GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การใช้หญ้าเนเปียร์เขียวสยามเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนแบบแก๊สชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์(สมาคมเครือข่ายราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ (RNMT), 2567-05-01) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; อำนาจ วังจีนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ที่ผลิตได้จากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) เพื่อผลิตพลังงานจากพืชพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชุมชน มีขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยทำการทดลองเปรียบเทียบกับหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 ด้วยระบบถังกวนสมบูรณ์แบบไม่ใช้อากาศ โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน ของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามเปรียบเทียบปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดเขียวสยามอายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 83 120 และ 132 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ตามลำดับ สำหรับปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดปากช่อง 1 อายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 62 73 และ 89 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ตามลำดับ ประการที่สี่เป็นการเปรียบเทียบปริมาณร้อยละวัตถุแห้งเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดเขียวสยามอายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 20 29 และ 32 ตามลำดับ สำหรับปริมาณร้อยละวัตถุแห้งเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดปากช่อง 1 อายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 16 19 และ 23 ตามลำดับ ประการสุดท้ายหญ้าเขียวสยามถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยช่วงการตัดที่อายุ 90 วัน มีวัตถุแห้งร้อยละ 29 สามารถใช้ปริมาณหญ้าสดเพียง 260 ตัน/วัน สำหรับหญ้าปากช่อง 1 ต้องใช้ช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน มีวัตถุแห้งร้อยละ 23 ต้องใช้ปริมาณหญ้าสดถึง 380 ตัน/วันรายการ พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2567-02-15) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งหญ้าที่ตรวจวัดมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนักแห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับรายการ พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2567-02-15) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุ พลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อ ไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษา พบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อ ตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อ กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งหญ้าที่ตรวจวัดมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนัก แห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ