การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่และชนิดปลายแฉก

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562-12

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ในบทความนี้เป็น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่และชนิดปลายแฉก โดยพิจารณาค่าแรงดันโคโรน่าเริ่มเกิด, Ui ด้วยการทดสอบด้วยแรงดันสูงกระแสตรงขั้วลบและค่าแรงดันอิมพัลส์ เบรกดาวน์, U50% ด้วยการทดสอบด้วยแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่าขั้วลบและขั้วบวก ที่เวลาหน้าคลื่นเท่ากับ 1.2/50 µS ภายในห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงโดยการจําลองก้อนเมฆ ด้วยแผ่นโลหะขนาด 6x6 เมตร ห่างจากปลายตัวนํา ล่อฟ้า 2 เมตร จากผลการทดลองเมื่อทําการจ่ายแรงดันสูงกระแสตรงขั้วลบเข้าไปที่แผ่นโลหะด้วยการปรับแรงดันให้มีค่าเพิ่มขึ้น พบว่าค่า แรงดันโคโรน่าเริ่มเกิดของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายแฉกจะมีค่าตํ่ากว่าตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่ส่วนในกรณีทําการทดสอบด้วยแรงดันอิมพัลส์ฟ้าผ่าขั้วลบและขั้วบวกให้กับแผ่นโลหะ พบว่า แรงดัน อิมพัลส์เบรกดาวน์ของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายแฉกจะมีค่าตํ่ากวาปลายทู่และแรงดันอิมพัลส์เบรกดาวน์ขั้วลบหรือ ตัวนําล่อฟ้าขั้วบวกจะมีค่าตํ่ากว่าแรงดันอิมพัลส์เบรกดาวน์ขั้วบวกหรือตัวนําล่อฟ้าขั้วลบ ดังนจากผล การทดลองจะสอดคล้องกับภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และช่วยให้เข้าใจถึงประสิทธิภาพทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ ป้องกันฟ้าผผ่าได้ดียิ่งขึ้น

คำอธิบาย

ตราง,รูปภาพ

คำหลัก

ตัวนำล่อฟ้า, ประสิทธิภาพของตัวนำล่อฟ้า, แรงดันโคโรน่าเริ่มเกิด, แรงดันอิมพัลส์เบรกดาวน์

การอ้างอิง

สาธิต มาเฮง,สําเริง ฮินท่าไม้,นิมิต บุญภิรมย์และกษิเดช ทิพอมรวิวัฒน์.(2562). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวนําล่อฟ้าชนิดปลายทู่และชนิดปลายแฉก.ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14. ( น.2132-2140).กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.