SITI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 13 ของ 13
  • รายการ
    การถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาตามศักยภาพของผู้สูงวัย
    (การประชุมวิชาการระดบั ชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลยั ศรีปทุม ออนไลน์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564, 2564-10-28) สิรินธร สินจินดาวงศ์; รณิดา นุชนิยม; กรกฎ ผกาแก้ว
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และภูมิปัญญาของผู้สูงวัย 2) ศึกษาประเภทของภูมิปัญญาผู้สูงวัย จากฐานข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ โดยสรุปการนำเสนอเป็น 2 ส่วน การถ่ายทอดภูมิปัญญาและสาขาภูมิปัญญาผู้สูงวัย ซึ่งวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงวัยที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่ การบอกเล่า บรรยายด้วยวาจา การสาธิต และการปฏิบัติจริงตามลำดับ นอกจากนี้ ยังใช้แหล่งเรียนรู้ หรือเรียนรู้จากสื่อด้วยตนเอง รวมถึงการบันทึกองค์ความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร การแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อ ส่วนประเภทภูมิปัญญาของผู้สูงวัยจากการรวบรวมข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับ อุตสาหกรรม หัตถกรรม จักสานและโอทอป รองลงมา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และการเกษตร ส่วนด้านเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม กฎหมาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านต่างประเทศยังมีจำนวนน้อย เมื่อนำมาพิจารณาภูมิปัญญาของผู้สูงวัย ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า ผู้สูงวัยมีภูมิปัญญาด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี, อุตสาหกรรม หัตถกรรม จักสานและโอทอป, การเกษตร, การศึกษา, การแพทย์และสาธารณสุข, พัฒนาสังคม สังคมสงเคราะห์ จัดสวัสดิการสังคม, ภาษา วรรณคดี วรรณศิลป์ / วาทศิลป์, ศาสนา จริยธรรม, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพาณิชย์และการบริการ ตามลำดับ ดังนั้น การศึกษาเชิงลึกจากการปฏิบัติจริง และมีการเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาผ่าน Social Media เพื่อให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • รายการ
    การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการแยกประเภทขยะสำหรับนักเรียนอนุบาล 2 และ 3 ของโรงเรียนวัดสีล้ง
    (2563-12-18) สิรินธร สินจินดาวงศ์; อัมพร พริกนุช; ภัทรนันท์ ไวทยกุล
    การวิจัย เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการแยกประเภทขยะสาหรับนักเรียนอนุบาล 2 และ 3 ของ โรงเรียนวัดสีล้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างสื่อการสอนเรื่องการแยกประเภทขยะสาหรับผู้เรียนในโรงเรียน วัดสีล้ง (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ก่อนและหลังการใช้สื่อการสอน (3) ประเมินทักษะการใช้สื่อ การสอนโดยการสังเกต และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้สื่อการสอน ดาเนินการวิจัยโดย การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอน เรื่อง การแยกประเภทขยะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับอนุบาล 2 และ 3 โรงเรียนวัดสีล้ง จานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อการสอนเรื่อง การแยกประเภทขยะ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการแยกขยะโดยการสังเกต แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent (Pair t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) สื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อจาลองประเภทถังขยะจาลอง 4 ประเภทที่มีลักษณะเสมือนของจริง มีภาพบรรยายลักษณะของประเภทของถังขยะเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และแยกประเภทขยะ ได้ถูกต้อง (2) นักเรียนที่เรียนจากสื่อการสอนเรื่องการแยกประเภทขยะสาหรับผู้เรียนในโรงเรียนวัดสีล้ง มีคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) ผลการประเมินทักษะ การใช้สื่อการสอน นักเรียนที่สามารถแยกประเภทขยะได้ถูกต้องจานวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 นักเรียนที่แยกประเภทขยะไม่ถูกต้องจานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 และ (4) นักเรียนอนุบาล 2 และ 3 โรงเรียนวัดสีล้ง มีความพึงพอใจในสื่อการสอนเรื่อง การแยกประเภทขยะ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จานวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 มีความพึงพอใจปานกลาง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75
  • รายการ
    ผลการพัฒนาการฝึกทักษะกีฬาเปตองเทคนิค การตีชู้ติ้ง สาหรับเยาวชน
    (2563-12-18) สาวิตรี ไชยเสนา; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อ 1) สร้างโปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาเปตองเทคนิค การตีชู้ตติ้ง 2) ศึกษาผลฝึกทักษะกีฬาเปตองเทคนิค การตีชู้ตติ้ง ตามโปรแกรมการฝึก 8 แผน 5 สถานีและ3) ศึกษาผล การแข่งขันกีฬาเปตองเทคนิคการตีชู้ตติ้ง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เยาวชนอายุ13-20 ปี ที่สนใจกีฬาเปตองสามารถเล่นกีฬาเปตองด้วยการตีชู้ตติ้งได้ และนาไปใช้ในการแข่งขันกีฬาเปตองได้ จานวน 30 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 1 จัดเตรียมแบบฝึกทักษะกีฬาเปตอง เรื่อง การตีชู้ตติ้ง จานวน 8 แผน 5 สถานี ที่ผู้วิจัยจัดทาขึ้นเอง ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ และร้อยละการฝึกทักษะการตีชู้ตติ้งรายบุคคล ตอนที่ 3 สรุปผลการแข่งขัน ผลวิจัยพบว่า 1. ได้สร้างโปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาเปตองเทคนิคการตีชู้ตติ้ง ด้วยการใช้แบบฝึกทักษะกีฬาเปตอง 8 แผน 5 สถานี ได้แก่ 1) กายบริหาร 2) โยนห่วงเพื่อเตรียมความพร้อม 3) ตีลูกเดี่ยว 4) ตีลูกบนเป้า 5) ตีลูกเดี่ยวกลางระหว่างลูกดา 6) ตีลูกเดี่ยว (สีขาว) ระหว่างลูกเดี่ยว (สีดา) 7) ตีลูกเป้า 8) จัดการแข่งขัน ซึ่งแต่ละสถานีมี ทั้งหมด 4 ระยะ คือ 6 เมตร 7 เมตร 8 เมตร และ 9 เมตร ทาให้ได้ฝึกความแม่นยาในการตีชู้ตติ้ง 2. ผลการฝึกทักษะกีฬาเปตองเทคนิค การตีชู้ตติ้ง ตามโปรแกรมการฝึก 5 สถานี ซึ่งแต่ละสถานีมีทั้งหมด 4 ระยะ คือ 6 เมตร 7 เมตร 8 เมตร และ 9 เมตร ดังนี้ สถานีที่ 1 ระยะ 6 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุดจานวน 16 คน 35.33 ระยะ 7 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุด จานวน 16 คน (35.33%) ระยะ 8 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุด จานวน 13 คน (43.33%) ระยะ 9 เมตร โยนลูกผ่าน 3 ครั้งสูงสุด จานวน 11 คน (36.67%) สถานีที่ 2 ระยะ 6 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุด จานวน 15 คน (50%) ระยะ 7 เมตร โยนลูกผ่าน 2 ครั้งสูงสุด จานวน 12 คน (40%) ระยะ 8 เมตร โยนลูกผ่าน 2 ครั้งสูงสุด จานวน 9 คน (30%) ระยะ 9 เมตร โยนลูกผ่าน 3 ครั้งสูงสุด จานวน 10 คน (33.33%) สถานีที่ 3 ระยะ 6 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งที่สูงสุด จานวน 10 คน (33.33%) ระยะ 7 เมตร โยนลูกผ่าน 2 ครั้งสูงสุด จานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ (33.33%) ระยะ 8 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งที่สูงสุด จานวน 3 คน (10%) ระยะ 9 เมตร โยนลูกผ่าน 2 ครั้งสูงสุด จานวน 10 คน (33.33%)สถานีที่ 4 ระยะ 6 เมตร โยนลูกผ่าน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 15 ประจา ปี 2563 วันที่ 18 ธันวาคม 2563 1374 3 ครั้งสูงสุด จานวน 10 คน (33.33%) ระยะ 7 เมตร โยนลูกผ่าน 1 และ 2 ครั้งสูงสุดเท่ากัน จานวน 10 คน (33.33%) ระยะ 8 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุด จานวน 9 คน (30%) ระยะ 9 เมตร โยนลูกผ่าน 4 ครั้งสูงสุด จานวน 8 คน (26.67%)สถานีที่ 5 ระยะ 6 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุด จานวน 12 คน (40%) รองลงมา โยนลูกผ่าน 2 ครั้ง จานวน 12 คน (40%) ระยะ 7 เมตร โยนลูกผ่าน 1 และ 2 ครั้งสูงสุดเท่ากัน จานวน 10 คน (33.33%) ระยะ 8 เมตร โยนลูกผ่าน 1 ครั้งสูงสุด จานวน 10 คน (33.33%) ระยะ 9 เมตร โยนลูกผ่าน 4 ครั้งสูงสุด จานวน 8 (26.67%) 3.ผลการแข่งขันกีฬาเปตอง พบว่า คนที่ 20 ชนะเลิศ ด้วยคะแนน 27 คะแนน
  • รายการ
    การศึกษาผลการเรียนรู้การออกแบบอินโฟกราฟฟิกของนักเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
    (2563-12-18) สถาพร สาดแล่น
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์จานวน 2 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ออกแบบ อินโฟกราฟฟิก ของนักเรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ออกแบบ อินโฟกราฟฟิก ของนักเรียน โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้คือนักเรียนในชุมชนแพรกษา เครื่องมือวิจัย คือ แอปพลิเคชั่น แคนวา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบประเมินรูบริคสกอล์ จากผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ออกแบบ อินโฟกราฟฟิก ของนักเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่านักเรียน จานวน 16 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ออกแบบอินโฟกราฟฟิก โดยใช้โครงงานเป็นฐานนักเรียนสามารถออกแบบอินโฟกราฟฟิก โดยใช้ แอพพลิเคชั่น แคนวา ได้จริงป้ายประชาสัมพันธ์มีความสวยงาน สีสันสะดุดตา น่าดึงดูด และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะเนื่องจากว่าการจัดการเรียนรู้ ออกแบบ อินโฟกราฟฟิก โดยใช้โครงงานเป็นฐานเป็นกระบวนการ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ และทาให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็นอยากทดสอบ ทดลองและปฏิบัติ รวมถึงส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผุ้เรียนภายในกลุ่ม
  • รายการ
    การศึกษาผลการเรียนรู้การป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
    (2563-12-18) ภัทรนันท์ ไวทยกุล; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังการทากิจกรรม เรื่องการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (3) ศึกษาความพึงพอใจ เรื่องการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่หน่วยโรคระบบการหายใจและวัณโรค โรงพยาบาลศิริราช จานวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ โดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) ได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ผ่าน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) ร่วมคิดวิเคราะห์ “ตุ้ยนุ้ย เกินพิกัด นะน้องนะ” 2) คิด จับคู่ แลกเปลี่ยน “จับคู่ เรียนรู้ แคลอรี่” 3) น้าปั่น healthy เพื่อสุขภาพดีชีวีสดใส 4) อักษรไขว้ ลดพุงย้อย 5) Exercise ไว้ลายความอ้วน จากกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันสุขภาพจากภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน (2) ผลการเรียนรู้เรื่อง การศึกษาการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจ ของการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การศึกษาการป้องกันภาวะน้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและโรคอ้วน โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก
  • รายการ
    การพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษา: โรงเรียนในสหวิทยาเขตวิภาวดี
    (การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, 2563-08-13) จักภัทสรัณย์ ไตรรัตน์; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้ม ทิศทางในการพัฒนาสถานศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดีสู่ องค์กรนวัตกรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อํานวยการ และรองผู้อํานวยการ โรงเรียนในสหวิทยาเขตวิภาวดี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต2 ได้แก่ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบํารุง โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา และโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) และ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒ โรงเรียนละ ๒ คน รวมจํานวน 10 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) ผลการวิจัย พบว่า องค์กรของผู้ให้ข้อมูลมีแนวโน้ม ทิศทางในการพัฒนาสถานศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี สู่องค์กรนวัตกรรม ดังนี้ โดยผู้บริหารกําหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรในด้านนวัตกรรม สนับสนุนในการสร้างนวัตกรรม อย่างจริงจัง ปลูกฝังให้บุคลากรทุกคนมีทัศนคติที่ดีต่อนวัตกรรม สร้างทีมงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ แสวงหาความรู้ ใหม่ ๆ อยู่เสมอ รักการทํางานเป็นทีมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน นําไปสู่การนํานวัตกรรมมาใช้ในการ ปรับปรุงจุดด้อยและพัฒนาจุดเด่นขององค์กร และผู้บริหารควรจูงใจให้บุคลากรดําเนินงานด้านนวัตกรรม โดยให้ รางวัลหรือยกย่องผู้ที่ปฏิบัติสําเร็จ
  • รายการ
    การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัย
    (การประชุมวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ หัวข้อ การศึกษายุค “Digital Disruption in Education” ในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา, 2563-02-02) สิรินธร สินจินดาวงศ์; ผุสดี กลิ่นเกษร
    การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตายที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีรูปแบบหลากหลายและมีความต่อเนื่องในชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลุ่มบุคคลผู้สูงวัยให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะชีวิตในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พร้อมที่จะดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัยจึงเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้นานที่สุดและสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยมีการนำหลักการเรียนรู้สำหรับวัยผู้ใหญ่ (Adult learning) มาเป็นศาสตร์และศิลป์ในการช่วยให้ผู้สูงวัยได้เรียนรู้ โดยผู้ใหญ่จะมีการเรียนรู้ที่ต่างจากเด็ก 4 ประการ ได้แก่ 1) ความเข้าใจต่อตนเอง (Self-concept) 2) ประสบการณ์ (Experience) 3) ความพร้อมที่จะเรียนรู้ (Readiness to Learn) และ 4) เป้าหมายในการเรียนรู้ (Goal to Learning) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  • รายการ
    การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัย
    (2563-02-02) สิรินธร สินจินดาวงศ์; ผุสดี กลิ่นเกษร
    การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตายที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีรูปแบบหลากหลายและมีความต่อเนื่องในชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลุ่มบุคคลผู้สูงวัยให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะชีวิตในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พร้อมที่จะดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัยจึงเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้นานที่สุดและสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยมีการนำหลักการเรียนรู้สำหรับวัยผู้ใหญ่ (Adult learning) มาเป็นศาสตร์และศิลป์ในการช่วยให้ผู้สูงวัยได้เรียนรู้ โดยผู้ใหญ่จะมีการเรียนรู้ที่ต่างจากเด็ก 4 ประการ ได้แก่ 1) ความเข้าใจต่อตนเอง (Self-concept) 2) ประสบการณ์ (Experience) 3) ความพร้อมที่จะเรียนรู้ (Readiness to Learn) และ 4) เป้าหมายในการเรียนรู้ (Goal to Learning) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  • รายการ
    การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับการพัฒนาทักษะชีวิต
    (การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม คร้ังที่ 14 ประจําปี 2562 วันที่ 19 ธันวาคม 2562, 2562-12-19) ผุสดี กลิ่นเกษร
    การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ท้ังหมดของแต่ละบุคคลที่เกิดข้ึน ต้ังแต่แรกเกิดจนถึงตาย โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัยที่มีรูปแบบหลากหลายและมีความต่อเนื่องในชีวิต โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิตยึดจาก 4 เสาหลักที่เป็น รากฐาน ได้แก่ การเรี ยนเพื่อรู้ (Learning to know) การเรี ยนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริ ง (Learning to do) การเรี ยนรู้ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันและการเรี ยนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Learning to Live Together) และการเรี ยนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะชีวิตซ่ึงเป็ นความสามารถข้ัน พื้นฐานของบุคคลในการปรับตัวและเลือกทางเดินชีวิตท่ีเหมาะสมในการดํารงชีวิต เพื่อสามารถเผชิญปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรี ยมพร้อมสําหรับอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่มีการเปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังน้ันการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงช่วยพัฒนาทักษะชีวิตให้บุคคล สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างรู้เท่าทันการเปล่ียนแปลงต่างๆ ในยุคปัจจุบันน้ี
  • รายการ
    การพัฒนาระบบการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในครอบครัว
    (การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม คร้ังที่ 14 ประจําปี 2562 วันที่ 19 ธันวาคม 2562, 2562-12-19) สุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์ (1) เพ่ือพัฒนาระบบการฝึ กอบรมผ่านเครือข่ายออนไลน์ในการเพ่ิม ศักยภาพการส่ือสารของผู้ปกครองครอบครัวท่ีมีลูกหลานวัยรุ่น และ (2) เพ่ือสร้างข้อเสนอแนะในการนําระบบ ฝึ กอบรมออนไลน์ไปใช้เพื่อขยายเครือข่ายที่รองรับกับความต้องการของผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย โดยต้องการ ทดลองเพื่อหาระบบการฝึ กอบรมท่ีมีประสิทธิภาพในการพัฒนาศักยภาพด้านการส่ือสารของผู้ปกครอง ให้ ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักรับรู้ถึงปัญหาการสื่อสารภายในครอบครัว รู้วิธีการในการจัดการปัญหาที่ เกิดข้ึนภายในครอบครัวของตนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยน้ีเป็ นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้การวิจัยเชิง คุณภาพนําเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น มีเคร่ืองมือในการวิจัยคือแบบประเมิน สัมพันธภาพและการส่ือสารของผู้ปกครอง การสัมภาษณ์ผู้ปกครองท่ีผ่านเกณฑ์ และแผนการฝึ กอบรม การ วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เน้ือหา การวิเคราะห์ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจากการตอบแบบประเมินและการทํา การทดสอบ โดยใช้สถิติ การแจกแจงความถ่ี ร้อยละ ค่าเฉล่ีย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) สามารถพัฒนาระบบท่ี ใช้ในการฝึ กอบรมผ่านเครือข่ายออนไลน์ในการเพิ่มศักยภาพการส่ือสารของผู้ปกครองในครอบครัวท่ีมีลูกหลาน วัยรุ่น โดยมีอัตราการเรียนจบอยู่ที่ 82% และ (2) พบว่าการจัดการอบรมออนไลน์น้ัน จะต้องคํานึงถึง 3 ปัจจัย หลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านผู้นํากระบวนการและอาสา ปัจจัยด้านสารสนเทศ
  • รายการ
    การศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมภาษาต่างประเทศโดยใช้กิจกรรมเป็ นฐาน สําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม คร้ังที่ 14 ประจําปี 2562 วันที่ 19 ธันวาคม 2562, 2562-12-19) ภีมพัฒน์ วรโชติธีรวัชร์; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยคร้ังน้ี มีวัตถุประสงค์ เพ่ือ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยใช้กิจกรรมเป็ นฐาน และ 2) ศึกษาประโยชน์ของการจัดกิจกรรม SPU’s Got Talent 2019 สําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยศรี ปทุม กลุ่มเป้าหมายที่เลือกใช้ คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติศรีปทุม จํานวน 50 คน ที่เข้าร่วมประกวดแข่งขันกิจกรรม SPU’s Got Talent 2019 เคร่ืองมือวิจัยเป็ นแบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ ข้อมูล ใช้ความถ่ี ร้อยละ ค่าเฉล่ีย และค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยใช้กิจกรรมเป็ นฐาน ประกอบไปด้วย 4 ข้ันตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นและให้ประสบการณ์ 2) การให้ความรู้และลงมือปฏิบัติ 3) ผลสะท้อนกลับ และ4) การประเมินผล 2.ส่วนประโยชน์ของการจัดกิจกรรม SPU’s Got Talent 2019 ภาพรวมค่าเฉล่ียอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52) เม่ือพิจารณารายด้านพบว่า ประโยชน์ของการเข้าร่วม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 4.32 (ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52) รองลงมากิจกรรมน้ีช่วยพัฒนาทักษะภาษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 (ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59) และกิจกรรมน้ีช่วยให้เรียนรู้ด้านภาษา มีค่าต่ําที่สุด เท่ากับ 4.08 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62)
  • รายการ
    การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านวีดีทัศน์บันทึกกิจกรรมชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
    (การประชุมวิชาการ “การวิจัยระบบการศึกษาไทย” ครั้งที่ 4 วันที่ 28 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 2562-11-28) พระครูใบฎีกากฤษดา ไกรยะถา; วราภรณ์ ไทยมา
    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาผ่านวีดี ทัศน์บันทึกกิจกรรมชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านวีดีทัศน์บันทึกกิจกรรมชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยคือครอบครัวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนวัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานครจำนวน 12 ครอบครัวโดย ใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นอาสาสมัครที่ผ่านจากการจัดกิจกรรมทั้ง 3 มาแล้ว ผลวิจัย พบว่า 1) สมาชิกภายในครอบครัวได้มีการบันทึกกิจกรรมต่างๆ ผ่านวีดีทัศน์บันทึกกิจกรรมชีวิตและสมุดบันทึก ความสุข ในการทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีและได้แสดงออกถึงความรักความอบอุ่น ได้แลกเปลี่ยน การเรียนรู้ร่วมกันทั้งความคิดและอารมณ์ความรู้สึกอย่างเหมาะสม สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาและนำไปปรับใช้ให้เป็นครอบครัวแห่งความสุขคู่คุณธรรมและได้ใช้ เวลาว่างอยู่ร่วมกัน สมาชิก ภายในครอบครัวได้บันทึกความสุขของตนเองในแต่ละสัปดาห์และถ่ายทอดผ่านโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น application Line Group, Facebook Group ให้ครอบครัวอื่นได้เห็นเป็นตัวอย่างในการสร้างกิจกรรมความสุขของ สมาชิกภายในครอบครัว 2) สมาชิกภายในครอบครัวคิดเห็นว่าเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สมัยใหม่ที่เข้าใจง่ายและสอดคล้องกับสังคมในยุคปัจจุบันเป็นการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกภายใน ครอบครัวทำให้เข้าใจในเนื้อหาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นและได้นำมาประพฤติปฏิบัติพัฒนาครอบครัว ของตนเอง ผลจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมอยู่ใน ระดับมาก
  • รายการ
    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำด้วยวิธีการสมาสแบบมีสนธิ โดยใช้เกมเป็นฐาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    (การประชุมวิชาการ “การวิจัยระบบการศึกษาไทย” ครั้งที่ 4 วันที่ 28 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 2562-11-29) คิดลึก สังข์สาลี; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำด้วยวิธีการสมาสแบบมีสนธิ โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำด้วยวิธีการสมาสแบบมีสนธิ โดยใช้เกมเป็นฐาน ระหว่างก่อนและหลังการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้พัฒนา กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำด้วยวิธีการสมาสแบบมีสนธิ โดยใช้เกมเป็นฐาน ชื่อชุดเกมว่า “หมากฮอสชวนคิด พิชิตสนธิ” ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อด้านบรรยากาศ ในการเรียนรู้ ด้านการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ ทุกด้านล้วนมีความเหมาะสมและเห็นด้วยอยู่ในระดับ มากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำด้วยวิธีการสมาสแบบมีสนธิ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01