S_PAY-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 19 ของ 19
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจำนองรถยนต์
    (2558-09-09T11:45:53Z) พลกฤษณ์ ตันติชัยนุสรณ์
    ปัจจุบันสินเชื่อโดยใช้รถยนต์เป็นหลักประกันการชำระหนี้มักจะทำในรูปแบบของสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งผลของการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจะทำให้ผู้เช่าซื้อสามารถใช้ประโยชน์รถของตนเองได้โดยไม่ต้องส่งมอบให้แก่เจ้าหนี้ และต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2551 โดยกำหนดให้รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้ว รถพ่วง รถบดถนน และรถแทรคเตอร์ที่จดทะเบียนแล้วให้เป็นทรัพย์สินประเภทที่จำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามกฎหมาย การนำรถยนต์มาจำนองเป็นประกันหนี้นั้น พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 15) พ.ศ.2551 ได้เพิ่มเติมมาตรา 17/1 เพียงมาตราเดียว แต่หลักเกณฑ์การจำนองรถยนต์มีขั้นตอนเป็นอย่างไรไม่มีการกล่าวไว้ให้ชัดเจน ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจำนองที่มีใช้บังคับเป็นหลักทั่วไปคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 12 ตั้งแต่มาตรา 702 ถึง มาตรา มาตรา 746 ซึ่งรถยนต์เป็นทรัพย์สินที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อเป็นยานพาหนะในการขนส่ง หรือขนถ่ายสินค้า รวมทั้งใช้ในกิจการงานก่อสร้าง เป็นต้น จึงทำให้รถยนต์มีกฎหมายควบคุมเป็นการเฉพาะคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 แต่กฎหมายดังกล่าวเป็นเพียงกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้บังคับควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บค่าภาษีประจำปีเท่านั้น จึงทำให้ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการจำนองรถยนต์เป็นประกันได้ตามกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การนำรถยนต์มาจำนองเป็นประกันหนี้จะต้องมีการดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถทำให้มีการจำนองรถยนต์เกิดขึ้นได้ตามกฎหมาย และสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
  • รายการ
    อิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
    (2557-11-26T10:00:04Z) ทิวา เทียนเบ็ญจะ
    การศึกษาอิทธิพลการพยากรณ์ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ของกลุ่มพนักงานที่ส่งผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อค่านิยมในการทำงานของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันในการทำงาน 4) เพื่อศึกษาปัจจัย คุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ที่มีอิทธิพลในการพยากรณ์ ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในองค์กรที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามในการวิจัย จำนวน 5 ส่วน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test, ANOVA และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากการศึกษาทำให้ทราบว่า พนักงานในองค์กรผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง และมีอายุระหว่าง 18 - 35 ปี (Generation Y) มีสถานภาพสมรส / อยู่ด้วยกัน และพนักงานส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า รวมถึงมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 50,000 บาท มีอายุงานในองค์การปัจจุบัน ระหว่าง 0 - 3 ปี และเป็นพนักงานระดับชั้นต้น /บริการ อีกทั้งอยู่ใน ระดับปฏิบัติการ (ระดับ1-5) และจากการศึกษาทำให้ พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน และ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง รวมถึงมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง จากการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานในองค์กรที่ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ค่านิยมในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์การปัจจุบัน และระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ คุณภาพชีวิตในการทำงาน แตกต่างกัน และด้านอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์การปัจจุบัน ระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ ค่านิยมในการทำงานแตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงานในองค์กรปัจจุบัน และระดับตำแหน่งที่ต่างกันส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานแตกต่างกัน ในการทดสอบการพยากรณ์พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้านความรอบรู้ในงาน ด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และด้านการมาทำงานและตรงต่อเวลา และปัจจัยค่านิยมในการทำงาน มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงาน และมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงาน ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพงาน ด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านความประพฤติและการปฏิบัติงานตามระเบียบวินัย ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ และด้านการพัฒนาตนเอง รวมถึง ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กร มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานและมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานด้านความสามารถในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านความสามารถในการเรียนรู้งานใหม่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการมาทำงานและตรงต่อเวลา ด้านการพัฒนาตนเอง
  • รายการ
    ปัญหาในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ศึกษากรณีประโยชน์เพิ่มจากการจ้างแรงงาน) : PROBLEMS IN IMPOSING PERSONAL INCOME TAX(STUDY OF EXTRA GAIN DERIVED FROM EMPLOYMENT)
    (2556-06-29T09:52:55Z) กุศล สังขนันท์
    ประเทศไทยจะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงประมวลรัษฎากรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์เพิ่มที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี หรือกรณีใดไม่เป็นประโยชน์เพิ่มให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี โดยให้มีความจำเป็นในการที่จะต้องใช้การตีความให้น้อยที่สุด ฉะนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกรณีประโยชน์เพิ่มเป็นไปโดยมาตรฐานเดียวกัน จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรโดยการให้มีการนิยามความหมายของคำว่าเงินได้ และคำว่าประโยชน์อื่นใดหรือประโยชน์เพิ่มให้มีความชัดเจน
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายในการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย : THE LEGAL PROBLEMS IN CONSUMER PROTECTION TRIAL IN THAILAND
    (2556-06-29T09:41:09Z) สุภัทร แสงประดับ
    ศึกษาวิจัยระบบการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งจะเป็นการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคเพื่อรักษาสิทธิของตนได้อย่างแท้จริงแล้วหรือไม่ โดยศึกษาวิจัยตั้งแต่กระบวนการก่อนนำคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งกระบวนการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม โดยเฉพาะระบบการฟ้องและการพิจารณาคดีผู้บริโภค การอุทธรณ์และฎีกา วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล และการได้รับชดใช้เยียวยาในคดีผู้บริโภค
  • รายการ
    การควบคุม กากับ และดูแล ธุรกิจเคเบิลทีวีในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการโฆษณา : CONTROL AND SUPERVISION OF CABLE TELEVISION BUSINESS IN THAILAND : CASE STUDY ON ADVERTISING BROADCAST
    (2556-06-29T09:35:00Z) สร้อย ไชยเดช
    กฎหมายฉบับปัจจุบันที่ใช้ในการควบคุม กำกับ และดูแล ธุรกิจเคเบิลทีวีในประเทศไทย ยังมีปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนหรือครอบคลุมเพียงพอต่อความเจริญก้าวหน้าในยุคสมัยนี้
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายในการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ : ศึกษากรณี บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย : LEGAL MEASURES ON DEBT RESTRUCTURING OF FINANCIALINSTITUTIONS AS CREDITORS : CASE STUDIES ON THAI ASSET MANAGEMENT CORPORATION
    (2556-06-29T08:41:11Z) อาทิตย์ คงไทย
    ศึกษาวิจัยแนวคิดและหลักการของ บสท.ในเรื่องการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ด้วยวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยแสดงถึงความจำเป็นและความสำคัญในการดำเนินการวิจัย รวมไปถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยในครั้งนี้ รวมทั้งศึกษาถึงหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และทฤษฏีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปรับโครงสร้างหนี้ ตลอดจนหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่เริ่มต้นตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และแนวคิดและวิวัฒนาการในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์จนถึงการจัดตั้งหน่วยงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยในที่สุด
  • รายการ
    ปัญหาการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม : ศึกษากรณี การจัดเก็บค่าตอบแทนซ้าซ้อนจากผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ :PROBLEMS ON COPYRIGHT LICENSING OF MUSICAL WORKS : A CASE STUDY ON DUPLICATE COLLECTION OF ROYALTIES FROM COPYRIGHT USER
    (2556-06-29T08:30:20Z) ณัฏฐ์อัณณ์ ปาวสานต์
    มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาในการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมและการจัดเก็บค่าตอบแทนซ้ำซ้อนในงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียง เพื่อหาสาเหตุของปัญหา และเพื่อวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการอนุญาตให้ใช้สิทธิและการจัดเก็บค่าตอบแทนว่ามีความเหมาะสมเพียงใด รวมถึงเสนอมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคต
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 : LEGAL MEASURES FOR THE ENFORCEMENT OF LAND DEVELOPMENT LAWS UNDER THE LAND DEVELOPMENT ACT, B.E. 2543
    (2556-06-29T08:17:13Z) กนกอร พันธ์อุดม
    การตีความกฎหมายตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการ จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ว่ามีเหตุใดที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการควบคุม การจัดระเบียบในการจัดสรร ที่ดินของเอกชนโดยรัฐ มีเหตุใดที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในธุรกิจการจัดสรรที่ดินและ มีเหตุใดที่ประชาชนผู้ซื้อที่ดินจัดสรรอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง พร้อมพิจารณาเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินพ.ศ.2543 ซึ่งปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ความพึงพอใจในงานของพนักงานและความพึงพอใจของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอาคารสำนักงาน
    (2556-06-28T12:13:57Z) อธิตานันท์ ลิ้มสังคมเลิศ
    เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของพนักงาน และความพึงพอใจของพนักงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของนักศึกษา
  • รายการ
    การจัดการใช้เครื่องทำน้ำเย็นในลานน้ำแข็งเพื่อการประหยัดพลังงาน : CHILLER OPERATION MANAGEMENT IN ICE RINK FOR ENERGY SAVING
    (2556-06-28T09:50:59Z) ธนาธิษณ์ ห้าวหาญ
    การศึกษาระบบการทำงานของลานน้ำแข็ง ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ลาดพร้าว เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการลดพลังงานไฟฟ้า โดยกระบวนการศึกษา จัดแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก การประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบการทำงานของลานน้ำแข็งด้วยการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดค่าตัวแปรพลังงานไฟฟ้า และแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล
  • รายการ
    นโยบายภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนและกากับดูแลต่อธุรกิจขายตรงในประเทศไทย GOVERNMENT POLICY ON PROMOTING AND REGULATING DIRECT SALE BUSINESS IN THAILAND
    (2556-06-13T11:29:25Z) รชยา ศุภนราพรรค์
    เพื่อศึกษาถึงผลกระทบในการสนับสนุนและการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีต่อการดำเนินธุรกิจขายตรง และศึกษาถึงนโยบายของภาครัฐที่มีผลกระทบต่อนักธุรกิจขายตรงในประเทศไทย และผู้บริโภค
  • รายการ
    การจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน: CONSTRUCTION WASTE MANAGEMENT FORSUSTAINABLE ENVIRONMENT
    (2556-06-10T10:47:59Z) โชคดี ยี่แพร่
    การศึกษาการจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในโครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะจากการก่อสร้าง 2)ศึกษากระบวนการจัดการขยะจากการก่อสร้าง และ 3) นำเสนอแนวทางในการจัดการขยะของโครงการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้จัดการโครงการ วิศวกรโครงการ วิศวกรควบคุมงาน หรือบุคคลที่รับรู้สถานการณ์หน้างาน จากโครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทอาคารพักอาศัย ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีกลุ่มตัวอย่างในส่วนของการสัมภาษณ์จำนวน 30 ตัวอย่าง และในส่วนการออกแบบสอบถามจำนวน 61 ตัวอย่าง
  • รายการ
    การศึกษาแนวทางการคิดงานเปลี่ยนแปลง งานก่อสร้างอาคารสูงของสัญญา จ้างเหมาก่อสร้าง ในหน่วยงานเอกชน : THE ESTIMATE OF VARIATION ORDER IN LUMP-SUM CONTRACT OF HIGH RISE BUILDING
    (2556-06-10T10:05:06Z) ฉัตรชัย มงคลหมู่
    การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการคิดงานเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างในประเทศไทย พบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือปัญหาในเรื่องวิธีการวัดปริมาณงาน วิธีการวัดปริมาณงานสำหรับอาคารในประเทศไทยยังไม่มี มาตรฐานกลางในการใช้ประกอบการทำงาน ทำให้แต่ละฝ่ายกำหนดรูปแบบวิธีการวัดปริมาณขึ้นเอง รวมทั้งในสัญญาก่อสร้างก็ไม่ได้ระบุแนวทางการคิดปริมาณงานเปลี่ยนแปลงไว้อย่างชัดเจนด้วย งานวิจัยนี้ได้ศึกษาแนวทางการคิดปริมาณงานเปลี่ยนแปลงในส่วนของงานที่มีผลกระทบในเรื่องงบประมาณงานก่อสร้าง ของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมีฝ่ายเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้บริหารโครงการ และฝ่ายผู้รับเหมา จากผลการศึกษาพบว่า วิธีการวัดปริมาณเนื้องานที่บริษัทผู้รับเหมาและบริษัทที่ปรึกษาใช้อ้างอิงในการดำเนินงาน ส่วนมากใช้มาตรฐานตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
  • รายการ
    การจัดการใช้เครื่องทำน้ำเย็นในลานน้ำแข็งเพื่อการประหยัดพลังงาน : CHILLER OPERATION MANAGEMENT IN ICE RINK FOR ENERCY
    (2556-06-10T09:31:43Z) ธนาธิป ห้าวหาญ
    การศึกษาระบบการทำงานของลานน้ำแข็ง ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการประหยัดพล้งงานไฟฟ้าโดยกระบวนการศึกษา จัดแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก การประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบการทำงานของลานน้ำด้วยการใช้อุปกรณ์ ตรวจวัดค่าตัวแปรพลังงานไฟฟ้า และแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล
  • รายการ
    แผนการปฏิบัติงานเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า กรณีศึกษาแผนกจ่ายกลาง โรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางACTION PLAN OF AUTOCLAVE MACHINE IMPLEMENTATION FORENERGY SAVING. CASE STUDY : CENTER SUPPLY DIVITION MEDIUM-SIZED PRIVATE HOSPITAL.
    (2556-06-06T11:08:01Z) เกริกรัฐ ตั้งวงษ์อุทัย
    ศึกษาการจัดทำแผนปฏิบัติงานของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยการติดตั้งเครื่องมือในการวัดพลังงานการใช้กำลังทางไฟฟ้าของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค เพื่อวิเคราะห์จากตัวแปรที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ เวลาในการทำงานของเครื่อง ระยะเวลาในการทำอุณหภูมิหลังจากการปิดเครื่องหรือการเปิดเตรียมความพร้อมใช้งานของเครื่อง (Standby) ไว้จนถึงกำหนดที่ 135 ๐C และกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในช่วงเวลาต่างๆเพื่อตอบทดสอบตามสมมติฐานที่ว่า “การบริหารจัดการเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค (Autoclave) โดยวิธีการปิดเมื่อไม่มีการใช้งานและเปิดเครื่องใหม่เมื่อมีการใช้งานจะช่วยให้ เกิดการประหยัดพลังงานได้มากกว่าวิธีการเปิดเตรียมความพร้อมใช้งานของเครื่อง(Standby)ไว้ ตลอดวัน” แล้ววัดค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละช่วงเวลาทุก 5 นาทีจนครบ 1 ชั่วโมงแล้วบันทึกเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
  • รายการ
    การใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้ากับรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย : THE APPLICATION OF COMPETITION LAW TO STATE ENTERPRISES IN THAILAND
    (2556-06-06T08:20:03Z) สุนันทา จันทร์แก้ว
    ศึกษาวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า(ฉบับที่..) พ.ศ....ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความใน(2)ของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 โดยกำหนดมิให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่การกระทำของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เว้นแต่รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งประกอบธุรกิจบางประเภทเป็นทางการค้าปกติแข่งขันกับเอกชน
  • รายการ
    อิทธิพลในการทำนายของปัจจัยค่าตอบแทน การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่มีต่อความ ผูกพันของบุคลากร: กรณีศึกษาของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี THE INFLUENT FACTORS OF COMPENSATION PERCEIVED ORGANIZATIONJUSTICE PREDICTING EMPLOYEE ENGAGEMENT: A CASE STUDY OF NURSE IN THE RATCHABURI HOSPITAL.
    (2556-06-05T11:07:25Z) อาภานรี สื่อสุวรรณ
    เพื่อศึกษา อิทธิพลในการทำนายปัจจัยค่าตอบแทนและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของบุคลากรและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ กรณีศึกษา บุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลราชบุรี ทำการสุ่มตัวอย่างจากจำนวน 900 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability sampling) ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1 ชุด แบ่งเป็น 5 ตอน ประกอบด้วย 1)ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ค่าตอบแทนทั้งหมด 3)การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ 4) ความผูกพันของบุคลากร และ 5) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งชุด เท่ากับ .962 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพุคูณ
  • รายการ
    อิทธิพลในการทำนายของปัจจัยการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงานงาน และความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา ของบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด(มหาชน)THE INFLUENT FACTORS OF PERCEIVED ORGANIZATION CULTURE, JOB SATISFACTION AND ORGANIZATION COMMITMENT PREDICTING EMPLOYEES’ WORK BEHAVIOR:A CASE STUDY OF THE VIRIYAH INSURANCE PUBLIC CO., LTD
    (2556-06-03T12:48:46Z) ไพสิทธิ์ กอสง่าลักษณ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้วัฒน ธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการปฎิบัติงานของพนักงานบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด(มหาชน) และอิทธิพลในการทำนายของปัจจัยการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด(มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานของบริษัท วิริยะประกันภัย จำนวน 364 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติต่างๆ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติความถดถอยพหุคูณแบบปกติ
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายและอุปสรรคเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในอุตสาหกรรม
    (2556-06-03T07:52:17Z) สมชาย จันทปัญญา
    ตามที่รัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ประชาชนมากกว่าร้อยละ 50 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลพลอยได้ที่สำคัญนอกเหนือจากผลผลิตการเกษตรก็คือ ชีวมวลซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือใช้จากการเกษตรปีละจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง และทะลายปาล์ม เป็นต้น ที่สามารถนำมาใช้งานในการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกทั้งการที่พลังงานชีวมวลมีราคาถูกว่าพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นถือเป็นแรงจูงใจให้กับนักลงทุนพร้อมที่จะลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานชีวมวล โดยการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานชีวมวลให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าของภาครัฐและลดหนี้สินของภาครัฐ แต่ทั้งหมดนี้จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในทางพาณิชย์ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี การจัดการ และแหล่งของชีวมวลต่างๆ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลอย่างจริงจัง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อวิจัยปัญหากฎหมายและอุปสรรคการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลจากภาครัฐ และวิจัยถึงผลกระทบจากการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย