EGI-04. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับนานาชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู EGI-04. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับนานาชาติ) โดย ผู้เขียน "กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาการป้องกันความเสียหายของตัวประจุกรองของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบสวิตชิ่งด้วยรีแอคเตอร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) กฤษฎา ไทยวัฒน์; นิมิต บุญภริมย์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์บทความนี้เป็นการนำเสนอการศึกษาการป้องกันความเสียหายของตัวประจุกรองของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า แบบสวิตซิ่งด้วยรีแอคเตอร์ วัตถุประสงคข์องบทความเป็นการวิเคราะห์สาเหตุของความเสียหายของตัวประจุที่ใช้ กรองแรงดันในภาควงจรเรียงกระแสของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบสวิตซิ่งในขณะที่ใช้งาน โดยการวัดค่าแรงดันกระแสสลับพบว่าเกิดกระแสกระโชกสูงที่ไหลเข้าตัวประจุขณะที่ทำการเชื่อมและหยุดเชื่อม มีผลให้เกิดแรงดันตกที่บัสไฟฟ้ากระแสตรงและแรงดันที่จ่ายเข้า การแก้ปัญหาได้ติดตั้งรีแอคเตอร์ที่สายไฟฟ้ากระแสสลับจ่ายเข้าด้วยอัตราเปอร์เซนต์อิมพิแดนซ์เข้า 3 เปอร์เซนต์จากผลการทดลองหลังติดตั้งรีแอคเตอร์ แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ตกคร่อมตัวประจุลดลงประมาณ 18 เปอร์เซนต์และกระแสถ้ายอดที่ไหลเข้าประจุลดลงประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ทำให้สามารถลดค่ากระแสกระโชกของตัวประจุได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดกระแสฮาร์มอนิกของกระแสไฟฟ้ากระแสสลับที่สายจ่ายเข้าด้วยรายการ การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่และชนิดปลายแฉก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) สาธิต มาเฮง; สําเริง ฮินท่าไม้; นิมิต บุญภิรมย์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์ในบทความนี้เป็น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่และชนิดปลายแฉก โดยพิจารณาค่าแรงดันโคโรน่าเริ่มเกิด, Ui ด้วยการทดสอบด้วยแรงดันสูงกระแสตรงขั้วลบและค่าแรงดันอิมพัลส์ เบรกดาวน์, U50% ด้วยการทดสอบด้วยแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่าขั้วลบและขั้วบวก ที่เวลาหน้าคลื่นเท่ากับ 1.2/50 µS ภายในห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงโดยการจําลองก้อนเมฆ ด้วยแผ่นโลหะขนาด 6x6 เมตร ห่างจากปลายตัวนํา ล่อฟ้า 2 เมตร จากผลการทดลองเมื่อทําการจ่ายแรงดันสูงกระแสตรงขั้วลบเข้าไปที่แผ่นโลหะด้วยการปรับแรงดันให้มีค่าเพิ่มขึ้น พบว่าค่า แรงดันโคโรน่าเริ่มเกิดของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายแฉกจะมีค่าตํ่ากว่าตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่ส่วนในกรณีทําการทดสอบด้วยแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่าขั้วลบและขั้วบวกให้กับแผ่นโลหะ พบว่า แรงดัน อิมพัลส์เบรกดาวน์ของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายแฉกจะมีค่าตํ่ากวาปลายทู่และแรงดันอิมพัลส์เบรกดาวน์ขั้วลบหรือ ตัวนําล่อฟ้าขั้วบวกจะมีค่าตํ่ากว่าแรงดันอิมพัลส์เบรกดาวน์ขั้วบวกหรือตัวนําล่อฟ้าขั้วลบ ดังนจากผล การทดลองจะสอดคล้องกับภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และช่วยให้เข้าใจถึงประสิทธิภาพทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ ป้องกันฟ้าผผ่าได้ดียิ่งขึ้น