SPU Research
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Research โดย ผู้เขียน "กมล ชัยวัฒน์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (Organic Product)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553-07) กมล ชัยวัฒน์การศึกษาเรื่อง “การรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (Organic Product)” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ต่อเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ด้านการโฆษณา ด้านการขายโดยใช้พนักงานขาย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการตลาดแบบตรง ของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (Organic Product) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 400 ชุด ประมวลผลการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า Pearson ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ 5 จากผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ผู้บริโภคซื้อส่วนใหญ่ได้แก่สินค้าประเภทอาหารสด เช่น ผักและผลไม้สด สมุนไพรพื้นบ้านสำหรับรับประทาน เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปัจจัยทางการตลาดที่สำคัญ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้แก่ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ไว้เพื่อบริโภคเอง โดยเฉลี่ยซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ประมาณ2-3 ครั้ง/เดือน สถานที่ที่ผู้ตอบแบบสอบถามนิยมไปซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์มากที่สุดได้แก่ ห้างสรรพสินค้า (ซุปเปอร์มาร์เก็ต) วิธีในการพิจารณาในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้แก่ พิจารณาการรับประกันจากหน่วยงานต่าง ๆ (เช่น อย. มอก. ฮาลาล) เป็นต้น การโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการตลาดแบบตรง ส่งผลต่อการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ของผู้ประกอบการและทำให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์