ACC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 17 ของ 17
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดทำงบกระแสเงินสดรวม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2556) รองเอก วรรณพฤกษ์งบการเงินเป็นรายงานทางการเงินที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินเพื่อการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ งบการเงินที่แตกต่างกันจะนำเสนอข้อมูลแก่ผู้ใช้งบการเงินที่ต่างกัน สำหรับงบกระแสเงินสดรวม (สำหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย) จะแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของเงินสดในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการว่ามีการบริหารเงินสดเป็นอย่างไร โดยการจัดทำงบกระแสเงินสดรวมจะรายงานการเคลื่อนไหวของเงินสดที่กระทำต่อบริษัทภายนอกกลุ่มกิจการและนำเสนอการเคลื่อนไหวของเงินสดเป็น 3 กิจกรรมเหมือนกับงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงิน นอกจากนี้บทความนี้ยังได้นำเสนอตัวอย่างการจัดทำงบกระแสเงินสดรวม(สำหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย) รายงานทั้งวิธีทางตรงและวิธีทางอ้อม Financial statement is a useful report in order to make a decision. Different financial statements are interpreted different information to users. A consolidated statement of cash flows statement presents a movement of cash through the companies outside a group of entities under the control of a parent. It also presents a movement of cash on 3 activities consisted of operating activity, investment activity and financing activity as separated financial statements of the parent. Moreover, this article also presents an example of a preparation of consolidated statement of cash flows both in direct method and indirect method.รายการ การรวมธุรกิจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี, 2558) รองเอก วรรณพฤกษ์เพื่อความสามารถในการแข่งขันในตลาด ปัจจุบันการรวมธุรกิจอาจเป็นอีกทางออกหนึ่งของกิจการหลาย ๆ กิจการ เนื่องจากการรวมธุรกิจมีข้อดีหลายประการ มีโครงสร้าง และรูปแบบที่หลากหลาย ปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ( ปรับปรุง 2555 ) เรื่อง การรวมธุรกิจ เพื่อกำหนดวิธีการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า เพื่อการบันทึกบัญชีและนำเสนองบการเงินที่สามารถสะท้อนผลของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินระบุให้บันทึกบัญชีการรวมธุรกิจด้วยวิธีซื้อ และผลจากการรวมธุรกิจอาจมีค่าความนิยม หรือ กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ เกิดขึ้น นอกจากนั้นกิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลกระทบทางการเงินจากการรวมธุรกิจได้อย่างเหมาะสม In a competitive market, business combinations might be one of the solution for some organization because there are several advantages in a different structures and formats of business combinations. Nowaday, Federation of Accounting Professions adopted Thai Financial Reporting Standard (TFRS) 3 ( revised 2012) “Business Combinations” in order to present a financial statement which captures the underlying business reality. According to TFRS 3, businesses require the “Purchased Method” for combinations as acquisitions and the difference will recognized in “ goodwill ” or “ gain from bargain purchase ”. Moreover, disclosure requirements also needed by the financial statement users in order to assess the financial reasonable impact.รายการ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย(มหาจุฬานาครทรรศน์, 2563-10) นางสาวรมิดา คงเขตวณิช; ผศ.ดร.ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 260 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ได้ทำการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงและค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha มีค่า α มากกว่า 0.7ซึ่งหมายความว่า ข้อคำถามมีความเชื่อมั่น สถิติพรรณนาที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทุนจด ทะเบียนมากกว่า 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ประกอบกิจการมากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน20 ปี และมีจำนวนพนักงานน้อยกว่าหรือเทียบเท่า 50 คน และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(ROA) ส่วนใหญ่เท่ากับ 0.21 – 0.40 ขณะที่อัตราส่วนการทำกำไร (Net Profit Margin) ส่วนใหญ่เท่ากับ 6% – 10% และอัตราการใช้ประโยชน์จากความสามารถของกำลังการผลิต (Capacity Utilization) ส่วนใหญ่เท่ากับ 68% – 75% ทำให้ทราบถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ ผลการดำเนินงานทางการเงินสามารถวัดได้จากรายได้จากการดำเนินงานรายได้ หรือกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หรือยอดขายรวม นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนอาจต้องการมองลึกเข้าไปในด้านการเงิน ซึ่งนักวิเคราะห์และนักลงทุนอาจมองลึกลงไปถึง งบการเงินและอัตราการเติบโตเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เพื่อใช้ในการตัดสินใจ และกำหนดนโยบายการบริหารงานของวิสาหกิจ เพื่อสามารถได้เปรียบคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตร เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559-06-24) วรัญญาภรณ์ กุลสินทวีรัตน์; ยุวดี เครือรัฐติกาล; จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่่่อศึกษาความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ใช้บริการตรวจสอบบัญชีภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จากข้อมูลของกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ พบว่ามีสหกรณ์ที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งสิ้น 318 แห่ง ยอมรับค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างได้ 5% หรือ 0.05 ค่าที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 178 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดเป็นระดับ ปวช./ปวส./ปวท./อนุปริญญา ตำแหน่งงานบัญชี มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี ทุนดำเนินงานของสหกรณ์มากกว่า 100,000,000 บาท และมีจำนวนสมาชิก 6,001-9,000 คน โดยภาพรวมแล้วความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความถูกต้อง ครบถ้วน ของการให้บริการ และขั้นตอนการให้บริการที่เหมาะสม สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงเสมอภาค รองลงมาคือ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดและมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบบัญชีตามหลักการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ทุนดำเนินงาน และจำนวนสมาชิกต่างกันไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัด ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 2557-07-01) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee kruerattikarnงานวิจัยนี้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research) ซึ่งมีประชากรคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI จำนวน 60 บริษัท โดยทำการเปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2554 พบว่า ตัวแปรกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ในพ.ศ. 2552 และ 2553 ได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน โดยมีทิศทางตรงข้ามกัน และ พ.ศ. 2554 ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเงิน โดยมีทิศทางตรงข้ามกัน ส่วนตัวแปรกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น พบว่า พ.ศ. 2552 และ 2553 ไม่มีตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น และ พ.ศ. 2554 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น ได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกัน ส่วนขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์กับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2564-09) อารียา ศรีธรรมนิตย์ และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ5ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับ ความสามารถในการทำกำไร ด้านอัตรากำไรสุทธิ ด้านอัตราผลตอบแทบต่อสินทรัพย์ และความสัมพันธ์ ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์กับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยพิจารณาจากแนวคิดทางด้านการกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ การประเมินการ กำกับดูแลกิจการ ขนาดของคณะกรรมการ และจำนวนการจัดประชุม และประสิทธิภาพการบริหาร สินทรัพย์ ได้แก่ อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวมและถาวร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน และบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูการดำเนินงาน ระหว่างปี 2560-2562 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 288 ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ จำนวนครั้งการจัดประชุม คณะกรรมการการมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไรด้านอัตรากำไรสุทธิ และอัตรา ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ไม่ มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการทำกำไร ผลการวิจัยนี้อธิบายได้ว่า การกำกับดูแลกิจการมี ความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไรรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10) รองเอก วรรณพฤกษ์ เพชรา บุญห่อ และ ปรารถนา วงศ์กันยาการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเงินทุน ผลการดำเนินงาน และความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยตัวแปรอิสระ คือ โครงสร้างเงินทุนที่วัดจาก 1.อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์ 2.อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ 3.อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรตามคือผลการดำเนินงานประกอบด้วย 1.อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 2.อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2560 – 2563 จำนวน 170 บริษัทที่มีข้อมูลครบ 4 ปี และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างเงินทุนวัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงานวัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ แต่โครงสร้างเงินทุนที่วัดด้วยอัตราหนี้สินระยาวต่อสินทรัพย์และอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และโครงสร้างเงินทุนวัดด้วยอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น แต่โครงสร้างเงินทุนวัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์และอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรายการ ความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้(Sripatum University, 2551) รองเอก วรรณพฤกษ์การศึกษาเรื่องความเข้าใจและความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจและระดับความคิดเห็นของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและจำแนกตามระดับความเข้าใจ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและความเข้าใจของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทำบัญชีในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 100 บริษัท จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ และมีความคิดเห็นเฉลี่ยรวมต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่องการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ในระดับ "เห็นด้วยมาก" ในด้านนิยามคำศัพท์ การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า การนำเสนอข้อมูล และการเปิดเผยข้อมูลรายการ ทัศนคติของผู้บริหารบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน(วารสารวิชาการศรีปทุมปริทัศน์, 2555-07) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee kruerattikarnการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริหารบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งได้ทำการศึกษาเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีสถานที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร (ไม่รวมกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่แก้ไขการดาเนินงานไม่ได้ตามกาหนด ธุรกิจขนาดกลาง กองทุนรวม และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์) โดยส่ง แบบสอบถามไปยังประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการของบริษัทจำนวน 340 บริษัท จากแบบสอบถามที่ได้รับตอบกลับมาจานวน 238 ชุด พบว่า ผู้บริหารของบริษัท เป็นเพศชายร้อยละ 80.90 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 46.80 ผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทคิดเป็นร้อยละ 68.10 ผู้บริหารที่จบการศึกษาในสาขาวิชาบริหารธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 45.20 ทางานในตาแหน่งปัจจุบันเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 62.20 ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบภายในในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน ด้านคุณลักษณะของหน่วยงาน และด้านลักษณะของกิจกรรมในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบภายในมีความแตกต่างกันตามลักษณะส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสาขาวิชาที่จบการศึกษาของผู้บริหาร ยกเว้นระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง และทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบภายในมีความแตกต่างกันตามลักษณะธุรกิจได้แก่ ประเภทธุรกิจและลักษณะของหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัท ยกเว้นขนาดธุรกิจ จำนวนบุคลากร หน่วยงานตรวจสอบภายในและสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานตรวจสอบภายในรายการ ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับงบการเงินรวม(Sripatum University, 2553) รองเอก วรรณพฤกษ์จากการที่สภาวิชาชีพได้ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการนั้น ประเด็นที่น่าสนใจจากมาตรฐานฉบับปรับปรุงดังกล่าวคือ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงอำนาจในการควบคุมของบริษัทใหญ่ต่อบริษัทย่อยว่าเข้าเงื่อนไขในการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณาอำนาจในการควบคุมจะมีผลต่อการจัดทำงบการเงินรวมที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากแนวทางในการพิจารณาอำนาจในการควบคุมดังกล่าวได้ยึดหลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามที่แม่บทการบัญชีได้กำหนด นอกจากนั้นยังได้มีการแสดงตัวอย่างการตัดรายการระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเพื่อจัดทำกระดาษทำการงบการเงินรวมสำหรับบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ Since The Federation of Accounting Professions launched the Accounting Standard No.27 (revised 2007) " Consolidated and Separate Financial Statements", the interesting issue is criteria in determining a power of control of a parent company on subsidiaries. Criteria in determining a power of control have to follow the substance over the form according to the accounting framework on order to prepare reliable consolidated financial statements. Moreover, there are some examples of the adjustment and elimination transactions between the parent company and the subsidiaries for the preparation a consolidated financial statement to comply with the Accounting Standard No.27 (revised 2007) " Consolidated and Separate Financial Statements"รายการ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(วารสารศิลปการจัดการ, 2566-01) ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน ด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรากำไรสุทธิ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และศึกษาผลการดำเนินงานที่ส่งผลกระทบต่อ ผลตอบแทนหลักทรัพย์ด้าน อัตราผลตอบแทนที่ไม่ปกติและอัตราผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม รวม 541 บริษัท ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 230 บริษัท และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 รวมจำนวน 5 ปี ใช้วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ภาษีอากร การสอบบัญชี ความเสี่ยงทางการเงิน และ การกำกับดูแลกิจการ ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานด้าน อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตรากำไรสุทธิ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แตกต่างกัน และผลการวิจัยของผลการดำเนินงานด้าน อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือ และอัตรากำไรสุทธิ ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ด้าน อัตราผลตอบแทนที่ไม่ปกติ และอัตราผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ผลกระทบของอัตราส่วนวัดการก่อหนี้และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรที่มีต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี(วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2567-01) รองเอก วรรณพฤกษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนวัดการก่อหนี้และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรที่มีต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 42 บริษัท โดยบริษัทที่มีข้อมูลครบ 5 ปีมีจำนวน 30 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ส่งผลกระทบในทิศทางตรงกันข้ามต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี 3) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชีรายการ ผลการดําเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกําไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(วารสารวิชาการศรีปทุมชลบรี. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2562, 2562-07-01) พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาวิจัยเรื่อง ผลการดำเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ของผลการดำเนินงานผ่านการจัดการกำไรที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลในช่วงปี 2555-2559 จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) ซึ่งตัวแปรผลการดำเนินงานนั้นใช้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ส่วนมูลค่ากิจการใช้การคำนวณค่า Tobin’s Q เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร และการจัดการกำไรใช้โมเดลของ Modified Jones การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ของผลการดำเนินงานผ่านการจัดการกำไรที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการและการจัดการกำไร ในขณะเดียวกัน การจัดการกำไรส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญ และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพบว่า ผลการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01รายการ ผลของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-09) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่าความนิยมผ่านผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 100 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2556 – 2560 รวมระยะเวลา 5 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าความนิยมส่งผลต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมในเชิงบวก 2) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก 3)อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก และ 4) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการผ่านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01รายการ ผลของนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 2564-10) รองเอก วรรณพฤกษ์งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือที่มีต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2558-2562 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่านโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร ผลต่างภาษีเงินได้นิติบุคคลและราคาหลักทรัพย์ ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ ผลของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-07) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนผ่านผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดแห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 100 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2556 – 2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ยและสถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ระบุได้ส่งผลต่อมูลค่ากิจการผ่านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01รายการ ผลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี(วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 2566-10) รองเอก วรรณพฤกษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มเทคโนโลยี ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 42 บริษัท โดยบริษัทที่มีข้อมูลครบ 5 ปีมีจำนวน 30 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบียงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และ 0.00 ตามลำดับ สำหรับ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชีส่งผลกระทบในทิศตรงกันข้ามต่ออัตราเงินปันผลตอบแทน ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05