GEN-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ) โดย ผู้เขียน "บงกช ธนวงศ์วิสูตร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การวิเคราะห์ผลการออกรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาล(สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) อำนาจ วังจีน; บงกช ธนวงศ์วิสูตรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความถี่ในการเกิดขึ้นของเลขในหลักที่ 1 – 6 นับจากหลักหน่วย 2) การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวเลขในหลักที่ 1 – 6 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขในหลักที่ 1 – 6 ใช้ข้อมูลผลการออกฉลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ 1 ย้อนหลัง 20 ปี จำนวน 478 งวด สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน สถิติทดสอบ t สถิติทดสอบ chi-square และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) ความถี่ในการออกเลขในหลักที่ 1 - 6 ค่อนข้างแตกต่างกัน โดยหลักที่หกเลขที่ออกบ่อยที่สุดได้แก่ 1, 5 และ 9 หลักที่ห้าตัวเลขที่ออกบ่อยที่สุดคือ 1 หลักที่สี่ตัวเลขที่ออกบ่อยที่สุดคือ 6 หลักที่สามตัวเลขที่ออกบ่อยที่สุดคือ 3 และ 4 หลักที่สองตัวเลขที่ออกบ่อยที่สุดคือ 5 และ หลักที่หนึ่งตัวเลขที่ออกบ่อยที่สุดคือ 7 และเป็นหลักที่มีร้อยละของตัวเลขที่เกิดบ่อยที่สุดคือ 7 และเกิดน้อยที่สุดแตกต่างกันสุงที่สุด 2) การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวเลขทั้ง 6 หลักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับค่าเฉลี่ยของการแจกแจงแบบยูนิฟอร์มที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อทดสอบการแจกแจงด้วยสถิติทดสอบไค-สแควร์ พบว่าตัวเลขในหลักที่ 2 – 6 มีการแจงแจงความน่าจะเป็นแบบยูนิฟอร์ม ส่วนตัวเลขในหลักที่ 1 (หลักหน่วย) มีการแจกแจงแตกต่างไปจากการแจงแจงแบบยูนิฟอร์มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 3) ตัวเลขทั้ง 6 หลักไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ สรุปได้ว่าผลการออกรางวัลที่หนึ่ง ตั้งแต่หลัก 2 – 6 (นับจากทางซ้าย) เป็นไปอย่างสุ่มด้วยการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม ส่วนเลขหลักที่ 1 หรือตัวสุดท้ายของรางวัลที่ 1 มีการแจกแจงไม่เป็นแบบยูนิฟอร์มจะเด่นที่เลข 7 และด้อยที่เลข 9