CLS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า เพื่อลดความสูญเสียของอาหาร กรณีศึกษา: โซ่อุปทานไข่ผำ(วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 2567-04) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต มณีศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานไข่ผำ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ จำนวน 3 ราย ผู้ผลิต 1 ราย และลูกค้าจำนวน 28 ราย เกี่ยวกับกระบวนการเพาะเลี้ยง การ จัดเก็บ การบรรจุ และการจัดส่ง รวมถึงกระบวนการแปรรูปเพื่อการวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการขนส่งและการกระจายสินค้าทำให้เกิดการสูญเสียของไข่ผำสูงสุดถึง ร้อยละ 20 สาเหตุมาจากการส่งไข่ผำจากต่างจังหวัดเข้าสู่ลูกค้าในเมืองใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง บ่อยครั้งที่ ผลิตภัณฑ์เสียหาย เนื่องจากปัญหาความล่าช้า และการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ในงานวิจัยนี้ได้เสนอ แนวทางการจัดการขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อลดเวลาจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยเร็วที่สุด โดยการ เลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีหาจุดศูนย์กลางในการหาทำเลที่ตั้ง และเปรียบเทียบกับ ทำเลที่ตั้งทางเลือกอื่นด้วยเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ผลลัพธ์ที่ได้ทำเลที่ตั้ง 2 พื้นที่คือ ฝั่ง พระนคร ( 13.759923689101600, 100.564717795655000) และฝั่งธนบุรี(13.691066931265300, 100.472623747179000) ใช้เวลาส่งถึงลูกค้าภายใน 60 นาที สามารถแก้ปัญหาการสูญเสียไข่ผำในขั้นตอนนี้ ลงได้รายการ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรณีศึกษา: ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง(วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2566-08) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; นางสาววิมลภา ชุ่มดีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ 2) เพื่อประเมินศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว และ 3) เพื่อเสนอ แนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs โดยมุ่งเน้นเป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้ หลักการประเมินตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และประเมินศักยภาพเบื้องต้นด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวของกองโลจิสติกส์ กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษา ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 394 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า แบ่งเป็นขั้นตอนของการได้มาซึ่งวัตถุดิบ คิดเป็นร้อยละ 80.97 และขั้นตอนการผลิตคิดเป็น ร้อยละ 19.03 ผลการประเมินศักยภาพได้คะแนนรวม 69 คะแนน จากคะแนน เต็ม 85 คะแนน โดยคะแนนน้อยสุด ได้แก่ การจัดการบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุดิบ คะแนนมากที่สุด ได้แก่ การ วางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ การขนย้ายในกระบวนการผลิต และกระบวนการแปรรูป ดังนั้นข้อเสนอแนวทาง การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายการใช้ พลังงานทดแทน การสร้างความร่วมมือกับเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน