GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ธนภณ สมหวัง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ 37 ปี “มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย” ทบทวนทิศทางสังคมไทย ในมุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-08-01) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangธรรมนิพนธ์เรื่องมองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย เป็นหนังสือขนาดเล็ก จำนวน 136 หน้า และมีการตีพิมพ์จำนวนหลายครั้ง เป็นงานที่รวบรวมคำบรรยายสองเรื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชวรมุนี คือ เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2525 ท่านได้รับอาราธนาให้บรรยายเรื่อง “พุทธธรรมกับการแก้ปัญหาการศึกษาของไทยในอนาคต” ในวันคล้ายวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2526 ได้รับอาราธนาจากสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติให้บรรยายเรื่อง “พระพุทธศาสนาจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างไร” ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกันและกัน ต่อมาในปี 2530 Grant A.Olson แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ “Looking to America to Solve Thailand Problems” (94 หน้า) แม้จะตีพิมพ์มาเป็นเวลานาน แต่เนื้อหาในการนำเสนอและวิเคราะห์ยังมีความทันสมัยต่อสังคมไทยในปัจจุบันรายการ Thai children learning reform With a philosopher's heart(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-08-19) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangหลักหัวใจนักปราชญ์ เป็นหลักสำคัญในทางพระพุทธศาสนาที่จะสร้างบุคคลให้เป็นพหูสูต คือบุคคลที่เป็นผู้มีการศึกษาเล่าเรียนมาก มีประสบการณ์มาก มีความรู้มาก เป็นผู้คงแก่เรียนหรือที่เรียกว่าเป็นนักปราชญ์นั่นเอง การเป็นนักปราชญ์จึงต้องมีหัวใจนักปราชญ์ ดังภาษาบาลีว่า “สุ.จิ.ปุ.ลิ วินิมุตฺโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว. บุคคลผู้ปราศจากจากการฟัง การคิด การถาม และการเขียนแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร” การปฏิรูปเด็กไทย จึงสามารถนำเอาหลักหัวใจนักปราชญ์มาใช้ในสังคมปัจจุบันได้รายการ การนำเสนอพุทธธรรมในฐานะรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning), 2562-10-02) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอพุทธธรรมเพื่อเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เพียรพยายามที่จะนำเสนอหลักพุทธธรรมที่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสังคมไทยสมัยใหม่ ผ่านงานนิพนธ์ที่สำคัญของท่าน คือ พุทธธรรม ที่ว่าด้วยกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต ซึ่งนำเสนอเป็นสองภาค คือมัชเฌนธรรมหรือหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ และภาคที่สอง หลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฏธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งเป็นการนำเสนอแก่นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ทั้งหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขา อริยสัจ 4 กรรม ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน การนำเสนอหลักพุทธธรรม จึงไม่เพียงการเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการนำเสนอเพื่อจะแก้ไขปัญหาของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation of Buddhadhamma for the foundation of modern Thai society. The result of this study shows that Somdet Phra Buddhaghosacariya Diligently tried to present the Buddhadhamma as the foundation for modern Thai society through his the magnum opus is the Buddhadhamma on natural laws and values for life. He presented two main parts of Buddhism namely (1) the principles concerning the truth which is the core of nature, and (2) the middle path, or the way of practice to reach the ultimate truth. To answer the question of what is life ? How is life ? How should life be? How should life be?. Which is an important presentation of Buddhism Including the doctrine of the Threefold Truth, the Four Noble Truths, Karma, the Volitional Deeds and the Nirvana. The presentation of Buddhadhamma or the Buddhist doctrine is therefore not only the presentation of the Buddhist paradigm to be the basis of modern Thai society. But it is also a proposal to solve the problems of Thai society and global society in the present day.รายการ ธรรมฉันทะ : ความอยากที่หายไปในมุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-10-07) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้นำมาอธิบายและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญเสมอ คือ หลักฉันทะหรือธรรมฉันทะ เพราะท่านเห็นว่า เป็นหลักธรรมที่เป็นรากฐาน หรือเป็นรากเหง้า ต้นตอ หรือแหล่งที่มาของคุณธรรมอื่น ๆ ในทางพระพุทธศาสนา ดังท่านอ้างพุทธพจน์ว่า “ฉนฺทมูลกา ... สพฺเพ ธมฺมา ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” แต่ในปัจจุบันได้พร่ามัว และเลือนหายไปในสังคมไทย