GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "วรรณพร เพิ่มโสภา, ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, วารุณี ลัภนโชคดี"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม(วารสารศิลปการจัดการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2563. หน้า 700-716., 2563-09-25) วรรณพร เพิ่มโสภา, ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, วารุณี ลัภนโชคดีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) พัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 3) สร้างเกณฑ์ปกติ และ 4) สร้างคู่มือการใช้แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จานวน 305 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบบวัดประกอบด้วย ข้อคาถาม 30 ข้อ ที่มุ่งวัดจิตวิทยาศาสตร์ 10 คุณลักษณะ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความมีเหตุผล ความใจกว้าง ความซื่อสัตย์ ความพยายามมุ่งมั่น ความรอบคอบ ความรับผิดชอบ ความร่วมมือช่วยเหลือ ความคิดสร้างสรรค์ และเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เป็นแบบวัดแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เหมาะสาหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 เท่านั้น แบบวัดมีคุณภาพสามารถนาไปใช้วัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) ความตรงตามเนื้อหา (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.6-1.00 2) ค่าอานาจจาแนก มีค่าตั้งแต่ 0.31-0.68 3) ความตรงตามโครงสร้าง มีค่าไคสแควร์ (X2) = 302.76 (p = 0.78) df = 323 ค่า RMR = 0.047 ค่า RMSEA = 0.00 ค่า GFI = 0.94 และค่า AGFI = 0.91 4) ค่าความเที่ยงแต่ละคุณลักษณะ ได้แก่ 0.70, 0.73, 0.72, 0.70, 0.71, 0.71, 0.70, 0.74, 0.77 และ 0.81 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.90 5) เกณฑ์ปกติมีคะแนนมาตรฐานทีปกติ ตั้งแต่ T16– T82 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมในการนาไปใช้