CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย ผู้เขียน "ชิตพงษ์ อัยสานนท์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชิตพงษ์ อัยสานนท์การขนส่งทางอากาศนับเป็นอุตสาหกรรมการบริการสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก เพราะเป็นการบริการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคบริการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วย บริการขนส่งผู้โดยสาร บริการขนส่งสินค้า ส่วนหน่วยธุรกิจเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการขนส่ง ประกอบด้วย การบริการคลังสินค้า การบริการลูกค้าภาคพื้น การบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และครัวการบิน ในสภาวะการแข่งขันของธุรกิจขนส่งทางอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับการเปิดเสรีทางอุตสาหกรรมการบิน ทำให้บริษัทฯต้องปรับตัวและสร้างคุณภาพการบริการ การดำเนินงานการขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะของโซ่อุปทานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กร วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก, สมรรถนะของโซ่อุปทานระดับโลกมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก และดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของ โซ่อุปทาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัยนี้ได้กำหนดชื่อตัวแบบจำลองให้มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ ทั้งนี้ แบบจำลองสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างประสิทธิภาพและการดำเนินงานของผู้ประกอบการต่อไป