CLS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า เพื่อลดความสูญเสียของอาหาร กรณีศึกษา: โซ่อุปทานไข่ผำ(วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 2567-04) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต มณีศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานไข่ผำ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ จำนวน 3 ราย ผู้ผลิต 1 ราย และลูกค้าจำนวน 28 ราย เกี่ยวกับกระบวนการเพาะเลี้ยง การ จัดเก็บ การบรรจุ และการจัดส่ง รวมถึงกระบวนการแปรรูปเพื่อการวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการขนส่งและการกระจายสินค้าทำให้เกิดการสูญเสียของไข่ผำสูงสุดถึง ร้อยละ 20 สาเหตุมาจากการส่งไข่ผำจากต่างจังหวัดเข้าสู่ลูกค้าในเมืองใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง บ่อยครั้งที่ ผลิตภัณฑ์เสียหาย เนื่องจากปัญหาความล่าช้า และการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ในงานวิจัยนี้ได้เสนอ แนวทางการจัดการขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อลดเวลาจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยเร็วที่สุด โดยการ เลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีหาจุดศูนย์กลางในการหาทำเลที่ตั้ง และเปรียบเทียบกับ ทำเลที่ตั้งทางเลือกอื่นด้วยเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ผลลัพธ์ที่ได้ทำเลที่ตั้ง 2 พื้นที่คือ ฝั่ง พระนคร ( 13.759923689101600, 100.564717795655000) และฝั่งธนบุรี(13.691066931265300, 100.472623747179000) ใช้เวลาส่งถึงลูกค้าภายใน 60 นาที สามารถแก้ปัญหาการสูญเสียไข่ผำในขั้นตอนนี้ ลงได้รายการ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรณีศึกษา: ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง(วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2566-08) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี; นางสาววิมลภา ชุ่มดีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ 2) เพื่อประเมินศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว และ 3) เพื่อเสนอ แนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs โดยมุ่งเน้นเป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้ หลักการประเมินตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และประเมินศักยภาพเบื้องต้นด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวของกองโลจิสติกส์ กรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษา ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋อง มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 394 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า แบ่งเป็นขั้นตอนของการได้มาซึ่งวัตถุดิบ คิดเป็นร้อยละ 80.97 และขั้นตอนการผลิตคิดเป็น ร้อยละ 19.03 ผลการประเมินศักยภาพได้คะแนนรวม 69 คะแนน จากคะแนน เต็ม 85 คะแนน โดยคะแนนน้อยสุด ได้แก่ การจัดการบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุดิบ คะแนนมากที่สุด ได้แก่ การ วางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์ การขนย้ายในกระบวนการผลิต และกระบวนการแปรรูป ดังนั้นข้อเสนอแนวทาง การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาองค์กรสู่เป้าหมาย SDGs เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายการใช้ พลังงานทดแทน การสร้างความร่วมมือกับเกษตรกร การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนรายการ การพัฒนารหัสสถานที่และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ สำหรับการคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์(วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2565-01-01) อุทุมพร อยู่สุข และธรินี มณีศรีObjectives of this mixed method research were to develop location code and decision making system for logistics service provider selection. The research sample consisted of 10 key informants for develop location code from logistics service providers, logistics service users, academics, and relevant government agencies and 30 logistics service providers answer questionnaires for generate location code. The research instrument were questionnaire and interview form. The data was analyzed using content analysis and Analytic Hierarchy Process (AHP). Then, create a trial website for develop decision making system for logistics service provider selection. The research results indicated as follows: develop 30 location codes for logistics service provider then conduct to develop decision support system using Analytic Hierarchy Process (AHP). The 6 factors that affecting the decision on choosing logistics service provider including dependability, price, response, technology, customer service, organizational. The factor loadings ranking from the highest to the lowest were 0.299, 0.261, 0.221, 0.097, 0.074, and 0.048. This factor loading has been developed to website for service users to use as a tool for decision making in choosing logistics service providers.รายการ การวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัจจัยการล่าช้าและการตรงต่อเวลาของสายการบินแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซีย(วรสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 2563-06-01) บุญญวัฒน์ อักษรกิตต์; วรรษมนต์ สันติศิริ; อัศวิน วงศ์วิวัฒน์This research has objective 1) to study factor of delay aircraft 2) to study factor of on time aircraft and 3) to compare between delay factor and on time factor aircraft. Research methodology: we use random sampling to department of flight planning in one Airline of Asia Region which has 8 staffs and tools in this research is semi - structured interview which was valid by data triangulation. The result found that the most delay factor is air traffic control, passenger/baggage and weather, and technical respectively. The most on time aircraft is teamwork and air traffic control, weather, passenger/baggage, readiness of aircraft, and ramp service respectively. When compare between factor we found that the same factor are passenger/baggage, air traffic control, and weather.รายการ รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน(วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2563-01) ปณิตา แจ้ดนาลาว; ธรินี มณีศรีงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานและรูปแบบการ จัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อนำเสนอแนวทางให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สำหรับกลุ่มสินค้าเกษตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย จำนวน 1,447,678 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด สุพรรณบุรี 10 อำเภอ 369 แห่ง รวมสมาชิก 6,167 ราย โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 384 คน สำหรับงานวิจัย เชิงคุณภาพเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ดูแลกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประธานกลุ่มหรือตัวแทนของ กลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับละ 4 คน ได้แก่ ระดับดี ระดับ ปานกลาง และระดับปรับปรุง และลูกค้าของกลุ่มสินค้าเกษตร 10 คน เครื่องมือในการวิจัยสำหรับเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและใช้ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ หาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคทางสถิติของโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า การจัดการโซ่อุปทานผ่านความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์ มากที่สุด (Alpha=0.98) ประสิทธิภาพการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก และยังพบอีกว่า การที่วิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรจะประสบความสำเร็จและ ยั่งยืนได้นั้น วิสาหกิจชุมชนต้องมีการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดตั้งกลุ่มต้องมีความร่วมมือกันภายในผู้นำ และสมาชิก ร่วมกันนำทุนทางวัฒนธรรมของในชุมชนและท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าของกลุ่ม รวมทั้งต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่กำกับดูแลและภาคเอกชนและมีการจัดการอย่างเป็นระบบตั้งแต่ การวางแผนการจัดการโซ่อุปทานตั้งแต่การเริ่มต้นการผลิตสินค้าจนถึงการส่งมอบสินค้าที่ต้องมีการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า สิ่งสำคัญของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคือต้องสร้างให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและเชื่อถือใน คุณภาพของสินค้าของกลุ่ม รวมถึงการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรอย่างยังยื่นต้องมีการคำถึง สิ่งแวดล้อมของในชุมชน ช่วยการรักษาภาพลักษณ์ของชุมชน และกลุ่มต้องสามารถปรับการดำเนินการของกลุ่มได้ ทันท่วงทีกับสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คำสำคัญ การจัดการโซ่อุปทาน, วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มสินค้าการเกษตรรายการ แนวทางการจัดการการขนส่งด้วยโลจิสติกส์ควบคุมอุณหภูมิสำหรับสิ่งส่งตรวจ เพื่อสร้างความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ(2567-01) ชยพล ผู้พัฒน์, วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์, วิรัชญา จันพายเพ็ชร, ตวงยศ สุภีกิตย์บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อกำหนดและมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งแบบ ควบคุมอุณหภูมิ 2) ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติการขนส่งเลือดและสิ่งส่งตรวจ 3) แนวทางการจัดการการขนส่งด้วย โลจิสติกส์ควบคุมอุณหภูมิสำหรับสิ่งส่งตรวจ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยบริษัทขนส่งและ ผู้เกี่ยวข้องแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 หน่วยงาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม 2565-1 มีนาคม 2566 พบว่า 1) ข้อกำหนดและมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย มาตรฐาน คุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก มาตรฐานคุณภาพการขนส่งด้วยรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิ หลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการจัดเก็บและกระจายยา และบัญญัติกรมการขนส่งทางบก 2) ขั้นตอนการปฏิบัติการขนส่งสิ่งส่ง ตรวจที่มีข้อบกพร่อง ประกอบด้วย ขั้นตอนการเข้ารับ ตรวจสอบ และยืนยันคำขอรับบริการจัดส่งจากต้นทาง และ การวางแผนเส้นทาง พนักงานขับรถเข้ารับงานที่บริษัท หรือผ่านระบบ จัดเตรียมรถ หรือบรรจุภัณฑ์ควบคุม อุณหภูมิ เข้ารับสินค้าที่จุดต้นทางไปจนถึงปลายทาง หรือหน่วยตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ 3) แนวทางการ จัดการการขนส่งด้วยโลจิสติกส์ควบคุมอุณหภูมิสำหรับสิ่งส่งตรวจมีขั้นตอนสำคัญสูงสุด 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการปฏิบัติงานขนส่ง และขั้นตอนแผนตอบสนองในกรณีฉุกเฉินสำหรับการขนส่ง โดยนำขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สำคัญไปใช้ในการจัดการโลจิสติกส์สำหรับสิ่งส่งตรวจทางการแพทย์ขั้นสูง เช่น เลือด ไขกระดูก ชิ้นเนื้อเยื่อ ซึ่งในการเตรียม จัดเก็บ และขนส่งสิ่งส่งตรวจ จำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ระยะเวลาขนส่งที่จำกัด และต้องป้องกันตัววัสดุไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน เพื่อความปลอดภัยไปจนถึง ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ สร้างความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดรายการ โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย(วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2563-07) นริส อุไรพันธ์; ธรินี มณีศรี; ประสงค์ ปราณีตพลกรังการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่จะส่งผลต่อการคืนสภาพได้ทางด้านไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคืนสภาพได้ทางด้านไซเบอร์ของดิจิทัลซัพพลายเชน ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวน 400 ราย จากทั้งหมด 3,077,822 รายในประเทศไทย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการตอบแบบสอบถาม สรุปได้ว่า การคืนสภาพได้ทางไซเบอร์เป็นสภาวะที่องค์กรมีความทนทาน คล่องตัว มีความสามารถในการรับมือและฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างเร็วที่สุดหลังจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์