SPU Research
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Research โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 264
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การอัดประจุถ่านไฟอัลคาไลน์แมงกานิส(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2540) ชาญชัย ภูริปัญโญ; ภรณี, วรรณศิริเพื่อหาวิธีการอัดประจุถ่านไฟอัลคาไลน์แมงกานีส เพื่อนำถ่านไฟอัลคาไลน์แมงกานิสกลับมาใช้งานใหม่ จนกระทั่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก...รายการ การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับการลงทะเบียบเรียนของภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2540) ชัชวาลย์ วรวิทย์รัตนกุล; จักรี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยารายการ พฤติกรรมการสื่อสารกับการรับรู้และการยอมรับที่มีต่อการป้องก้นการเสพยาอีของเยาวชนไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2542) จรัสลักษณ์ ภาคลักษณ์; สุดารักษ์ เนื่องชมภู; ทวีป เกษไชยเพื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะประชากรของวัยรุ่น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัวและเพื่อนสนิทของวัยรุ่น เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจาสื่อประเภทต่างๆ ของวัยรุ่น...รายการ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ต่อการพัฒนาองค์การ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2543) อริสรา เสริมแก้วเพื่อนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาปฏิบัติ ปัจจัยที่มีผลต่อการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาปฏิบัติ และทัศนคติต่อการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 มาปฏิบัติ...รายการ การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2544(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544) สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของมหาวิทยาลัยศรีปทุม เกี่ยวกับการหางานของบัณฑิต ...รายการ การติดตามผลมหาบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสำหรับนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2538-2542(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544) สมทรง, สีตลายัน; วิมวรรณา, ลีนะเสน; ประสงค์, ชิงชัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสถานภาพทั่วไปของมหาบัณฑิตก่อนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ความคิดเห็นของมหาบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาโท สำหรับนักบริหาร...รายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2544(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2544-01) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2544(2544-07) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ รายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2545(2545-01) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2545(2545-07) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการเรียนการสอนและการให้บริการของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2546(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2546) สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้ครอบคลุมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอน...รายการ การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ทัศนียภาพของเมืองบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2546) ธราดล เสาร์ชัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์ทัศนียภาพของเมือง ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์จากภาพถ่ายในอดีตเปรียบเทียบกับภาพถ่ายปัจจุบัน และคาดการณ์แนวโน้มของทัศนียภาพเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยระบบคอมพิวเตอร์...รายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2546(2546-01) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2546(2546-07) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ การศึกษาการใช้แบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์ธุรกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีแนวโน้มจะประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน(2547) พรวรรณ นันทแพศย์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการจำแนกกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มของความล้มเหลวทางการเงิน ( Failed ) กับธุรกิจที่มีแนวโน้มของความอยู่รอด ( Nonfailed ) และพัฒนาตัวแบบ ( Model ) สำหรับใช้ทำนายลักษณะของธุรกิจที่มีแนวโน้มของความล้มเหลวทางการเงินของธุรกิจ หรือแนวโน้มของความอยู่รอดของวิสาหกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อม ข้อมูลการศึกษาได้จากงบการเงินของธุรกิจ SMEs ประกอบด้วยกลุ่มบริษัทที่ประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน จำนวน 36 บริษัท และกลุ่มบริษัทที่มีแนวโน้มของความอยู่รอดจำนวน 36 บริษัท จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และบริษัทบิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมิถุนายน 2546 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยนี้ใช้สถิติการจำแนกประเภท ( Discriminant Analysis ) สำหรับการพัฒนาแบบจำลองสำหรับการจำแนกประเภทกลุ่มธุรกิจว่าจะประสบปัญหาทางการเงินหรือไม่ ผลจากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสำคัญและได้ถูกนำมาอยู่ในแบบจำลอง 3 อัตราส่วน เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1) กำไรสะสมต่อสินทรัพย์รวม ( Retained Earning to Total Assets Ratio ) , 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม ( Debt Ratio ) และ 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ( Return on Assets Ratio ) แบบจำลองที่พัฒนาได้สามารถพยากรณ์ใน 1 ปี ก่อนที่จะเกิดปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน ได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย 70.8 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำลดลงเหลือ 61.1 เปอร์เซ็นต์ ใน 2 ปี ก่อนที่จะประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้มีความแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้ แบบจำลองนี้มีความแม่นยำในการพยากรณ์ธุรกิจที่มีแนวโน้มของความอยู่รอดมากกว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มประสบปัญหาความล้มเหลวทางการเงิน นอกจากนี้การศึกษาในครั้งนี้ได้เสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปรายการ การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของนโยบายภาครัฐ : กรณีศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย(2547) สุภาวดี โพธิยะราชยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก จนปัจจุบันรัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกร ในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 300,000 ไร่ โดยผู้วิจัยได้เลือกศึกษา สำรวจ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจำนวน 133 ราย ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ อุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาสภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทน ทางการเงินในการลงทุนทำสวนยาง ตลอดจนหาอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรจังหวัดพะเยา และอุทัยธานี เป็นเกษตรกรกลุ่มแรกที่ได้เริ่มทดลองปลูกยางพารา โดยปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และมีรายได้จากการขายยางแผ่นสูงกว่าการเพาะปลูกพืชชนิดอื่น ทำให้อาชีพการทำสวนยางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับครอบครัว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ลดปัญหาการโยกย้ายแรงงานเข้ามาทำงาน ในเขตเมือง ลดปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย และยังช่วยให้พื้นที่ภาคเหนือมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามเกษตรกรชาวสวนยางได้พบปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจ ในการทำสวนยาง ขาดแคลนเงินทุน ในการซื้อปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ขาดข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด - ด้านราคาซื้อ - ขายยาง และปัญหาเรื่องการป้องกันไฟป่า เป็นต้น การลงทุนทำสวนยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือบนพื้นที่ 15 ไร่ เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้ออุปกรณ์ทำสวนยางพาราโดยเฉลี่ยประมาณ 46,116 บาท/ฟาร์ม และผลการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการทำสวนยางพารา พบว่า ยางพาราช่วงอายุ 8-10 ปี 11-14 ปี 15 - 20 ปี และ 21 ปีขึ้นไปให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 276.82 321.74 208.97 และ 155.60 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ราคายางแผ่นที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเท่ากับ 39.98 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อหักต้นทุนผันแปรและ ต้นทุนคงที่ต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรมีกำไรสุทธิทั้งหมด เท่ากับ 7,933.26 10,386.17 6,178.62 และ 4,127.89 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือบนพื้นที่ 15 ไร่ ระยะเวลาเพาะปลูก 25 ปี พบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 560,230.83 บาท อัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลได้กับมูลค่าปัจจุบันของต้นทุน (B/C) เท่ากับ 2.09 ที่อัตราคิดลด 7% และ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 16.76 ดังนั้น การประเมินค่าทางการเงินของการทำสวนยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือ ปีเพาะปลูก 2545/2546 ให้ผลว่าเป็นโครงการที่คุ้มค่าในการลงทุน และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการโดยกำหนดให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยกำหนดให้รายได้คงที่, รายได้ลดลงร้อยละ 10 โดยกำหนดให้ค่าใช้จ่ายคงที่, และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรายได้ลดลงร้อยละ 10 ผลการศึกษาพบว่า โครงการยังคงมีความเหมาะสมและ คุ้มค่าต่อการลงทุนในทุกกรณี สำหรับการวิเคราะห์หาอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน พบว่า ช่วงอายุยางพาราที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนมากที่สุดคือช่วงอายุ 21 ปี และราคาขั้นต่ำ ที่จะทำให้การลงทุนทำสวนยางพาราของเกษตรกรยังคงมีความคุ้มค่าในการลงทุน เท่ากับ 15.90 บาท/กิโลกรัม ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่ารัฐควรสนับสนุนการลงทุนในการปลูกยางพาราในภาคเหนือ เพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงของเกษตรกร โดยการให้ความรู้ด้านการผลิต สินเชื่อ และด้าน การตลาดผลผลิตรายการ การฟื้นฟูพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนที่อยู่อาศัยของรัฐ กรณีศึกษา: โครงการเมืองใหม่บางพลี วาระที่ 1 ของการเคหะแห่งชาติ(2547) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์; สุขุมาภรณ์, จงภักดีพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนที่อยู่อาศัยของรัฐ หรือพื้นที่ที่แต่เดิมมีไว้เพื่อการนันทนาการในชุมชน เป็นพื้นที่ที่ขาดการดูแลรักษา โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจ และอธิบายสภาพปัญหาดังกล่าวในเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของปัญหาใน 4 ประเด็นอย่างมีความสัมพันธ์กันได้แก่ 1) มิติทางกายภาพของพื้นที่ โดยศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้พื้นที่กับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ 2) มิติทางเศรษฐกิจ การเงิน และทรัพยากร โดยศึกษาสถานภาพทางด้านทรัพยากรของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดูแลพื้นที่ว่างสาธารณะ 3) มิติเชิงพฤติกรรมและสังคม โดยศึกษาพฤติกรรม แบบแผนและทัศนคติของผู้ใช้ พื้นที่ว่างสาธารณะในแง่มุมต่างๆ และ 4) มิติเชิงสถาบัน โดยศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ในแง่มุมต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนได้เสียในประเด็นการฟื้นฟูพื้นที่ว่างสาธารณะ เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสหวิทยาการ ที่ใช้มุมมองต่อปัญหาในหลายมิติ ทำให้วิธีการวิจัยต้องอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงลึกไปตามแต่ชนิดของมิติที่วิเคราะห์ โดยอาศัยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในการอธิบายปัญหาและความสัมพันธ์ของปัญหาในภาพรวม ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ว่างสาธารณะขาดการดูแลรักษาคือ ปัญหาด้านประสิทธิภาพของการจัดการของหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ อันเนื่องมาจากประชากรที่มีมาก เกินกว่าที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะดูแลได้ รวมทั้งความขัดแย้งของหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ฯ เนื่องจากมีความทับซ้อนของบทบาท หน้าที่ ตลอดจนถึงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ที่ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผังการใช้พื้นที่เดิมรายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2547(2547-01) มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2547(2547-07) มหาวิทยาลัยศรีปทุม