CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 32
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ A MODEL FOR COMPETITIVE SERVICE LEVEL OF LOGISTICS SERVICE PROVIDERS IN THAILAND - VIETNAM – CHINA(SRIPATUM UNIVERSITY, 2561) PISOOT THANKDENCHAIThe objectives of this research were to develop a casual relationship model for competitive service level of logistics service providers in international transportation to investigate the direct and indirect effects in international transport logistics of Thais, Vietnamese and Chinese service providers. Samples were 509 logistics service providers, of which were 159 were from Thailand, 157 were from Vietnam, and 193 were from China, using purposive sample selection method. Research instrument was a questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and Structural Equation Modeling (SEM), using Lisrel version 8.80. Findings were the causal relationship model was fit to empirical data with the Chi-square (X2) = 72.75, df = 62, p = 0.165, GFI = 0.98 AGFI = 0.97, RMSEA = 0.018. The direct effects showed that the competitive Service Level (SVL) was affected by Dominant Power on selection (DOM) with coefficient value at 0.37, and also from Service Performance Unit (SPU) as 0.36. The competitive Service Level (SVL) was also affected indirectly by Dominant Power on selection (DOM) at 0.11, followed by Strategic Sourcing Technique (SST) at 0.09 respectively. Moreover, the observed variables valued the reliability in between 0.54 – 0.94. The highest reliability was factors: Cost and Flexibility (Z1, Z3) which were equally at 0.94. For the lowest reliability value was: Risk avoidance (Y4) valued at 0.54. For implementation and further research recommended to modify the degree of observed variable in Service Performance Units (SPU) which may significant differently in a different policy and local cultures in different countries.รายการ ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการไปวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้รับผิดชอบในสถานประกอบการของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 400 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยการวิเคราะห์สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามทางเดียว (One way-Multivariate Analysis of Variance: MANOVA) และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอความตรงของรูปแบบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural equation model) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ สมมติฐานของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนและประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 319.80; df = 216; p = .0635; GFI .97; AGFI .98; RMR .045) และ (X2 = 40.86; df = 28; p = .05536; GFI = .98; AGFI .96; RMR .0099) การประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานอย่างยืนส่งผลทางบวกต่อความพึงใจของพนักงาน และประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ โดยการนำไปกำหนดหัวข้อหลักสูตรในการจัดฝึกอบรมแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ารายการ ตัวแบบความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน สำหรับธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมสินค้าบ้านและที่อยู่อาศัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สิริพร ทัตทวีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบวิธีผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแนวปฏิบัติในการจัดการโซ่อุปทาน ความร่วมมือของพันธมิตรธุรกิจ ความคล่องตัวในการดำเนินงาน คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ และความได้ เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุของความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน และ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืนของธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมสินค้าบ้านและที่อยู่อาศัยในประเทศไทย สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถาม ประชากร ได้แก่ สถานประกอบการธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมสินค้าบ้านและที่อยู่อาศัยในประเทศไทย จำนวน 466 สาขา ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 215 สาขา (รวม 597 คน) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เทคนิคโมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์อิทธิพลเส้นทางรายการ ตัวแบบเชิงสาเหตุของการบูรณาการโซ่อุปทานที่มีต่อคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้านการบูรณาการกับซัพพลายเออร์ ด้านการบูรณาการภายใน ด้านการบูรณาการกับผู้ป่วย และด้านคุณภาพการบริการในโรงพยาบาล 2)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการบูรณาการกับซัพพลายเออร์ ด้านการบูรณาการภายใน ด้านการบูรณาการกับผู้ป่วย 3)เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการบูรณาการกับซัพพลายเออร์ ด้านการบูรณาการภายใน ด้านการบูรณาการกับผู้ป่วย ที่มีต่อคุณภาพการบริการในโรงพยาบาล และ 4)เพื่อค้นหาตัวแบบตัวแบบเชิงสาเหตุด้านการบูรณาการโซ่อุปทานที่มีผลต่อคุณภาพการบริการในโรงพยาบาล โดยการวิจัยแบบผสมเชิงอธิบาย กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ ผู้บริหารและผู้ป่วยของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 210 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์เพียร์สัน และค่าการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบ ผลการศึกษาพบว่า การบูรณาการกับซัพพลายเออร์ และด้านการบูรณาการภายใน มีอิทธิพลเชิงลบต่อคุณภาพการบริการในโรงพยาบาล ส่วนการบูรณาการกับผู้ป่วยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพการบริการในโรงพยาบาลรายการ การพัฒนาตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปริญ วีระพงษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีผลต่อประสิทธิภาพระบบโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความคล่องตัวของโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบโซ่อุปทาน (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการฟื้นฟูระบบโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบโซ่อุปทาน (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแบบจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ความคล่องตัวของโซ่อุปทานในการฟื้นฟูโซ่อุทานต่อประสิทธิภาพโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย (5) เพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ บริษัทในโซ่อุปทานรถยนต์ จำนวน 265 บริษัท เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน สถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ความคล่องตัวของโซ่อุปทาน การฟื้นฟูตัวเองของโซ่อุปทาน สมรรถนะระบบโซ่อุปทาน และผลการดำเนินงานขององค์กร ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป AMOS ได้ผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างมีความกลมกลืนกันกับโมเดลองค์ประกอบเชิงประจักษ์คือ Chi-Square=118.253, χ2/df=1.159, p=0.130, CFI=0.996, GFI=0.957, AGFI=0.920, RMSEA=0.025 และ SRMR=0.010 เมื่อพิจารณาเส้นทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและค่าขนาดอิทธิพลของตัวแปรแฝงและสังเกตได้นั้นพบว่า ตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานนั้นส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเป็นอย่างดีรายการ ปัจจัยที่มีเหตุ และผลของความร่วมมือในโซ่อุปทานที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ลดาวรรณ สว่างอารมณ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุและผลของความร่วมมือในโซ่อุปทานที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงการยืนยันรูปแบบปัจจัยเหตุและผลเพื่อนำเสนอแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้จริงในธุรกิจนำเที่ยว เครื่องมืองานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากสถานประกอบการจำนวน 400 แห่ง และใช้สถิติในการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามทางเดียวเพื่อตรวจสอบความตรงของรูปแบบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าความร่วมมือในโซ่อุปทาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานธุรกิจ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์การ และความไว้วางใจในองค์การ ส่วนความไว้วางใจในองค์การมีอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมเป็นเชิงบวกต่อผลการดำเนินด้านโลจิสติกส์รายการ กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) สมพล ทุ่งหว้าการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจการใช้กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ของซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ตามการรับรู้ของลูกค้า (2) สำรวจความพึงพอใจ และความจงรักภักดี ของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย (3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า และความจงรักภักดีของลูกค้า ของซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย (4) วิเคราะห์อิทธิพลของ กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้า (5) พัฒนาโมเดลกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ที่สร้างความความจงรักภักดี ของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ลูกค้าที่ใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 526 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุเส้นทางความสัมพันธ์ การวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทยมีการใช้กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าอยู่ในระดับสูง (2) ลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีความจงรักภักดีอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน (3) ตัวแปรสังเกตุของกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าของซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความใกล้ชิดลูกค้า สำหรับตัวแปรสังเกตุของความพึงพอใจของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความพึงพอใจด้านมาตรฐานของสินค้าและบริการ และตัวแปรสังเกตุของความจงรักภักดีของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงที่สุด คือ ความจงรักภักดีด้านทัศนคติ (4) นอกจากนั้น พบว่า กลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจของลูกค้า และกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้า และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้าผ่านทางความพึงพอใจของลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของลูกค้า โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่า χ2 = 20.87 df = 22 P-value=0.5285 χ2/df=0.948 RMSEA=0.021 ซึ่งเป็นค่าตามเกณฑ์ของความกลมกลืน ผลการวิจัยเชิงปริมาณดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ (5) โมเดลกลยุทธ์การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความจงรักภักดีของลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ลูกค้าที่ใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 526 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เชิงสาเหตุเส้นทางความสัมพันธ์ การวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าซูเปอร์เซ็นเตอร์ในประเทศไทย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหารายการ การพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการบริการและความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ธนะสาร พานิชยากรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจคุณลักษณะของระบบการจัดการ การควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพในการขนส่ง และระดับบริการและความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในประเทศไทย (2) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง และทางอ้อมของระบบการจัดการ การควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพในการขนส่ง และระดับบริการและความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในประเทศไทย (3) ค้นหารูปแบบค้นหารูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริการและความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และขนส่งแบบ Cold Chain จำนวน 440 คน ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวัดค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis – CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model – SEM) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหารายการ ปัจจัยของกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) วิริยา บุญมาเลิศการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์กร การขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการตลาด การขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการขาย และระดับความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง และทางอ้อมของการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการตลาด การขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการขาย และระดับความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย 3) เพื่อค้นหารูปแบบปัจจัยของกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้า จำนวน 400 ตัวอย่าง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวัดค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ด้วย One-way Anova (F-test) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis – CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model – SEM) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งออก (Export) โดยผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ถือหุ้นทั้งหมด และประเภทสินค้าหลักที่ขนส่งและกระจายส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการตลาดอยู่ในระดับมาก ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการขายอยู่ในระดับมาก ระดับความพึงพอใจในการใช้บริการอาหารทะเลแช่แข็งอยู่ในระดับมาก โดยบริษัทโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ให้ความสำคัญต่อสถานที่ให้บริการขนส่งและกระจายสินค้า ความพร้อม สะดวก รวดเร็วในการขนส่งและกระจายสินค้าบริษัทโลจิสติกส์ขนาดกลางให้ความสำคัญต่อทักษะในการนำเสนอ โดยเน้นงานที่ใช้ความรู้หรือทักษะในการทำงานระดับมาตรฐาน บริษัทโลจิสติกส์ขนาดเล็กให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากระดับการหมุนเวียนสินค้าคงคลังต่ำก่อให้เกิดต้นทุนการจัดเก็บที่สูงมากขึ้น 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตัวแปรแฝง ได้แก่ การขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการตลาด การขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการขาย และระดับความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย และผลการวิเคราะห์อิทธิพลอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมของการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการตลาด การขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อการขาย และระดับความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย 3) เพื่อค้นหารูปแบบปัจจัยของกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้า จำนวน 400 ตัวอย่าง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวัดค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ด้วย One-way Anova (F-test) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis – CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model – SEM) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหารายการ กลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชิตพงษ์ อัยสานนท์การขนส่งทางอากาศนับเป็นอุตสาหกรรมการบริการสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก เพราะเป็นการบริการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคบริการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วย บริการขนส่งผู้โดยสาร บริการขนส่งสินค้า ส่วนหน่วยธุรกิจเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการขนส่ง ประกอบด้วย การบริการคลังสินค้า การบริการลูกค้าภาคพื้น การบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และครัวการบิน ในสภาวะการแข่งขันของธุรกิจขนส่งทางอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับการเปิดเสรีทางอุตสาหกรรมการบิน ทำให้บริษัทฯต้องปรับตัวและสร้างคุณภาพการบริการ การดำเนินงานการขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะของโซ่อุปทานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กร วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก, สมรรถนะของโซ่อุปทานระดับโลกมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก และดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของ โซ่อุปทาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัยนี้ได้กำหนดชื่อตัวแบบจำลองให้มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ ทั้งนี้ แบบจำลองสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างประสิทธิภาพและการดำเนินงานของผู้ประกอบการต่อไปรายการ ปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) รวมพล จันทศาสตร์แนวคิดแบบลีน นับเป็นหลักการหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แนวคิดแบบลีน (Lean) เป็นปรัชญาการผลิตที่มุ่งลดความสูญเปล่า (Waste) ระบบการผลิตแบบลีน เป็นเครื่องมือในการจัดการกระบวนการ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ โดยการพิจารณาคุณค่าในการดำเนินงานเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า มุ่งสร้างคุณค่าในตัวสินค้าและบริการ และกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรและผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจในที่สุด ปัญหาของการศึกษา คือว่า ลีนที่ใช้ในการขนส่งและการคลังสินค้ายังไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อปรับการทำงานเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด โดยเพิ่มคุณค่าและประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น การวิเคราะห์กระบวนการทั้งหมด และการเพิ่มคุณค่าบุคลากรเพื่อให้กระบวนการทำงานไม่เกิดการติดขัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการลดความสูญเปล่าที่ส่งผลต่อการเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้า 3) เพื่อสร้างแบบจำลอง (Model) ของปัจจัยลีนที่ส่งผลต่อการลดความสูญเปล่าและเพิ่มคุณค่าของผู้ให้บริการขนส่งและการคลังสินค้ารายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ณัฐวุฒิ จันทโรจวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 180 ราย จากจำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งสิ้น 1,192 ราย สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เชิงถดถอย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ในระยะยาว 2) การออกแบบเครือข่ายโซ่อุปทาน 3) การประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกัน 4) ความไว้วางใจและการแบ่งปันผลประโยชน์ 5) การสื่อสารและแบ่งปันข้อมูล และ 6) การวางแผนและพยากรณ์อุปสงค์ร่วมกัน โดยเรียงลำดับตามอิทธิพลต่อตัวแปรตามมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์ และอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จของการจัดการโซ่อุปทาน ได้แก่ การตอบสนองต่อความต้องการ คุณภาพ ต้นทุน และผลตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยดังกล่าว ได้นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพาราต่อไปรายการ การหยุดชะงักของโซ่อุปสงค์ที่มีผลต่อสมรรถนะโซ่คุณค่าและระดับการบริการลูกค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ธนิษฐ์นันท์ จันทร์แย้มงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการหยุดชะงักของโซ่อุปสงค์ ที่ส่งผลต่อสมรรถนะโซ่คุณค่าและระดับการบริการลูกค้าสำหรับร้านค้าส่งและค้าปลีกผลิตภัณฑ์เหล็ก 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลการหยุดชะงักของโซ่อุปสงค์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะโซ่คุณค่าสำหรับร้านค้าส่งและค้าปลีกผลิตภัณฑ์เหล็ก 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลการหยุดชะงักของโซ่อุปสงค์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการบริการลูกค้าสำหรับร้านค้าส่งและค้าปลีกผลิตภัณฑ์เหล็ก 4) เพื่อศึกษากระบวนการและหลักเกณฑ์ในการจัดการด้านโซ่อุปสงค์ของอุตสาหกรรมเหล็กเพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยใช้วิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ยามาเน่ และเครื่องมือในการวิจัยเป็นการใช้แบบสอบถามและประมวลผลข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล และตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุรายการ แบบจำลองสมการโครงสร้างของความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นิศากร มะลิวัลย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมการสร้างคุณค่าร่วมกัน และชื่อเสียงขององค์กร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 265 ตัวอย่างซึ่งเป็น ผู้ประกอบการด้านการผลิตของประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ จำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบความตรงสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดี ดังนี้ Chi-Square=369.070, χ2/df = 2.883, p= 000, CFI=0.960 , IFI=0.961 and RMSEA=0.084 และในส่วนของการทดสอบสมมติฐานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการสร้างคุณค่าร่วมกัน 2) การสร้างคุณค่าร่วมกัน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 4) ความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อชื่อเสียงขององค์กร 5) ชื่อเสียงขององค์กร ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 6) การสร้างคุณค่าร่วมกัน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อชื่อเสียงขององค์กร 7) การสร้างคุณค่าร่วมกันทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร 8) การสร้างคุณค่าร่วมกันทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และชื่อเสียงขององค์กร 9) การสร้างคุณค่าร่วมกันและชื่อเสียงขององค์กรทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร 10) ชื่อเสียงขององค์กรทำหน้าที่เป็นตัวแปรคั่นกลางของความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กรรายการ ตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พงษ์เทพ ภูเดชงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาตัวแบบการพัฒนาผู้จัดหาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศไทย และนำเสนอกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมเชิงอธิบาย โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณก่อน ด้วยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และพนักงานระดับหัวหน้างาน ที่ทำงานด้านการจัดซื้อจัดหาในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง จากสถานประกอบการจำนวน 4,133 แห่ง (ฝ่ายวิจัยนโยบาย และบริการสารสนเทศอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, 2560) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และค่าการตรวจสอบความกลมกลืนของตัวแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยการจัดสนทนากลุ่มรายการ การพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยเทคนิคการประเมินแบบสองขั้นตอน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ดวงกมล จุลกะเศียนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าแบบสองขั้นตอน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล กรณีตัวแบบมีปัจจัยไม่พึงประสงค์ และการจัดกลุ่มตามลำดับชั้น รวมทั้งนำเสนอกลยุทย์การจัดสรรรถยนต์เช่า โดยทดลองใช้งานจริงกับกรณีรถยนต์เช่าของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งจำนวน 104 แห่ง และใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศของหน่วยงานร่วมกับบริษัทที่ให้เช่ารถยนต์ ประกอบด้วยค่าเช่ารถยนต์ ระยะทางที่ใช้งานทั้งหมด ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เป็นปัจจัยพึงประสงค์ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมจากอุบัติเหตุ เป็นปัจจัยไม่พึงประสงค์ โดยนำมาหาค่าคะแนนประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าด้วยการวิเคราะห์เชิงล้อมกรอบข้อมูล กรณีตัวแบบมีปัจจัยไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีผลบวกผกผัน และคัดแยกข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลตามลำดับชั้น โดยกำหนดเกณฑ์จากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการตัดสินใจจากผู้ประเมิน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการประเมินประสิทธิภาพแบบสองขั้นตอน ทำให้สามารถคำนวณและจัดกลุ่มค่าคะแนนประสิทธิภาพการใช้งานรถยนต์เช่าของหน่วยงานราชการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพต่ำ กลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพปานกลาง และกลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพสูง และนำผลการจัดกลุ่มค่าคะแนนประสิทธิภาพมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการจัดสรรรถยนต์เช่าให้กับหน่วยตัดสินใจ ด้วยการใช้แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ซึ่งกลยุทธ์จัดสรรรถยนต์เช่าที่สามารถกำหนดให้กับหน่วยตัดสินใจ ได้แก่ กลยุทธ์การตัดทอน กลยุทธ์ผสมผสาน และกลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ เพื่อให้แต่ละหน่วยตัดสินใจสามารถใช้ งานรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับงบประมาณรายการ รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ชยพล ผู้พัฒน์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤติโรคระบาด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบหลายช่วง นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ Q Mark, GDP, GSP, Q-Cold Chain, ISO18000, ISO22301, ISO28000 และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อสังเคราะห์ตัวแปรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพ จากนั้นจึงใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยนำตัวแปรที่สังเคราะห์ได้มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อสำรวจการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ด้านขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Q Mark ในประเทศไทย จำนวน 414 ราย ได้แบบสอบถามกลับคืนและสมบูรณ์จำนวน 324 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.26 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยเพื่อยืนยันตัวแปร สุดท้ายจึงนำผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพและจัดสนทนาเชิงกลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ด้านการจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพมีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายกรมการขนส่งทางบกที่มีการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้ารายการ การพัฒนาตัวแบบเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่มีต่อโซ่คุณค่าทางสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ลภัสรดา เนียมนุชบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรด้านภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม ด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ และพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน โดยการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 209 ราย เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 5 ราย นำข้อมูลมาสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อตอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดี ดังนี้ Chi-Square=50.759, x2/df =1.637, p=0.014, CFI=0.992, IFI=0.992, RMR=0.009 และ RMSEA=0.055 และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน โดยมประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม คุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ ส่งผลทางอ้อม และสัมภาษณ์ผู้บริหารพบว่า ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงขององค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมไปในทิศทางที่สามารถแข่งขันได้ มุ่งหวังให้เกิดคุณค่าร่วมขององค์กรและสังคมเพื่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนรายการ กลยุทธ์การจัดการโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศ : กรณีขนส่งทางทะเล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุณัฐวีย์ น้อยโสภางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศทางเรือ 2) เพื่อสำรวจแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวของผู้ประกอบการรายใหญ่ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวสู่ตลาดต่างประเทศทางทะเลและเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์ต่อภาธุรกิจและภาครัฐในการกำหนดนโยบายระดับประเทศและการจัดการทรัพยากรให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวทางเรือมีรูปแบบการขนส่ง 2 รูปแบบคือการส่ออกแบบรรทุกลงเรือใหญ่ และรูปแบบการส่งออกแบบบรรจุคอนเทนเนอร์ ทั้งสองรูปแบบจะมีกิจกรรมขั้นตอนการดำเนินงานและต้นทุนทีแตกต่างกัน ข้าวหอมมะลิจะมีต้นทุนค่าปรับปรุงข้าวให้ได้มาตรฐานและดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าข้าวขาวและข้าวนึ่ง ทำให้แบบจำลองโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกมีความแตกต่างกัน แนวทางการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ก่อนการส่งออกข้าวในอนาคตคือการนำเข้าบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศ และพัฒนารูปการขนส่งคอนเทนเนอร์จากการใช้รถหัวลากเป็นการขนส่งทางน้ำโดยใช้เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์เพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลงเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันรายการ ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลดำเนินงานด้านการพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) เอกนรี ทุมพลงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลดำเนินงานด้านการพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และนำเสนอกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 แห่ง เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง และยืนยันข้อค้นพบดังกล่าว โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 ท่าน ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และ ผู้บริหารโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป เพื่อยืนยันข้อค้นพบ และสรุปแนวทางการปรับใช้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไคสแควร์ = 139.21 df = 72 P = .0573 GFI = .93 AGFI = .94 RMSEA = .0048 โดยแรงขับเคลื่อนภายใน และแรงขับเคลื่อนภายนอก มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลดําเนินงานด้านการพัฒนาโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยส่งผ่านแนวปฏิบัติด้านการจัดการความยั่งยืนโดยผู้ประกอบการสามารถนำผลงานวิจัยที่ได้มาใช้ในการวางแผนงานในการบริหารจัดการโซ่อุปทานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำปัจจัยที่ทำการศึกษาไปวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้