บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความวิชาการ โดย ผู้เขียน "Ariyasit, Pattanapong"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาวิธีการออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับงานเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(The 2nd Technology and Innovation for Sustainable Development Conference (TISD2008), 2551-01-29) Ariyasit, Pattanapongงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับงานของเฟืองตะแกรงเต้นในการช่วยลดจำนวนของเสียโดยมีขั้นตอนวิธีการวิจัยคือ วิเคราะห์งาน สร้างเครื่องมือช่วยผลิตเฟืองตะแกรงเต้น การตรวจสอบเครื่องมือ และทดลองเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ออกแบบแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ อุปกรณ์จับชิ้นงาน แท่นยึด และจานกำหนดตำแหน่ง โดยตรวจสอบอุปกรณ์และวิธีการผลิตที่ความเชื่อมั่น 95 % ในการผลิตจานกำหนดตำแหน่งขนาด 36 ฟัน 37 ฟัน และ 68 ฟัน จากอุปกรณ์ต้นแบบพบว่าให้ค่า p-value เท่ากับ 0.058 แสดงว่ามีความแปรปรวนไม่แตกต่างกัน การตรวจสอบขนาดของฟันเฟือง 68 ฟันของการผลิตโดยอุปกรณ์ที่ออกแบบเทียบกับอุปกรณ์ต้นแบบ และคนผลิต 2 คน พบว่า p-value เท่ากับ 0.336 และ 0.169 ตามลำดับ แสดงมีความเหมือนกันของการผลิตเฟืองทั้ง 2 ชุด การตรวจการผลิตเฟือง 3 ชุดโดยไม่กำหนดคนหรืออุปกรณ์โดย Nonparametric Test พบว่ามีความเหมือนกันของเฟืองทั้ง 3 ชุด การวิเคราะห์งาน จากตาราง Man Machine Chart ผลิตเฟือง 1 ฟัน พบว่า Utilization ratio ของเครื่องจักรในอุปกรณ์จับยึดและเจาะชิ้นงานเก่ากับใหม่มีค่าใกล้เคียงกันแต่ของคนในอุปกรณ์แบบเก่าเทียบกับใหม่เท่ากับ 0.067 และ 0.044 เวลาว่างงานของคน (Idle time) มีค่าเท่ากันส่วนของเครื่องจักรเก่าเทียบกับใหม่เท่ากับ 4 วินาที และ 2.5 วินาที และจากการจับเวลาการผลิตระหว่าอุปกรณ์แบบใหม่จะมีการใช้เวลาน้อยกว่า 11 % แต่การจับเวลาการผลิตของการใช้อุปกรณ์แบบใหม่กับคน 2 คน มีความแตกต่างกัน 3 % สรุปได้ว่าการสร้างอุปกรณ์โดยอุปกรณ์ใหม่ให้ชิ้นงานที่ไม่แตกต่างกันกับอุปกรณ์ต้นแบบโดยมีขั้นตอนการผลิตน้อยลง