SITI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SITI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ภัทรนันท์ ไวทยกุล"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการแยกประเภทขยะสำหรับนักเรียนอนุบาล 2 และ 3 ของโรงเรียนวัดสีล้ง(2563-12-18) สิรินธร สินจินดาวงศ์; อัมพร พริกนุช; ภัทรนันท์ ไวทยกุลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการแยกประเภทขยะสาหรับนักเรียนอนุบาล 2 และ 3 ของ โรงเรียนวัดสีล้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างสื่อการสอนเรื่องการแยกประเภทขยะสาหรับผู้เรียนในโรงเรียน วัดสีล้ง (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ก่อนและหลังการใช้สื่อการสอน (3) ประเมินทักษะการใช้สื่อ การสอนโดยการสังเกต และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้สื่อการสอน ดาเนินการวิจัยโดย การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอน เรื่อง การแยกประเภทขยะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับอนุบาล 2 และ 3 โรงเรียนวัดสีล้ง จานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อการสอนเรื่อง การแยกประเภทขยะ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการแยกขยะโดยการสังเกต แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent (Pair t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) สื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อจาลองประเภทถังขยะจาลอง 4 ประเภทที่มีลักษณะเสมือนของจริง มีภาพบรรยายลักษณะของประเภทของถังขยะเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และแยกประเภทขยะ ได้ถูกต้อง (2) นักเรียนที่เรียนจากสื่อการสอนเรื่องการแยกประเภทขยะสาหรับผู้เรียนในโรงเรียนวัดสีล้ง มีคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) ผลการประเมินทักษะ การใช้สื่อการสอน นักเรียนที่สามารถแยกประเภทขยะได้ถูกต้องจานวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 นักเรียนที่แยกประเภทขยะไม่ถูกต้องจานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 และ (4) นักเรียนอนุบาล 2 และ 3 โรงเรียนวัดสีล้ง มีความพึงพอใจในสื่อการสอนเรื่อง การแยกประเภทขยะ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จานวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 มีความพึงพอใจปานกลาง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75รายการ การศึกษาผลการเรียนรู้การป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน(2563-12-18) ภัทรนันท์ ไวทยกุล; สิรินธร สินจินดาวงศ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังการทากิจกรรม เรื่องการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (3) ศึกษาความพึงพอใจ เรื่องการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่หน่วยโรคระบบการหายใจและวัณโรค โรงพยาบาลศิริราช จานวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ โดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) ได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ผ่าน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) ร่วมคิดวิเคราะห์ “ตุ้ยนุ้ย เกินพิกัด นะน้องนะ” 2) คิด จับคู่ แลกเปลี่ยน “จับคู่ เรียนรู้ แคลอรี่” 3) น้าปั่น healthy เพื่อสุขภาพดีชีวีสดใส 4) อักษรไขว้ ลดพุงย้อย 5) Exercise ไว้ลายความอ้วน จากกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันสุขภาพจากภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน (2) ผลการเรียนรู้เรื่อง การศึกษาการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจ ของการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การศึกษาการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก