บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความวิชาการ โดย ผู้เขียน "ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การออกแบบความหนาแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับนน.บรรทุก forklift truck(2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิชรายการ กำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะแห้งในกรุงเทพฯ(NCCE, 2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; พลวิท บัวศรีบทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวโน้มของค่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะแห้งในเขตกรุงเทพฯ จากผล static pile load test พร้อมทั้งเปรียบเทียบค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่ได้กับที่ประเมินด้วยค่าแรงฝืดตามข้อบัญญัติ กทม.ในกรณีไม่มีผลทดสอบ คุณสมบัติของดิน การประเมินค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของเสาเข็มวิเคราะห์โดยวิธีของ Mazurkiewicz จากข้อมูลการทดสอบกำลังรับ น้ำหนักบรรทุกเสาเข็มเจาะแห้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 และ 0.60 เมตร จำนวน 42 ต้น จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับค่ากำลังรับน้ำหนัก บรรทุกใช้งานของเสาเข็มที่ประเมินจากค่าแรงฝืดตามข้อบัญญัติ กทม. ผลวิเคราะห์พบว่าวิธีประเมินค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม ดังกล่าวให้ค่าอัตราความปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 2.26 ค่าอัตราความปลอดภัยต่ำสุดเท่ากับ 1.7 และมีจำนวนเสาเข็มที่ค่าอัตราส่วนความ ปลอดภัยต่ำกว่า 2 ร้อยละ17 นอกจากนี้ได้เสนอค่าตัวคูณลดน้ำหนักบรรทุกเพื่อใช้ประเมินน้ำหนักบรรทุกใช้งานของเสาเข็มเจาะแห้งที่ มีความยาวระหว่าง 19 -25 เมตรในเขตกรุงเทพฯ This paper presents the comparison of dry-process bored pile capacities from static pile load test with the allowable pile capacities calculated from the friction resistance specified by Bangkok Building Codes. The study estimates the ultimate pile capacities using Mazurkiewicz’s method based on 42 static pile load test data of bored piles 0.50 and 0.60 m. diameters which were constructed in central Bangkok area. The comparison indicates that the average factor of safety is 2.26 and the minimum factor of safety is 1.7. The percentage of piles which have factor of safety below 2.0 is 17. This paper also presents a reduction factor equation for estimating the allowable capacity of dry-process bored piles having 19-25 m. pile length.รายการ ข้อแนะนำในการพิจารณาออกแบบความหนาแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกกองเก็บวัสดุ(2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิชบทความนี้นำเสนอรายละเอียดการออกแบบแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับน้ำหนักกองเก็บวัสดุ โดย วิธีของ Portland Cement Association เนื้อหาบทความกล่าวถึง ทฤษฎีที่ใช้ออกแบบ ค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง และ ตัวอย่างผลวิเคราะห์ วิธีออกแบบนี้ใช้หลักการหน่วยแรงใช้งานโดยกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้จากค่ากำลังดัดของ คอนกรีตหารด้วยค่าตัวประกอบความปลอดภัยเท่ากับ 2.0 การวิเคราะห์หน่วยแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้นซึ่ง พิจารณาให้รับน้ำหนักบรรทุกแผ่ คำนวณโดยสมการผลเฉลยเฉพาะของสมการเชิงอนุพันธ์ที่กำหนดขึ้นจากโจทย์ ปัญหาคานวางบนวัสดุยืดหยุ่น สุดท้ายผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าน้ำหนักแผ่ที่ยอมให้ใช้กองเก็บวัสดุกับ คุณสมบัติของแผ่นพื้น คำนวณได้จากการกำหนดเงื่อนไขให้ค่าหน่วยแรงดัดสูงสุดของแผ่นพื้นเท่ากับค่าหน่วยแรง ที่ยอมให้ ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวถูกนำเสนอในรูปตารางช่วยการออกแบบ โดยจัดทำไว้ทั้งกรณีการวาง น้ำหนักบรรทุกแบบไม่จัดวางผัง(Variable Layout) และกรณีการวางน้ำหนักบรรทุกแบบจัดผังตายตัว (Fixed Layout) This article presents guidelines for thickness design of industrial concrete floors on grade subjected to stationary loading, which recommended by Portland Cement Association. This article also describes design theory, related parameters, design procedures, and sample of design results. The entire design procedure is based on flexure. The allowable working stress is concrete flexural strength divided by factor of safety approximately 2.0. Flexural stresses in slabs, subjected to uniformly distributed loads, can be analyzed by using the solution of the governing differential equations based on the beam on elastic foundation problems. The correlation between allowable distributed loads and slab properties can be determined by equating critical tensile stresses to allowable working stress. The results of this analysis considered in two loaded-area cases, variable and fixed layouts. These results were presented in tabular form.รายการ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งในชั้นดินกรุงเทพฯ(NCCE13, 2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; กวีวุฒิ ขจรเกียรติพัฒนาบทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวโน้มของค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งในเขตกรุงเทพฯ ที่ วิเคราะห์โดยใช้วิธีของ Poulos & Davis (1980) จากข้อมูลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็มเจาะแห้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 และ 0.60 เมตร จำนวน 42 ต้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ค่าน้ำหนักบรรทุกและค่าการทรุดตัวของเสาเข็มที่นำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับ การวิเคราะห์ ได้จากสภาวะที่เสาเข็มทรุดตัวขณะรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่มีค่าร้อยละ 50 (FS. = 2) ของค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของ เสาเข็มซึ่งประเมินโดยวิธีของ Mazurkiewicz ผลวิเคราะห์พบว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งใน กรุงเทพฯมีแนวโน้มที่กระจัดกระจาย ในช่วงค่าที่กว้างมากระหว่าง 410 ถึง 2030 ตัน/ตร.ม. รูปแบบการกระจายข้อมูลไร้ระเบียบไม่ เหมาะในการจัดทำสมการสหสัมพันธ์ This paper presents the soil-pile elastic modulus estimation of dry-process bored piles. Constructed in Bangkok subsoils, the nominal diameter of these piles are 0.50 and 0.60 m . The analysis was conducted on 42 static pile load test results based on settlement analysis of single pile according to Poulos & Davis(1980)’s method. The working load of each pile is defined as 50 percent of Mazurkiewicz (1970) ’s failure load (FS. = 2). The calculated modulus was found scattered in wide range between 410 to 2030 t/m2, therefore, the correlation between the soil-pile elastic modulus and other parameters can not be established.