GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2567-02-15) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งหญ้าที่ตรวจวัดมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนักแห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับรายการ ศักยภาพกลยทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชน(วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรีวารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2566-09-01) สุพล พรหมมาพันธุ์; อำนาจ วังจีนวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชนจําแนกเป็น 4 ด้านได้แก่ด้านกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สารสนเทศและด้านการนําผลลัพธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้บรรลุตามเป้าหมาย 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่แต่ละมหาวิทยาลัยนําไปประยุกต์ใช้ผลการวิจัยพบว่าในการบริหารกิจการที่ดีของมหาวิทยาลัยเอกชนอยู่ในระดับมาก 3.45 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.54 รองลงมาเป็นด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.51 ด้านประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์สารสนเทศ 3.47 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ําสุดคือด้านผลลัพธ์การนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้บรรลุเป้าหมาย3.03 อยู่ในระดับปานกลางรายการ Global Warming: A Severe Threat Driven by Industrial Era(๋Joural of the Association of Researchers, 2567-06-30) มนนภา เทพสุด; ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณThe current state of global warming has escalated to the point where it has significantly altered the Earth's climate, leading to extreme weather events. These events include heatwaves, prolonged droughts, rampant wildfires, sudden heavy rainfall, and intense storms, all of which pose severe threats to natural ecosystems and human survival. In light of these developments, this article aims to present knowledge about global warming in three main aspects: 1) Causes of global warming problems, 2) Effects of global warming problems, and 3) Guidelines for solving global warming problems. Research findings indicate that the primary cause of global warming stems from human activities, particularly industrial processes that emit various greenhouse gases, notably carbon dioxide. These gases act as the main drivers of the problem by disrupting the natural balance of the atmosphere, leading to an excessive greenhouse effect. Consequently, the Earth's surface temperature has risen abnormally, resulting in global warming. The impacts of global warming are evident in changes to the climate and rapid melting of polar ice, which, in turn, contribute to various crises threatening all forms of life. Mitigation strategies involve reducing carbon dioxide emissions into the atmosphere and eliminating sources of carbon dioxide emissions, which would alleviate the severity of global warming and foster sustainable societies.รายการ การใช้หญ้าเนเปียร์เขียวสยามเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนแบบแก๊สชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์(สมาคมเครือข่ายราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ (RNMT), 2567-05-01) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; อำนาจ วังจีนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ที่ผลิตได้จากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) เพื่อผลิตพลังงานจากพืชพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชุมชน มีขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยทำการทดลองเปรียบเทียบกับหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 ด้วยระบบถังกวนสมบูรณ์แบบไม่ใช้อากาศ โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน ของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามเปรียบเทียบปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดเขียวสยามอายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 83 120 และ 132 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ตามลำดับ สำหรับปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดปากช่อง 1 อายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 62 73 และ 89 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ตามลำดับ ประการที่สี่เป็นการเปรียบเทียบปริมาณร้อยละวัตถุแห้งเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดเขียวสยามอายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 20 29 และ 32 ตามลำดับ สำหรับปริมาณร้อยละวัตถุแห้งเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดปากช่อง 1 อายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 16 19 และ 23 ตามลำดับ ประการสุดท้ายหญ้าเขียวสยามถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยช่วงการตัดที่อายุ 90 วัน มีวัตถุแห้งร้อยละ 29 สามารถใช้ปริมาณหญ้าสดเพียง 260 ตัน/วัน สำหรับหญ้าปากช่อง 1 ต้องใช้ช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน มีวัตถุแห้งร้อยละ 23 ต้องใช้ปริมาณหญ้าสดถึง 380 ตัน/วันรายการ พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2567-02-15) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุ พลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อ ไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษา พบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อ ตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อ กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งหญ้าที่ตรวจวัดมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนัก แห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับรายการ ภาวะโลกร้อน: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutบทความนี้ต้องการศึกษาปัญหาภาวะโลกร้อน ทั้งในด้านสาเหตุ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) สาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน เกิดขึ้นจากภายในชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมพื้นผิวโลก มีก๊าซเรือนกระจกนานาชนิดโดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ แพร่กระจายอยู่อย่างหนาแน่น จนกระบวนการทางธรรมชาติไม่สามารถระบายออกได้ทัน (2) ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการละลายตัวของน้ำแข็งขั้วโลก ต่างทวีความรุนแรงและปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น “ความปกติใหม่” ที่สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการดำรงอยู่ของมนุษย์ และ (3) การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สามารถทำได้โดยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ บนสามแนวทางหลัก คือ (1) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (2) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ (3) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งผลิต This study aimed to examine global warming problem. The study focused on the causes of global warming, its impacts and problems, the way to solve the problems. The results showed that the major cause of global warming came from the level of greenhouse gases, particularly carbon dioxide released from human activities, accumulated in the atmosphere was higher than those removed by natural processes.This phenomenon has increased a severity of climate change, disasters, sea ice melt, became “the new normal”, which directly impact on environment and human livelihood.Therefore, the solutions to global warming could be achieved by reducing the emission of carbon dioxide in to the atmosphere, and removing carbon dioxide from the atmosphere and from the generating sources emission.รายการ เมื่อภาวะโลกร้อน กลายเป็นความปกติใหม่(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2563-12-03) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทั้งไฟป่า น้าแข็งขั้วโลกละลาย และการละลายตัวของชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) คงตัว ถือเป็นปัจจัยป้อนกลับที่ซ้าเติมให้โลกร้อนยิ่งขึ้น เหตุเพราะเมื่อไฟป่าลุกไหม้ จะทาให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกผลิตออกมาสู่ชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น ส่วนการละลายตัวของน้าแข็งขั้วโลก ก็จะส่งผลให้ผืนน้าแข็งสีขาวที่เหลือมีศักยภาพสะท้อนความร้อนสู่อวกาศได้น้อยลง แต่ปริมาณน้าซึ่งมีศักยภาพดูดซับความร้อนไว้ได้ดีกลับเพิ่มมากขึ้น โลกจึงร้อนยิ่งขึ้นได้อย่างเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ และร่วมกันเร่งแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนกันอย่างจริงจัง โอกาสที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั้นบรรยากาศจะเพิ่มสูงต่อไป จนถึงขีดอันตรายที่ระดับ 450 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกสูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส (จากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) ก็จะมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น โลกก็จะก้าวเข้าสู่จุดพลิกผัน อันนามาซึ่งการพังทลายของระบบภูมิอากาศ ความล่มสลายในส่วนต่าง ๆ ของระบบสิ่งแวดล้อมโลก และสภาพการณ์เหล่านี้ก็จะกลายเป็นความปกติใหม่ของโลกใบนี้รายการ การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม(วารสารศิลปการจัดการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2563. หน้า 700-716., 2563-09-25) วรรณพร เพิ่มโสภา, ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, วารุณี ลัภนโชคดีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) พัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 3) สร้างเกณฑ์ปกติ และ 4) สร้างคู่มือการใช้แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จานวน 305 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบบวัดประกอบด้วย ข้อคาถาม 30 ข้อ ที่มุ่งวัดจิตวิทยาศาสตร์ 10 คุณลักษณะ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความมีเหตุผล ความใจกว้าง ความซื่อสัตย์ ความพยายามมุ่งมั่น ความรอบคอบ ความรับผิดชอบ ความร่วมมือช่วยเหลือ ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เป็นแบบวัดแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เหมาะสาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 เท่านั้น แบบวัดมีคุณภาพสามารถนาไปใช้วัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ความตรงตามเนื้อหา (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.6-1.00 2) ค่าอานาจจาแนก มีค่าตั้งแต่ 0.31-0.68 3) ความตรงตามโครงสร้าง มีค่าไคสแควร์ (X2) = 302.76 (p = 0.78) df = 323 ค่า RMR = 0.047 ค่า RMSEA = 0.00 ค่า GFI = 0.94 และค่า AGFI = 0.91 4) ค่าความเที่ยงแต่ละคุณลักษณะ ได้แก่ 0.70, 0.73, 0.72, 0.70, 0.71, 0.71, 0.70, 0.74, 0.77 และ 0.81 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.90 5) เกณฑ์ปกติมีคะแนนมาตรฐานทีปกติ ตั้งแต่ T16– T82 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมในการนาไปใช้รายการ การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส(วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563 หน้า 209-224., 2563-08-31) สุภาพร อุดไชย, วารุณี ลัภนโชคดี และ ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณการประเมิน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศีกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ (CIPPI Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ คณะครูและบุคลากร 25 คน ผู้บริหาร 1 คน ศึกษานิเทศก์ 1 คน ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม ในโครงการ 11 คน คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำหรับชุมชน 3 คน นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 224 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 6) แบบบันทึกข้อมูลโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหา ค่าความถึ่ และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมิน ดังนี้ 1) ด้านบริบท พบวา วัตถุประสงค์มีความชัดเจนและเหมาะสม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์มีความเหมาะสมและเพียงพอ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า โรงเรียน มีกระบวนการในการดำเนินการการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ การกำกับติดตามและประเมินผล อย่างเหมาะสม 4) ด้านผลผลิต พบว่าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในโครงการโรงเรียนสุจริต ทั้ง 3 ข้อ 5) ด้านผลกระทบ พบว่า หลังจากที่โรงเรียนดำเนินงานทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียง และได้รับรางวัลหลายอย่าง โดยผลการประเมินทั้ง 5 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวบ่งชี้รายการ Emission Source Impact and Problem Solving and Management on PM 2.5 in the Northern part of Thailand.(วารสารสมาคมนักวิจัย (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2563-04-30) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ; ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริThe research aimed to study on the emission sources, impact and problem solving and management on PM 2.5 in the northern part of Thailand. The study was based on the secondary data analysis method. The 15 original research papers which were on the TCI, ISI level and government research report and articles.The results from all the research articles were carefully analyzed. The results showed that the source of PM 2.5 were firstly generated from outdoor burning. And secondary was wildfire which was occurred in the country and neighboring countries. The impacts of PM 2.5 were in the economic health and environment. The ways to solve all the problem above was in the short term were prevention and control such as knowledge and informations the problems and impact of PM 2.5 on economic, environment and health were quickly informed. Moreover, the government section should set and announce the standard and process to prevent control and solve the problem in the long term.รายการ ภาวะโลกร้อน: ผลลัพธ์เชิงลบในโลกยุคอุตสาหกรรม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากผลการพึ่งพิงพลังงานกระแสหลักจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคอุตสาหกรรม ที่มีแหล่งปล่อยใหญ่มาจากภาคพลังงานและการขนส่ง รวมทั้งมีแรงเสริมจากการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปรับเปลี่ยนที่ดินมาใช้ขยายพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมสมทบด้วย ปัจจุบันภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาสะสมที่เกิดขึ้นมากว่าศตวรรษได้ทวีความรุนแรง ทำลายคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งในภาคผืนดิน ผืนนํ้า และอากาศเพิ่มมากขึ้น จนทุกชีวิตต้องได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบที่ตามมามากมาย ทั้งจากการเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การโหมกระหนํ่าของพิบัติภัยที่ร้ายแรงจากคลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า และพายุอย่างบ่อยครั้งยิ่งขึ้น ตลอดรวมถึงการเพิ่มสูงของระดับนํ้าทะเล อันเนื่องมาจากการขยายตัวของนํ้าทะเลผนวกกับการละลายตัวลงที่เร็วยิ่งของนํ้าแข็งทั่วโลก การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยการลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ร่วมกับการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งผลิตก่อนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จึงถือเป็นสามแนวทางออกสำคัญที่จะยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นต่อไปกระทั่งก่อหายนภัยทำลายทุกชีวิตได้รายการ การนำเสนอพุทธธรรมในฐานะรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(สมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning), 2562-10-02) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการนำเสนอพุทธธรรมเพื่อเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เพียรพยายามที่จะนำเสนอหลักพุทธธรรมที่ตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ให้เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสังคมไทยสมัยใหม่ ผ่านงานนิพนธ์ที่สำคัญของท่าน คือ พุทธธรรม ที่ว่าด้วยกฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต ซึ่งนำเสนอเป็นสองภาค คือมัชเฌนธรรมหรือหลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ และภาคที่สอง หลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฏธรรมชาติ เพื่อตอบคำถามว่าชีวิตคืออะไร ชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตเป็นไปอย่างไร ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งเป็นการนำเสนอแก่นคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา ทั้งหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขา อริยสัจ 4 กรรม ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน การนำเสนอหลักพุทธธรรม จึงไม่เพียงการเสนอกระบวนทัศน์แบบพุทธเพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทยสมัยใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการนำเสนอเพื่อจะแก้ไขปัญหาของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน The purpose of this article is to study the viewpoints of Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A.Payutto) on the presentation of Buddhadhamma for the foundation of modern Thai society. The result of this study shows that Somdet Phra Buddhaghosacariya Diligently tried to present the Buddhadhamma as the foundation for modern Thai society through his the magnum opus is the Buddhadhamma on natural laws and values for life. He presented two main parts of Buddhism namely (1) the principles concerning the truth which is the core of nature, and (2) the middle path, or the way of practice to reach the ultimate truth. To answer the question of what is life ? How is life ? How should life be? How should life be?. Which is an important presentation of Buddhism Including the doctrine of the Threefold Truth, the Four Noble Truths, Karma, the Volitional Deeds and the Nirvana. The presentation of Buddhadhamma or the Buddhist doctrine is therefore not only the presentation of the Buddhist paradigm to be the basis of modern Thai society. But it is also a proposal to solve the problems of Thai society and global society in the present day.รายการ Thai children learning reform With a philosopher's heart(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-08-19) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangหลักหัวใจนักปราชญ์ เป็นหลักสำคัญในทางพระพุทธศาสนาที่จะสร้างบุคคลให้เป็นพหูสูต คือบุคคลที่เป็นผู้มีการศึกษาเล่าเรียนมาก มีประสบการณ์มาก มีความรู้มาก เป็นผู้คงแก่เรียนหรือที่เรียกว่าเป็นนักปราชญ์นั่นเอง การเป็นนักปราชญ์จึงต้องมีหัวใจนักปราชญ์ ดังภาษาบาลีว่า “สุ.จิ.ปุ.ลิ วินิมุตฺโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว. บุคคลผู้ปราศจากจากการฟัง การคิด การถาม และการเขียนแล้ว จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร” การปฏิรูปเด็กไทย จึงสามารถนำเอาหลักหัวใจนักปราชญ์มาใช้ในสังคมปัจจุบันได้รายการ 37 ปี “มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย” ทบทวนทิศทางสังคมไทย ในมุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-08-01) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangธรรมนิพนธ์เรื่องมองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย เป็นหนังสือขนาดเล็ก จำนวน 136 หน้า และมีการตีพิมพ์จำนวนหลายครั้ง เป็นงานที่รวบรวมคำบรรยายสองเรื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชวรมุนี คือ เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2525 ท่านได้รับอาราธนาให้บรรยายเรื่อง “พุทธธรรมกับการแก้ปัญหาการศึกษาของไทยในอนาคต” ในวันคล้ายวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2526 ได้รับอาราธนาจากสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติให้บรรยายเรื่อง “พระพุทธศาสนาจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างไร” ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกันและกัน ต่อมาในปี 2530 Grant A.Olson แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ “Looking to America to Solve Thailand Problems” (94 หน้า) แม้จะตีพิมพ์มาเป็นเวลานาน แต่เนื้อหาในการนำเสนอและวิเคราะห์ยังมีความทันสมัยต่อสังคมไทยในปัจจุบันรายการ ธรรมฉันทะ : ความอยากที่หายไปในมุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-10-07) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้นำมาอธิบายและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญเสมอ คือ หลักฉันทะหรือธรรมฉันทะ เพราะท่านเห็นว่า เป็นหลักธรรมที่เป็นรากฐาน หรือเป็นรากเหง้า ต้นตอ หรือแหล่งที่มาของคุณธรรมอื่น ๆ ในทางพระพุทธศาสนา ดังท่านอ้างพุทธพจน์ว่า “ฉนฺทมูลกา ... สพฺเพ ธมฺมา ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” แต่ในปัจจุบันได้พร่ามัว และเลือนหายไปในสังคมไทยรายการ จำนวนเซลล์ประสาทที่เหมาะสมในชั้นข้อมูลแอบแผงสำหรับปัญหาการระบุตัวตน โดยใช้สัญญาณคลื่นสมอง(Royal Thai Air Force Medical Gazette, 2562-08) อำนาจ วังจีน; ปรีชา ตั้งเกรียงกิจ; สุพล พรหมมาพันธ์This study discusses the appropriate number of neurons in hidden layer for person authentication that uses delta brainwave signals. The principle of the neural network (supervised neural network), number of neurons in the hidden layer is one important factor to make learning more effective. The purpose of this study was to study the number of neurons in the hidden layer. In this study, 1000 data points of EEG signal in group of four channels, F4, P4, C4, and O2 are explored. The practical technique, Independent Component Analysis (ICA) by SOBIRO algorithm is considered clean and separates the individual signals from noise using the technique of supervised neural network for identifying 30 subjects. The number of neurons in the hidden layer 1-30 neural to test the accuracy of identifying information will be classified 20-30 subjects to find the appropriate number of neurons in the hidden layer in each group.รายการ ความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจ กับความภักดีต่อแบรนด์และ Net Promoter Score ของธุรกิจบ้านและอาคารชุดสำหรับพักอาศัย(The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning, 2562-10-02) อำนาจ วังจีน; ปรีชา ตั้งเกรียงกิจThe purposes of this study were to Study satisfaction, loyalty, relationship between satisfaction with Brand loyalty and Net Promoter Score of house and condominium businesses. The population is residential customers in housing estates and condominiums. Using a sample of 1,800 units with an accidental and Purposive sampling method. The instrument used is a questionnaire with a estimation of 5 and 11 levels with a accuracy of more than 0.50 and a confidence value of 0.976. Statistics used are the percentage, arithmetic mean standard deviation Pearson Correlation coefficients and multiple regression analysis. The findings indicated that the overall level of customer satisfaction in all 5 facets is at a high level. The highest average value is Home inspection, transference and Delivery. Followed by Down payment has a very high average. The lowest mean value is Service after staying in the project has a high average. Overview of loyalty levels with an average of 6.79 (From 10 levels) which accepting advice and telling with average values has an average of 6.78 6.80 and 6.81. Customer satisfaction in 5 aspects, including 1) project launch, 2) reservation and contract purchase, 3) down payment 4) Inspection and transfer and home delivery 5) Service after staying in the project There is a significant relationship and positive influence on loyalty at the level of 0.05 With standard influence weight equal to 0.150 0.205 0.345 0.115 and 0.045 respectively. And the study found that the Net Promoter Score was 1.98 in the level of need to improve.รายการ การสร้างแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6(วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2562-06-23) ธัญธิดา โชคคณาพิทักษ์ วารุณี ลัภนโชคดี และ ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดความเป็ นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ 4) เพื่อจัดทําคู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2560 สังกัดสํานักงานเขตพืนที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จํานวน 1,016 คน โดยแบบวัดที่สร้างขี้นประกอบด้วยข้อคําถามจํานวน 66 ข้อ เพื่อวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองอาเซียน 11 คุณลักษณะ มีลักษณะเป็นคําถามเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก โดยตัวเลือกมีคะแนนแตกต่างกันตั้งแต่ 1-5 คะแนน ผลการวิจัย พบว่าแบบวัดที่สร้างขี้นมีคุณภาพ ดังต่อไปนี 1) ความตรงเชิงเนือหาของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียนจากการคํานวณค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคําถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการของความเป็นพลเมืองอาเซียน และความสอดคล้องของตัวเลือกที่แสดงถึงระดับคุณลักษณะตามทฤษฎีจิตพิสัยของ Krathwohl, Bloom, & Masia พบว่า ข้อคําถามและตัวเลือกในแบบวัดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 2) ค่าอํานาจจําแนกของข้อคําถามมีค่าตั้งแต่ 0.20-0.69 3) ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าค่าไคสแควร์=801.33; df=1,582; p=1.00; RMSEA=0.00; GFI=0.92; AGFI=0.90 4) ความเที่ยงของแบบวัดจากการคํานวณค่าสัมประสิทธิcแอลฟาของ Cronbach 11 คุณลักษณะ เท่ากับ 0.92, 0.93, 0.94, 0.96, 0.95, 0.95, 0.95, 0.96, 0.96, 0.95 และ 0.94 ตามลําดับ ส่วนค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ0.92 5) เกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน ในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติมีค่าตั้งแต่ T19-T92 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน มีความเหมาะสม มีส่วนประกอบสําคัญครบถ้วน อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนําไปใช้งานรายการ การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพฯมีสภาพรอพินิจโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย(สำนักงานแพทยสารทหารอากาศ กองวิทยาการ กรมแพทศาสตร์ทหารอากาศ, 2558-09) อำนาจ วังจีน; Amnart VangjeenA Study of Factors Effecting to Undergraduate Student in Bangkok Probation Conditions by Regression Analysis. Asst.Prof. Amnart Vangjeen Asst. Institute General Education Sripatum University The purpose of the research were to : study factors effecting to undergraduate students having probation conditions and find the ways to manage it or plans to reduce the number of probation condition students. The population in studying was undergraduate students in Bangkok. The samples consisted of 1,100. The instruments used were to query statistics about 5 levels. The statistics were tested: (1) Pearson Correlation coefficient, (2) Multiple Regression Analysis. The research results were as follows: Factors provide students with probation conditions include : achievement motivation economy of family sociability of family and basic knowledge before entering to study there were influencing students with statistically significant effects at .05 level, The four factors could explain the variation of the students were statistically significant by F = 17.141 , P = 0.000 , which is less than 0.05 . Four independent variables relationship with Students probation condition, 24.3 percent and Four independent variables can explain the variable student was 5.90 percent . Can be written as The model is as follows:รายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขต กรุงเทพมหานครมีสภาพรอพินิจ(2557-12) อำนาจ วังจีน; Amnart Vangjeenการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครมีสภาพรอพินิจ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีสภาพรอพินิจ ตลอดจนแนวทางในการจัดการหรือวางแผนลดจำนวนนักศึกษาที่มีสภาพรอพินิจ ประชากรในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การทดสอบไคว์-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างผลการวิจัย พบว่าระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับสภาพของนักศึกษา นักศึกษารอพินิจมีปัญหาเรื่องการปรับตัวในการเรียนระบบมหาวิทยาลัย ความรู้ความสามารถในวิชาพื้นฐานก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีวินัยในการเรียน ติดเกมส์ ติดสังคมออนไลน์ การมีส่วนร่วมในสังคมมหาวิทยาลัย การเรียนในวิชาพื้นฐานหลักสูตร และเรียนในหลักสูตรที่ไม่ตรงกับความสามารถของตนเอง ปัจจัยเหตุที่เป็นผลของปัจจัยทั้ง 8 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อสภาพนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ .28 และสามารถอธิบายได้ร้อยละ 8.0 โดยเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอก และเกรดเฉลี่ย สะสมวิชาพื้นฐานมีอิทธิพลต่อสภาพนักศึกษาเท่ากับ .45 และ .51 ตามลำดับ ปัจจัยทั้ง 8 ได้แก่ 1) ความรู้พื้นฐานทางวิชาการก่อนเข้าศึกษา 2) สภาพแวดล้อมทางสังคมภายในมหาวิทยาลัย 3) สภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย 4) เศรษฐกิจ ของครอบครัว 5) สภาพทางสังคมของครอบครัว 6) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 7) หลักสูตร และ 8) การจัดการเรียนการสอนมีอิทธิพลต่อปัจจัยเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยสาเหตุที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุด ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางสังคมภายในมหาวิทยาลัยมีค่าเท่ากับ .34 รองลงมาเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอก มีค่าเท่ากับ .32 สภาพทางสังคมของครอบครัวมีค่าเท่ากับ .29ส่วนตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์น้อยที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน มีค่าเท่ากับ .008 แนวทางในการจัดการหรือวางแผนลดจำนวนนักศึกษาที่มีสภาพรอพินิจ ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมเสริมทางวิชาการ 2) การส่งเสริมให้ผู้สอนนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน 3) การพัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถใน การสอนมากขึ้น 4) การปรับปรุงระบบการวัดผลประเมินผลให้มีความยืดหยุ่นและมีความหลากหลายมากขึ้น 5) มีการจัดให้ มีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด 6) การส่งเสริมให้อาจารย์มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน