SPU Research
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Research โดย ผู้เขียน "การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ คำศัพท์เฉพาะทางดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมชาวมอญในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี(2550) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามประเด็นศึกษากับวัฒนธรรมทางด้านดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมของชาวมอญในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งการศึกษา รวบรวมและจัดหมวดหมู่คำศัพท์และวิเคราะห์คำศัพท์เฉพาะทางดนตรีตามหลักภาษาไทย ผลการวิจัยพบดังนี้ 1. ประวัติทั่วไป ประวัติดั้งเดิมของชาวมอญจังหวัดปทุมธานีอพยพมาจากเมืองเมาะตะมะ ปัจจุบันมีชาวมอญอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก 2. ความเป็นมาของวงดนตรีในชุมชนชาวมอญ วงดนตรีมอญเก่าแก่ของจังหวัดมาจาก 2 ตระกูล คือ ตระกูลดนตรีเสนาะและดนตรีเจริญ ปัจจุบันพบว่ามีวงดนตรีเพิ่มขึ้นหลายวงและหลากหลายรูปแบบ มีทั้งวงดนตรีมอญดั้งเดิม วงดนตรีมอญผสมไทย และวงดนตรีไทย 3. วิธีการถ่ายทอดของบุคคลดนตรี ในอดีตจะสอนในบ้านให้กับบุคคลในตระกูลและเป็นการถ่ายทอดโดยใช้วิธีท่องจำ และด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปปัจจุบันพบว่ามีการสอนนอกบ้านมากขึ้นโดยเฉพาะตามสถานศึกษา เป็นการถ่ายทอดดนตรีให้กับบุคคลนอกตระกูลโดยใช้วิธีการถ่ายทอดแบบมีตัวโน้ต 4. บทบาทของบุคคลดนตรีพบว่า มีบทบาทด้านการสืบทอดประวัติศาสตร์วงดนตรีมอญ การสืบทอดและการเผยแพร่ดนตรีทั้งในและนอกชุมชน การอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญ การส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนชาวมอญ และการเสริมสร้างชื่อเสียงให้แก่สังคมและวัฒนธรรมไทย 5. ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในชุมชน ประเพณีที่สำคัญของนักดนตรีคือ การไหว้ครู ส่วนพิธีกรรมสำคัญที่ต้องใช้ดนตรีปี่พาทย์มอญเป็นหลัก คือพิธีรำผี พิธีศพ ทะแยมอญ และมอญรำ นอกจากนี้ก็สามารถใช้ดนตรีบรรเลงได้ในเทศกาลทั่วไป 6. ดนตรีและเพลงที่ปรากฏในชุมชนชาวมอญ พบว่าวงดนตรีหลักยังคงเป็นดนตรีปี่พาทย์มอญ ส่วนเพลงที่นำมาบรรเลงปัจจุบันมีทั้งเพลงเก่าและใหม่ บรรเลงได้ทั้งในงานมงคลและอวมงคล แต่ถ้าเป็นเพลงมอญดั้งเดิม ส่วนใหญ่ใช้เฉพาะวงปี่พาทย์มอญ และนิยมบรรเลงในงานอวมงคล 7. คำศัพท์เฉพาะทางดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมของชาวมอญพบว่า มีจำนวน 256 คำ แบ่งเป็นหมวดตัวอักษร 26 หมวด จำนวนคำภาษาไทย จำนวน 202 คำ และคำภาษามอญ จำนวน 54 คำ ผลการวิเคราะห์ชนิดของคำตามหลักภาษาไทย พบว่ามี 3 ชนิด คือ คำนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ คำศัพท์เหล่านี้ส่วนมากมีความหมายเฉพาะในทางดนตรีที่แตกต่างจากความหมายในพจนานุกรม มีเพียงบางคำเท่านั้นที่มีความหมายสอดคล้องและใกล้เคียงเป็นไปตามหลักเดียวกับในพจนานุกรมรายการ คำศัพท์เฉพาะทางดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมชาวมอญในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี(2550) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามประเด็นศึกษากับวัฒนธรรมทางด้านดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมของชาวมอญในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งการศึกษา รวบรวมและจัดหมวดหมู่คำศัพท์และวิเคราะห์คำศัพท์เฉพาะทางดนตรีตามหลักภาษาไทย ผลการวิจัยพบดังนี้ 1. ประวัติทั่วไป ประวัติดั้งเดิมของชาวมอญจังหวัดปทุมธานีอพยพมาจากเมืองเมาะตะมะ ปัจจุบันมีชาวมอญอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก 2. ความเป็นมาของวงดนตรีในชุมชนชาวมอญ วงดนตรีมอญเก่าแก่ของจังหวัดมาจาก 2 ตระกูล คือ ตระกูลดนตรีเสนาะและดนตรีเจริญ ปัจจุบันพบว่ามีวงดนตรีเพิ่มขึ้นหลายวงและหลากหลายรูปแบบ มีทั้งวงดนตรีมอญดั้งเดิม วงดนตรีมอญผสมไทย และวงดนตรีไทย 3. วิธีการถ่ายทอดของบุคคลดนตรี ในอดีตจะสอนในบ้านให้กับบุคคลในตระกูลและเป็นการถ่ายทอดโดยใช้วิธีท่องจำ และด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปปัจจุบันพบว่ามีการสอนนอกบ้านมากขึ้นโดยเฉพาะตามสถานศึกษา เป็นการถ่ายทอดดนตรีให้กับบุคคลนอกตระกูลโดยใช้วิธีการถ่ายทอดแบบมีตัวโน้ต 4. บทบาทของบุคคลดนตรีพบว่า มีบทบาทด้านการสืบทอดประวัติศาสตร์วงดนตรีมอญ การสืบทอดและการเผยแพร่ดนตรีทั้งในและนอกชุมชน การอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญ การส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนชาวมอญ และการเสริมสร้างชื่อเสียงให้แก่สังคมและวัฒนธรรมไทย 5. ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในชุมชน ประเพณีที่สำคัญของนักดนตรีคือ การไหว้ครู ส่วนพิธีกรรมสำคัญที่ต้องใช้ดนตรีปี่พาทย์มอญเป็นหลัก คือพิธีรำผี พิธีศพ ทะแยมอญ และมอญรำ นอกจากนี้ก็สามารถใช้ดนตรีบรรเลงได้ในเทศกาลทั่วไป 6. ดนตรีและเพลงที่ปรากฏในชุมชนชาวมอญ พบว่าวงดนตรีหลักยังคงเป็นดนตรีปี่พาทย์มอญ ส่วนเพลงที่นำมาบรรเลงปัจจุบันมีทั้งเพลงเก่าและใหม่ บรรเลงได้ทั้งในงานมงคลและอวมงคล แต่ถ้าเป็นเพลงมอญดั้งเดิม ส่วนใหญ่ใช้เฉพาะวงปี่พาทย์มอญ และนิยมบรรเลงในงานอวมงคล 7. คำศัพท์เฉพาะทางดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมของชาวมอญพบว่า มีจำนวน 256 คำ แบ่งเป็นหมวดตัวอักษร 26 หมวด จำนวนคำภาษาไทย จำนวน 202 คำ และคำภาษามอญ จำนวน 54 คำ ผลการวิเคราะห์ชนิดของคำตามหลักภาษาไทย พบว่ามี 3 ชนิด คือ คำนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ คำศัพท์เหล่านี้ส่วนมากมีความหมายเฉพาะในทางดนตรีที่แตกต่างจากความหมายในพจนานุกรม มีเพียงบางคำเท่านั้นที่มีความหมายสอดคล้องและใกล้เคียงเป็นไปตามหลักเดียวกับในพจนานุกรม