CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย ผู้เขียน "ธีร์วรา บวชชัยภูมิ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมโซ่อุปทานสำหรับการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ในยุคดิสรัปชั่น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธีร์วรา บวชชัยภูมิงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของนวัตกรรมโซ่อุปทาน การดำเนินงาของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การปรับตัวโซ่อุปทานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมโซ่อุปทาน สำหรับการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานและการปรับตัวของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนาดใหญ่โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ตามกลุ่มกิจกรรมได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 330 บริษัทโดยสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็นด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.992 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระดับผู้บริหาร จำนวน 15 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบและทดสอบสมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างและ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมโซ่อุปทานสำหรับการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในยุคดิสรัปชั่น ได้แก่ นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมบริการ นวัตกรรมองค์กร ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ดัชนีความกลมกลืนของโมเดล พบว่า มีค่า CMIN/df = 1.086, p = 0.346, GFI=0.982, AGFI=0.964, RMSEA=0.016, CFI=0.999, NFI = 0.993 แสดงให้เห็นว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สำหรับแนวทางการดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ตระหนักและให้ความสำคัญในนวัตกรรมโซ่อุปทานซึ่งมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการพัฒนาเสริมสร้างด้าน ความเสี่ยงโซ่อุปทาน การปรับตัวองค์กร การปรับตัวด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการปรับตัวโซ่อุปทานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งต้องมีการประเมินผล สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ช่วยให้พนักงานมีความเชี่ยวชาญ มีทักษะ มีความรู้ มีความสามารถในการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล ซึ่งส่งผลให้องค์การมีศักยภาพการดำเนินงานการเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ซึ่งได้รับการยอมรับ ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจจากลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ