ACC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "รองเอก วรรณพฤกษ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดทำงบกระแสเงินสดรวม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2556) รองเอก วรรณพฤกษ์งบการเงินเป็นรายงานทางการเงินที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินเพื่อการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ งบการเงินที่แตกต่างกันจะนำเสนอข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงินที่ต่างกัน สำหรับงบกระแสเงินสดรวม (สำหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย) จะแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของเงินสดในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการว่ามีการบริหารเงินสดเป็นอย่างไร โดยการจัดทำงบกระแสเงินสดรวมจะรายงานการเคลื่อนไหวของเงินสดที่กระทำต่อบริษัทภายนอกกลุ่มกิจการและนำเสนอการเคลื่อนไหวของเงินสดเป็น 3 กิจกรรมเหมือนกับงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงิน นอกจากนี้บทความนี้ยังได้นำเสนอตัวอย่างการจัดทำงบกระแสเงินสดรวม(สำหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย) รายงานทั้งวิธีทางตรงและวิธีทางอ้อม Financial statement is a useful report in order to make a decision. Different financial statements are interpreted different information to users. A consolidated statement of cash flows statement presents a movement of cash through the companies outside a group of entities under the control of a parent. It also presents a movement of cash on 3 activities consisted of operating activity, investment activity and financing activity as separated financial statements of the parent. Moreover, this article also presents an example of a preparation of consolidated statement of cash flows both in direct method and indirect method.รายการ การรวมธุรกิจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2558) รองเอก วรรณพฤกษ์เพื่อความสามารถในการแข่งขันในตลาด ปัจจุบันการรวมธุรกิจอาจเป็นอีกทางออกหนึ่งของกิจการหลาย ๆ กิจการ เนื่องจากการรวมธุรกิจมีข้อดีหลายประการ มีโครงสร้าง และรูปแบบที่หลากหลาย ปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ( ปรับปรุง 2555 ) เรื่อง การรวมธุรกิจ เพื่อกำหนดวิธีการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า เพื่อการบันทึกบัญชีและนำเสนองบการเงินที่สามารถสะท้อนผลของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินระบุให้บันทึกบัญชีการรวมธุรกิจด้วยวิธีซื้อ และผลจากการรวมธุรกิจอาจมีค่าความนิยม หรือ กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ เกิดขึ้น นอกจากนั้นกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลกระทบทางการเงินจากการรวมธุรกิจได้อย่างเหมาะสม In a competitive market, business combinations might be one of the solution for some organization because there are several advantages in a different structures and formats of business combinations. Nowaday, Federation of Accounting Professions adopted Thai Financial Reporting Standard (TFRS) 3 ( revised 2012) “Business Combinations” in order to present a financial statement which captures the underlying business reality. According to TFRS 3, businesses require the “Purchased Method” for combinations as acquisitions and the difference will recognized in “ goodwill ” or “ gain from bargain purchase ”. Moreover, disclosure requirements also needed by the financial statement users in order to assess the financial reasonable impact.รายการ ความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้(Sripatum University, 2551) รองเอก วรรณพฤกษ์การศึกษาเรื่องความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจและระดับความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและจำแนกตามระดับความเข้าใจ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและความเข้าใจของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทำบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 100 บริษัท จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ และมีความคิดเห็นเฉลี่ยรวมต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ในระดับ "เห็นด้วยมาก" ในด้านนิยามคำศัพท์ การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า การนำเสนอข้อมูล และการเปิดเผยข้อมูลรายการ ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับงบการเงินรวม(Sripatum University, 2553) รองเอก วรรณพฤกษ์จากการที่สภาวิชาชีพได้ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการนั้น ประเด็นที่น่าสนใจจากมาตรฐานฉบับปรับปรุงดังกล่าวคือ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงอำนาจในการควบคุมของบริษัทใหญ่ต่อบริษัทย่อยว่าเข้าเงื่อนไขในการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณาอำนาจในการควบคุมจะมีผลต่อการจัดทำงบการเงินรวมที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากแนวทางในการพิจารณาอำนาจในการควบคุมดังกล่าวได้ยึดหลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามที่แม่บทการบัญชีได้กำหนด นอกจากนั้นยังได้มีการแสดงตัวอย่างการตัดรายการระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเพื่อจัดทำกระดาษทำการงบการเงินรวมสำหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ Since The Federation of Accounting Professions launched the Accounting Standard No.27 (revised 2007) " Consolidated and Separate Financial Statements", the interesting issue is criteria in determining a power of control of a parent company on subsidiaries. Criteria in determining a power of control have to follow the substance over the form according to the accounting framework on order to prepare reliable consolidated financial statements. Moreover, there are some examples of the adjustment and elimination transactions between the parent company and the subsidiaries for the preparation a consolidated financial statement to comply with the Accounting Standard No.27 (revised 2007) " Consolidated and Separate Financial Statements"รายการ ผลกระทบของอัตราส่วนวัดการก่อหนี้และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรที่มีต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี(วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2567-01) รองเอก วรรณพฤกษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนวัดการก่อหนี้และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรที่มีต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 42 บริษัท โดยบริษัทที่มีข้อมูลครบ 5 ปีมีจำนวน 30 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ส่งผลกระทบในทิศทางตรงกันข้ามต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี 3) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีรายการ ผลของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-09) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่าความนิยมผ่านผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 100 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2556 – 2560 รวมระยะเวลา 5 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าความนิยมส่งผลต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมในเชิงบวก 2) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก 3)อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก และ 4) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการผ่านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01รายการ ผลของนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 2564-10) รองเอก วรรณพฤกษ์งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2558-2562 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่านโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร ผลต่างภาษีเงินได้นิติบุคคลและราคาหลักทรัพย์ ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ ผลของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-07) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนผ่านผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 100 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2556 – 2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ยและสถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ระบุได้ส่งผลต่อมูลค่ากิจการผ่านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01รายการ ผลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี(วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 2566-10) รองเอก วรรณพฤกษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 42 บริษัท โดยบริษัทที่มีข้อมูลครบ 5 ปีมีจำนวน 30 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบียงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และ 0.00 ตามลำดับ สำหรับ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชีส่งผลกระทบในทิศตรงกันข้ามต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05