S_PAY-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู S_PAY-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ผู้เขียน "สมชาย จันทปัญญา"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหากฎหมายและอุปสรรคเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรม(2556-06-03T07:52:17Z) สมชาย จันทปัญญาตามที่รัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ประชาชนมากกว่าร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลพลอยได้ที่สำคัญนอกเหนือจากผลผลิตการเกษตรก็คือ ชีวมวลซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือใช้จากการเกษตรปีละจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง และทะลายปาล์ม เป็นต้น ที่สามารถนำมาใช้งานในการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกทั้งการที่พลังงานชีวมวลมีราคาถูกว่าพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นถือเป็นแรงจูงใจให้กับนักลงทุนพร้อมที่จะลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานชีวมวล โดยการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานชีวมวลให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าของภาครัฐและลดหนี้สินของภาครัฐ แต่ทั้งหมดนี้จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในทางพาณิชย์ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี การจัดการ และแหล่งของชีวมวลต่างๆ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลอย่างจริงจัง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อวิจัยปัญหากฎหมายและอุปสรรคการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลจากภาครัฐ และวิจัยถึงผลกระทบจากการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย