GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "อำนาจ วังจีน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การใช้หญ้าเนเปียร์เขียวสยามเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนแบบแก๊สชีวภาพขนาด 3 เมกะวัตต์(สมาคมเครือข่ายราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ (RNMT), 2567-05-01) สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์; อำนาจ วังจีนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ที่ผลิตได้จากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) เพื่อผลิตพลังงานจากพืชพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน ไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชุมชน มีขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยทำการทดลองเปรียบเทียบกับหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 ด้วยระบบถังกวนสมบูรณ์แบบไม่ใช้อากาศ โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน ของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามเปรียบเทียบปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดเขียวสยามอายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 83 120 และ 132 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ตามลำดับ สำหรับปริมาณแก๊สชีวภาพเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดปากช่อง 1 อายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 62 73 และ 89 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ตามลำดับ ประการที่สี่เป็นการเปรียบเทียบปริมาณร้อยละวัตถุแห้งเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดเขียวสยามอายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 20 29 และ 32 ตามลำดับ สำหรับปริมาณร้อยละวัตถุแห้งเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากหญ้าสดปากช่อง 1 อายุ 60 90 และ 120 วัน ได้ค่าเฉลี่ย 16 19 และ 23 ตามลำดับ ประการสุดท้ายหญ้าเขียวสยามถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยช่วงการตัดที่อายุ 90 วัน มีวัตถุแห้งร้อยละ 29 สามารถใช้ปริมาณหญ้าสดเพียง 260 ตัน/วัน สำหรับหญ้าปากช่อง 1 ต้องใช้ช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน มีวัตถุแห้งร้อยละ 23 ต้องใช้ปริมาณหญ้าสดถึง 380 ตัน/วันรายการ ศักยภาพกลยทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชน(วารสารสหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรีวารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 2566-09-01) สุพล พรหมมาพันธุ์; อำนาจ วังจีนวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชนจําแนกเป็น 4 ด้านได้แก่ด้านกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สารสนเทศและด้านการนําผลลัพธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้บรรลุตามเป้าหมาย 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่แต่ละมหาวิทยาลัยนําไปประยุกต์ใช้ผลการวิจัยพบว่าในการบริหารกิจการที่ดีของมหาวิทยาลัยเอกชนอยู่ในระดับมาก 3.45 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.54 รองลงมาเป็นด้านศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.51 ด้านประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์สารสนเทศ 3.47 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ําสุดคือด้านผลลัพธ์การนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้บรรลุเป้าหมาย3.03 อยู่ในระดับปานกลาง