ผลการพิจารณาผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อสาธิตการสอน จำนวน 4 คน ได้แก่ ประเภทรางวัลอาจารย์อาวุโสดีเด่น 2 คน ประกอบด้วย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาสังคมศาสตร์ และประเภทรางวัลอาจารย์รุ่นใหม่ดีเด่น จำนวน 2 คน ประกอบด้วย สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ 2) การมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณ แก่อาจารย์ดีเด่น ด้านการสอนทั้ง 2 ประเภท จัดขึ้นในวันประชุมบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยมีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัล เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อาจารย์ท่านอื่นๆและยกย่องให้เกียรติเพื่อให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อนอาจารย์อีกด้วย