บทความวิชาการ

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 68
  • รายการ
    A New Simple Method for Post-tension Strands Friction Coefficient Measurement
    (Suranaree University of Technology, 2557-08-27) Chatr Suchinda
    This article describes a new simple method of measuring the friction coefficients and their values from construction sites in Thailand. The friction coefficients between prestressing strands and their conduits are related to both wobble and curvature. The method requires both measured jacking force and elongation of each strand so the average tensile force along the entire length can be determined from non-linear stress-strain relationship. Then, the total length and total curvature of each strand were calculated from shop drawing to simulate the friction calculation in the design process. The determined friction coefficients will include the effect due to misplace of the conduit layouts from shop drawings. From the experimental measurement of 624 bonded system strands with spiral galvanized metal sheet conduits in post-tensioned slabs structures from two construction sites with two different post-tensioned sub-contractors, the wobble coefficient is 0.0035 per foot and the curvature coefficient is 0.536 per radian for sub-contractor 1 and the wobble coefficient is 0.0040 per foot and the curvature coefficient is 0.578 per radian for sub-contractor 2. The friction coefficients significantly differ than those recommended by ACI318-11 and BS8110-1997 standards.
  • รายการ
    วิธีอย่างง่ายวิธีใหม่ในการวัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน สำหรับลวดอัดแรงดึงทีหลัง
    (NCCE, 2556-05-09) ฉัตร สุจินดา
    บทความนี้กล่าวถึงวิธีการวัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างลวดอัดแรงชนิดตีเกลียวและท่อร้อยลวด ทั้งแบบที่เกิดจากความคดและความโค้ง โดยการเก็บค่าแรงดึงของลวดที่ปลายที่ดึงลวด และระยะยืดของลวดแต่ละเส้น เพื่อนำมาใช้หาค่าแรงดึงเฉลี่ยตลอดความยาวเส้นลวดจากสมการความสัมพันธ์ของระหว่างหน่วยแรงและหน่วยการยืดตัวของเส้นลวดแบบเชิงเส้นไม่ตรง และคำนวณความยาวและความโค้งรวมของลวดแต่ละเส้นจากแบบก่อสร้าง เพื่อให้เหมือนกับการคำนวณในขั้นตอนออกแบบ และได้ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีการปรับแก้ความเพี้ยนของตำแหน่งการวางลวดเมื่อเทียบกับแบบก่อสร้างไว้แล้ว จากการทดลองวัดและคำนวณค่าดังกล่าวของเส้นลวดอัดแรงที่ใช้ท่อร้อยลวดสำหรับอัดฉีดน้ำปูนเพื่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวชนิดที่ม้วนตีเกลียวมาจากแผ่นเหล็กชุบสังกะสีจำนวน 470 เส้น จากสถานที่ก่อสร้างจริง พบว่าได้สัมประสิทธิ์ความคดมีค่าเท่ากับ 0.0035 ต่อฟุต (1.758 ต่อเมตร) และได้ค่าสัมประสิทธิ์ความโค้งมีค่าเท่ากับ 0.536 ต่อเรเดียน ซึ่งค่าทั้งสองมากกว่าที่แนะนำไว้ในมาตรฐาน ACI318-11 อย่างมีนัยสำคัญ This article describes the new method of measuring the friction coefficient between prestressing strands and their conduits which are related to both wobble and curvature. The method requires both measured jacking force and elongation of each strand so the average tension along the entire length can be determined from non-linear stress-strain relationship. The total length and total curvature of each strand were calculated from shop drawing to simulate the friction calculation in the design process. The determined friction coefficients will include the effect due to misplace of the conduit layouts. From the experimental measurement of 470 bonded system strands with spiral galvanized metal sheet conduits from the actual construction site, the wobble coefficient is 0.0035 per foot (1.758 per meter) and the curvature coefficient is 0.536 per radian. Both coefficients are significantly higher than those recommended by ACI318-11 standard.
  • รายการ
    ผลกระทบเนื่องจากแรงลม (มยผ. 1311-50) และแรงแผ่นดินไหว (มยผ. 1302-52) ต่อการออกแบบแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง
    (วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 2555-11-01) ฉัตร สุจินดา
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทดลองวิเคราะห์และออกแบบระบบโครงสร้างแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง-เสา-กำแพงรับแรงเฉือน เพื่อใช้รับแรงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง แรงลม (มยผ. 1311-50) และแรงแผ่นดินไหว (มยผ. 1302-52) โดยไม่ใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคานเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าและสเปคตรัมการตอบสนอง และเปรียบเทียบผลของการวิเคราะห์ออกแบบโดยเน้นเฉพาะผลกระทบของแรงด้านข้าง ที่มีต่อปริมาณเหล็กเสริมข้ออ้อยในส่วนของแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง จากการศึกษาอาคารแปลนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีจำนวน 6 ช่วงสแปนทั้งสองทิศทาง มีความสูง 7,14, 21 และ 28 ชั้นและมีความหนาของแผ่นพื้นคงที่พบว่าอาคารสูง 21 และ 28 ชั้นต้องใช้เหล็กเสริมปริมาณมากมายจนไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาแรงลมตาม มยผ. 1311-50 และแรงโน้มถ่วงต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 1.02, 1.72 และ 4.55 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ ส่วนอัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาทั้งแรงลมตาม มยผ. 1311-50, แรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. 1302-52 ที่วิเคราะห์ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าและแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 2.65, 48.30 และ 140.00 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ และสุดท้ายปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาทั้งแรงลมตาม มยผ. 1311-50 และแรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. 1302-52 ที่วิเคราะห์ด้วยวิธีสเปคตรัมการตอบสนองและแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 2.01, 30.27 และ 71.76 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ คำสำคัญ: ผลกระทบของแรงด้านข้าง, มาตรฐานการออกแบบอาคารของไทย, แผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง Abstract This research presents a study of trial analysis and design of post-tensioned concrete flat slab-column-shear wall system for wind (DPT. 1311-50), earthquake (DPT. 1302-52) and gravity resistant without any support from beam structural members by using the equivalent static force and response spectrum methods. The comparison of the analysis and design results emphasizes on the effects of the lateral loads on total amount of mild reinforcing steel in the post-tensioned concrete flat slab. From the study of a square shaped buildings plan, there are 6 spans in both directions with 7, 14, 21 and 28 story heights and constant slab thickness, it was found that the 21 and 28 story buildings need tremendous amount of slab mild reinforcement and uneconomic. The ratios of the total mild reinforcement amount in the flat slabs considering both wind load as per DPT. 1311.50 code and gravity load over considering gravity load alone are 1.02, 1.72 and 4.55 for 7, 14 and 21 story buildings respectively while the ratios considering wind load as per DPT. 1311-50 code, earthquake load as per DPT. 1302-52 (equivalent static force) and gravity load over considering gravity load alone are 2.65, 48.30 and 140.00 for 7, 14 and 21 story buildings respectively. Lastly, the ratios of total mild reinforcement amount considering wind load as per DPT. 1311-50 code, earthquake load as per DPT. 1302-52 (response spectrum) and gravity load over considering gravity load alone are 2.01, 30.27 and 71.76 for 7, 14 and 21 story buildings respectively. KEYWORDS: Effects of lateral loads, Thai building codes, Post-tensioned concrete flat slabs.
  • รายการ
    การศึกษาเพื่อ หาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพืน ไร้คานคอนกรีตอัดแรง (ช่วงเสา 6 – 9 เมตร) โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม RAM Concept A Study of Optimal Thickness for Post-Tensioned Concrete Flat Slab (Span Length 6 – 9 m.) Using 3D Plate Finite Element using RAM Concept Program
    (2555-03-01T13:43:31Z) พัทธนันท์ มณีชนพันธ์; ฉัตร สุจินดา
    บทความนี้เสนอถึงการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัย ข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเสริม ไม้แบบ และค่าแรงในประเทศไทย เพือนำมาทดลอง ออกแบบแผ่นพื้นที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่างๆ กัน โดยใช้โปรแกรม RAM Concept ซึงวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟ ไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาสำหรับการจัดเรียงตำแหน่งของเสาในพื้นคือ กรณีควบคุมแบบสี่เหลี่ยม ซึงมี อัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 1.0 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 กก/ม2 Span Length 6 และ 9 เมตร กำลังอัด ประลัยคอนกรีต 35 MPa (357 กก/ซม2) โดยมีข้อกำหนดให้เพิ่ม Drop Panel และเหล็กเสริมรับแรงเฉือน ตรงหัวเสาที่ คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนเจาะทะลุได้ จากนั้นได้นำผลการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนา ที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมตํ่าสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็น แนวทางในการออกแบบเบื้องต้น
  • รายการ
    การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE A Study to Determine Optimal Thickness for Reinforced Concrete Flat Slab using 3D Plate Finite Element using CSI SAFE Program
    (2555-03-01T04:54:48Z) ยอด ผลสงเคราะห์; ฉัตร สุจินดา
    บทความนี้นำเสนอการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต เหล็กเส้น แบบหล่อ และค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้น ที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่างๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์ไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาคือ สี่เหลี่ยมผืนผ้าแปรเปลี่ยนอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.50 0.75 และ 1.00 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระยะช่วงเสา 6 และ 8 เมตร และกำลังอัดประลัยคอนกรีต 320 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร จากนั้นได้นำผลของการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบ
  • รายการ
    การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE A Study of Optimal Thickness for Post-Tensioned Concrete Flat Slab using 3D Plate Finite Element using CSI SAFE Program
    (2555-03-01T04:44:04Z) ธนัญกรณ์ ต่อศิริสกุลวงศ์; ฉัตร สุจินดา
    บทความนี้เสนอถึงการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเส้น แบบหล่อ และค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้นที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่าง ๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาคือ สี่เหลี่ยมซึ่งมีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 1.0 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 kg/m2 ระยะช่วงเสา 6 และ 9 m กำลังอัดประลัยคอนกรีต 35 MPa (357 kg/cm2) โดยมีข้อกำหนดให้เพิ่ม Drop Panel ตรงหัวเสาที่คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนเจาะทะลุได้ จากนั้นได้นำผลการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบเบื้องต้น
  • รายการ
    Flux/underfill Compatibility Study for Flip-chip Assembly Process
    (IACSIT Press, Singapore, 2554-05-28) Phuthanate Phoosekieaw and Sanya Khunkhao
    The rapid uptake of flip-chip technology within the electronics industry due to their better thermal performance, smaller size, lower profile, light weight, and higher input/output density, the solder joints together with underfill in flip chip package serve as a mechanical mechanism for resisting the thermal deformation induced by the coefficient of thermal expansion (CTE) mismatch between silicon die and substrate. underfill materials are employed in flip-chip assemblies to enhance solder joint reliability performance. The adhesion of underfills with solders is important to the integrity of the flip-chip structure. The effect of temperature and humidity aging as well as flux residue on adhesion strength was also investigated.
  • รายการ
    ระบบติดตามดวงอาทิตย์โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ
    (2554-05-11T06:30:33Z) นันทิวัฒนา, เพชร
  • รายการ
    การควบคุมหัวพิมพ์เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทระบบต่อเนื่อง
    (2554-05-06T07:50:07Z) นันทิวัฒนา เพชร
    การควบคุมหัวพิมพ์เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทระบบต่อเนื่อง
  • รายการ
    STATISTICAL CHARACTERISTICS OF MATERIAL AND FABRICATION FOR CONCRETE STRUCTURES IN THAILAND
    (International Conference on Engineering and Technology, 2554-05-03) ฉัตร สุจินดา; Chatr Suchinda
    In the reliability analysis of structures, one must consider two major effects: (1) the resistance of the structures and (2) the load effects. For the part of the resistance, the characteristics of material and fabrication for members are very important. This paper shows the statisical characteristics for material including concrete ultimate strength, yeild stress and diameter of rebars which represent the material production in Thailand. The workmanship, the way of practice and equipment used mandates the characteristics of the member size and their rebar location. Due to vast level of practice in Thailand, these data are collected seperately for two cases: case 1 is from mid to high-rise buildings where the quality control is inspected by third-party consulting agents and case 2 is from detached and town houses in subdivisions where the quality control is not inspected by any third-part agent. These statistical parameters are also compared with those from Indonesia, Japan and USA.
  • รายการ
    THE STUDY ON TRAFFIC CHARACTERISTICS ON URBAN ARTERIAL STREET
    (NCCE14, 2553-05-12) ชิษณุ, อัมพราย
    The primary goal of this research is to identify the relationship between traffic volume speed and density on urban arterial roads. Consequently, the maximum flow rate can be found more correctly. Road samples were located in 3 areas as Bangkok Metropolitan, City municipal of Samutprakan, and Town municipal of Chachaengsao. Three road patterns were selected in each area as radial road, cross town road and ring road. Traffic survey on every road patterns were collected in each direction so the number of overall road samples is equal 9 with 2 directions per sample. To find out the relationship between flow-speed-density more precisely, two important factors are considered. First is R2 from linear curve between speed and density is more than 0.6 and second is maximum flow rate from the study is close to service flow rate from Highway Capacity Manual 2000. Finally, Ladprao road is only one sample which reaches these two important factors
  • รายการ
    ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งในชั้นดินกรุงเทพฯ
    (NCCE13, 2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; กวีวุฒิ ขจรเกียรติพัฒนา
    บทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวโน้มของค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งในเขตกรุงเทพฯ ที่ วิเคราะห์โดยใช้วิธีของ Poulos & Davis (1980) จากข้อมูลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็มเจาะแห้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 และ 0.60 เมตร จำนวน 42 ต้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ ค่าน้ำหนักบรรทุกและค่าการทรุดตัวของเสาเข็มที่นำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับ การวิเคราะห์ ได้จากสภาวะที่เสาเข็มทรุดตัวขณะรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่มีค่าร้อยละ 50 (FS. = 2) ของค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของ เสาเข็มซึ่งประเมินโดยวิธีของ Mazurkiewicz ผลวิเคราะห์พบว่าค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระหว่างเสาเข็มกับดินของเสาเข็มเจาะแห้งใน กรุงเทพฯมีแนวโน้มที่กระจัดกระจาย ในช่วงค่าที่กว้างมากระหว่าง 410 ถึง 2030 ตัน/ตร.ม. รูปแบบการกระจายข้อมูลไร้ระเบียบไม่ เหมาะในการจัดทำสมการสหสัมพันธ์ This paper presents the soil-pile elastic modulus estimation of dry-process bored piles. Constructed in Bangkok subsoils, the nominal diameter of these piles are 0.50 and 0.60 m . The analysis was conducted on 42 static pile load test results based on settlement analysis of single pile according to Poulos & Davis(1980)’s method. The working load of each pile is defined as 50 percent of Mazurkiewicz (1970) ’s failure load (FS. = 2). The calculated modulus was found scattered in wide range between 410 to 2030 t/m2, therefore, the correlation between the soil-pile elastic modulus and other parameters can not be established.
  • รายการ
    กำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มเจาะแห้งในกรุงเทพฯ
    (NCCE, 2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; พลวิท บัวศรี
    บทความนี้นำเสนอการศึกษาแนวโน้มของค่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะแห้งในเขตกรุงเทพฯ จากผล static pile load test พร้อมทั้งเปรียบเทียบค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่ได้กับที่ประเมินด้วยค่าแรงฝืดตามข้อบัญญัติ กทม.ในกรณีไม่มีผลทดสอบ คุณสมบัติของดิน การประเมินค่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของเสาเข็มวิเคราะห์โดยวิธีของ Mazurkiewicz จากข้อมูลการทดสอบกำลังรับ น้ำหนักบรรทุกเสาเข็มเจาะแห้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.50 และ 0.60 เมตร จำนวน 42 ต้น จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับค่ากำลังรับน้ำหนัก บรรทุกใช้งานของเสาเข็มที่ประเมินจากค่าแรงฝืดตามข้อบัญญัติ กทม. ผลวิเคราะห์พบว่าวิธีประเมินค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม ดังกล่าวให้ค่าอัตราความปลอดภัยเฉลี่ยเท่ากับ 2.26 ค่าอัตราความปลอดภัยต่ำสุดเท่ากับ 1.7 และมีจำนวนเสาเข็มที่ค่าอัตราส่วนความ ปลอดภัยต่ำกว่า 2 ร้อยละ17 นอกจากนี้ได้เสนอค่าตัวคูณลดน้ำหนักบรรทุกเพื่อใช้ประเมินน้ำหนักบรรทุกใช้งานของเสาเข็มเจาะแห้งที่ มีความยาวระหว่าง 19 -25 เมตรในเขตกรุงเทพฯ This paper presents the comparison of dry-process bored pile capacities from static pile load test with the allowable pile capacities calculated from the friction resistance specified by Bangkok Building Codes. The study estimates the ultimate pile capacities using Mazurkiewicz’s method based on 42 static pile load test data of bored piles 0.50 and 0.60 m. diameters which were constructed in central Bangkok area. The comparison indicates that the average factor of safety is 2.26 and the minimum factor of safety is 1.7. The percentage of piles which have factor of safety below 2.0 is 17. This paper also presents a reduction factor equation for estimating the allowable capacity of dry-process bored piles having 19-25 m. pile length.
  • รายการ
    ข้อแนะนำในการพิจารณาออกแบบความหนาแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับน้ำหนักบรรทุกกองเก็บวัสดุ
    (2544) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช
    บทความนี้นำเสนอรายละเอียดการออกแบบแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดินเพื่อรับน้ำหนักกองเก็บวัสดุ โดย วิธีของ Portland Cement Association เนื้อหาบทความกล่าวถึง ทฤษฎีที่ใช้ออกแบบ ค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง และ ตัวอย่างผลวิเคราะห์ วิธีออกแบบนี้ใช้หลักการหน่วยแรงใช้งานโดยกำหนดหน่วยแรงที่ยอมให้จากค่ากำลังดัดของ คอนกรีตหารด้วยค่าตัวประกอบความปลอดภัยเท่ากับ 2.0 การวิเคราะห์หน่วยแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้นซึ่ง พิจารณาให้รับน้ำหนักบรรทุกแผ่ คำนวณโดยสมการผลเฉลยเฉพาะของสมการเชิงอนุพันธ์ที่กำหนดขึ้นจากโจทย์ ปัญหาคานวางบนวัสดุยืดหยุ่น สุดท้ายผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าน้ำหนักแผ่ที่ยอมให้ใช้กองเก็บวัสดุกับ คุณสมบัติของแผ่นพื้น คำนวณได้จากการกำหนดเงื่อนไขให้ค่าหน่วยแรงดัดสูงสุดของแผ่นพื้นเท่ากับค่าหน่วยแรง ที่ยอมให้ ผลของการวิเคราะห์ดังกล่าวถูกนำเสนอในรูปตารางช่วยการออกแบบ โดยจัดทำไว้ทั้งกรณีการวาง น้ำหนักบรรทุกแบบไม่จัดวางผัง(Variable Layout) และกรณีการวางน้ำหนักบรรทุกแบบจัดผังตายตัว (Fixed Layout) This article presents guidelines for thickness design of industrial concrete floors on grade subjected to stationary loading, which recommended by Portland Cement Association. This article also describes design theory, related parameters, design procedures, and sample of design results. The entire design procedure is based on flexure. The allowable working stress is concrete flexural strength divided by factor of safety approximately 2.0. Flexural stresses in slabs, subjected to uniformly distributed loads, can be analyzed by using the solution of the governing differential equations based on the beam on elastic foundation problems. The correlation between allowable distributed loads and slab properties can be determined by equating critical tensile stresses to allowable working stress. The results of this analysis considered in two loaded-area cases, variable and fixed layouts. These results were presented in tabular form.
  • รายการ
    All EE Papers
    (2554-02-18) Ajarn EE
  • รายการ
    All ME Papers
    (SPU Knowledge Bank, 2554-02-18) Ajarn ME
  • รายการ
    พฤติกรรมต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยองค์อาคารรั.งยึดไร้การโก่งเดาะ
    (Thai Concrete Association, 2553-10-21) บริบูรณ์, สัมพันธ์ุเจริญ; ไพบูลย์, ปัญญาคะโป
    บทความนี เป็ นการนำเสนอพฤติกรรมต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที เสริมกำลัง โครงสร้างด้วยองค์อาคารรั งยึดไร้การโก่งเดาะ (Buckling Restrained Brace, BRB) อาคารที ใช้ศึกษานี เป็นอาคารโรงเรียน ซึ งก่อสร้างตามแบบมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการสูง 5 ชั น ระบบคาน-เสา ซึ งไม่ได้มีการออกแบบเพื อต้านทานแรง แผ่นดินไหว การวิเคราะห์ใช้วิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น (Nonlinear Dynamic Procedure) แบบ 3 มิติ ด้วยคลื นแผ่นดินไหว จำนวน 10 คู่ ซึ งคัดเลือกสำหรับเหตุการณ์ที อาจเกิดขึ นในพื นที ภาคเหนือของประเทศไทย การจำลองพฤติกรรมโครงสร้าง ใช้วิธีการแบ่งหน้าตัดองค์อาคารของเสาและคานออกเป็ นชิ นส่วนย่อยเล็กๆ (Fiber section) เพื อศึกษาพฤติกรรมของ โครงสร้างอาคารตัวอย่างทั งก่อนและหลังเสริมกำลัง จากผลการวิเคราะห์พบว่าก่อนเสริมกำลัง อาคารตัวอย่างคาดว่าจะมี การวิบัติแบบชั นอ่อนในชั นล่าง และวิบัติเฉพาะที ในองค์อาคาร สำหรับเสาในระดับชั นล่างเกิดการแตกร้าวที ผิวคอนกรีต เหล็กเสริมมีการเลื อนหลุดที บริเวณการต่อทาบ และเหล็กเสริมเกิดการครากจากแรงดัดบริเวณปลายบนของเสาชั นล่างและ ชั นสอง แต่หลังจากเสริมกำลังแล้วไม่พบการวิบัติเหล่านี ดังนั นการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยองค์อาคารร ังยึดไร้การโก่ง เดาะจึงอาจนำไปใช้กับอาคารตัวอย่างได้ This Paper presents seismic behavior of reinforced concrete building with retrofit Buckling-Restrain Brace (BRB). The building employed in this study is a 5-story standard school which was constructed according to the Standard given, by Ministry of Education. The structure is a beam-column system and not be designed for earthquake resistance. The Nonlinear Dynamic Procedure was conducted for 3-Dimension structure with 10 pairs of earthquake ground motions for the northern part of Thailand. The structural behaviors for beam and column elements were modeled as fiber sections to investigate the inelastic behavior before and after retrofitting. Before retrofitting, the analysis results show that the structure has a possibility to collapse due to soft story failure. For local member damage in columns, the estimated crushing of concrete cover and lap-splice failure in the longitudinal steel were detected in the lower floor. In addition, yielding of steel due to bending stress was found in the upper end of columns. After retrofitting, these failures have not been found. Therefore, the retrofit with BRB may be applied to this structure.